Search
Close this search box.

เทคนิคเตรียมสอบหมอและทุนคิง ฉบับพี่คอปเตอร์ | AT HOME

Home > Uncategorized > เทคนิคเตรียมสอบหมอและทุนคิง ฉบับพี่คอปเตอร์ | AT HOME
เขียนโดย :
โพสต์เมื่อ :

อ่านสรุปตรงนี้ได้เลย

            นนท์ปวิธ สุริยานุสรณ์ หรือคอปเตอร์ นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล ที่คว้าคะแนน 9 วิชาฯ คณิตศาสตร์ 100 เต็ม PAT1 282/300 เคมี 94/100 และ ฟิสิกส์ 91/100 แถมยังสอบได้ทั้งทุนคิงและทุนธนาคาร ใครอยากรู้ว่าแต่ละสนามสอบเป็นอย่างไร มีเทคนิคเตรียมตัวสอบยังไงบ้าง รวมถึงคำแนะนำว่าเรียนที่ไหน กับใครดี บทความนี้พี่คอปเตอร์จะมารีวิวจัดเต็มแบบไม่มีกั๊ก พร้อมทั้งแชร์ประสบการณ์สอบ สอวน. และสอบเข้าเตรียมอุดมฯ ด้วย ใครกำลังเตรียมสอบสนามไหนก็ตามบอกเลยว่าห้ามพลาดเด็ดขาด!

แนะนำตัวเองคร่าว ๆ หน่อย

ประถมผมอยู่สาธิตประสานมิตรครับ สอบเข้าสวนกุหลาบได้ที่ 1 จบสวนกุหลาบผมก็มาต่อเตรียมอุดมฯ ห้องกิฟท์แมทครับ

คอปเตอร์เริ่มแข่งเลขตั้งแต่เมื่อไหร่?

ตอน ป.2 ครับ สนามแรกเป็นราชภัฏพระนคร เริ่มตั้งแต่ ป.1 แต่ตอน ป.1 ผมไม่ได้อะไรเลย สอบเลขยังไม่ได้อะไรเลย แต่พอ ป.2 มาสอบครั้งแรกก็เริ่มได้เป็นเหรียญทอง เพราะติด 1 ใน20 คน หลังจากนั้นก็เริ่มแข่งเรื่อย ๆ เข้า สพฐ. ตั้งแต่ตอน ป.5 – ม.3 ตอน ป.5 – ม.1 ติดตัวสำรองผู้แทนประเทศตลอด แต่ว่าตอน ม.3 ได้ไปแข่ง SMO ที่ประเทศจีนครับ พอจบ ม.3 แล้วผมจะไม่ค่อยได้เล่นคณิตศาสตร์เท่าไหร่แล้ว ผมจะเริ่มไปเล่นฟิสิกส์ ก็ไปเข้าค่ายของ สสวท. ฟิสิกส์อะไรแบบนี้ครับ พอตอน ม.6 ก็ไปสอบทุนคิง ผ่านข้อเขียนของทุนคิงครับ ผ่านเข้าไปรอบ 7 คนแต่ว่าไม่ผ่านรอบสัมภาษณ์ครับ สอวน. เลขเคยเข้าครับ ผมก็ไปถึง TMO ได้เหรียญทองแดง ไม่ได้เข้า สสวท. ต่อครับ

ทำไมถึงมาสายนี้?

ตอนแรกก็ไม่ได้กะจะเป็นเด็กแข่ง แต่ด้วยความที่ตอน ป.2 มันบังเอิญได้เหรียญทอง พ่อก็เลยรู้สึกว่ามาทางนี้ดี พอมันพุ่งก็เหมือนมันพุ่งขึ้นไปติด TOP ประเทศเลย พ่อเลยอยากให้ลองแข่งดูเรื่อย ๆ ครับ ด้วยความที่พ่อเป็นวิศวกร พ่อก็เลยสอนได้ตอนเด็ก ๆ สอนไปสอนมาแล้วมัน work พ่อก็เลยส่งเสริมมาเรื่อย ๆ ครับ ช่วงแรก ๆ จะให้พ่อแม่เตรียมการให้ก่อน พอเริ่มขึ้น ม.ต้น พ่อแม่จะเริ่มให้เลือกว่าสนามไหนอยากสอบสนามไหนไม่อยากสอบ ก็ให้สมัครตามใจครับ 

ตอนแข่งขันเรากดดันไหม แล้วมีวิธีจัดการยังไง?

กดดันต้องมีอยู่แล้วครับ แต่ว่าพ่อจะไม่ค่อยกดดันผมเท่าไหร่ พ่อจะบอกว่าสอบได้เท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร อยากให้พยายามให้เต็มที่ที่สุด ถ้าเราทำเต็มที่แล้วได้ออกมายังไงก็ไม่เป็นไรครับ สำคัญแค่ว่าเราต้องทำให้เต็มที่ ก็เลยไม่ค่อยกดดันมากขนาดนั้นครับ ถ้าเกิดเรารู้สึกทำเต็มที่แล้ว ผมคิดว่าผลมันก็จะออกมาดีเอง ได้เท่าไหร่ก็โอเคครับ มันอาจจะมีบ้างบางสนามที่รู้สึกว่าพลาดไป ก็เอาข้อผิดพลาดมาแก้ไขในสนามต่อไปครับ 

เตรียมตัวสอบเตรียมอุดมฯ ตั้งแต่ตอนไหน?

ผมเตรียมตัวเข้าเตรียมอุดมฯ ตอน ม.3 พ่อจะบอกให้ผมเตรียมตัวทำ Portfolio ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แล้วครับ เพราะยื่นพอร์ตเข้าเตรียมอุดมฯ ใช้แค่วิชาเลขอย่างเดียวก็สามารถยื่นพอร์ตได้ ผมก็เลยจะเน้นการแข่งเลขเป็นหลัก เราจะได้สร้างพอร์ตแล้วยื่นเข้าเลยครับ

เข้าเตรียมด้วยพอร์ต?

ส่วนใหญ่จะเน้นเป็นพวกวิชาการครับ อย่างเช่นรุ่นผมนี่เข้าจะดู สอวน. เป็นหลักครับ ใครที่ได้ สอวน. ปีล่าสุดมาแค่ค่าย 2 เขาก็จะพิจารณาแล้วว่าคนนี้ผ่านเกณฑ์ไหม แต่ว่าเกณฑ์แต่ละปีผมว่าไม่เหมือนกันครับ บางปีก็ดู สพฐ. เป็นหลัก บางปีก็ดู สอวน. เป็นหลัก แต่ว่าพอร์ตศิริราชจะต่างกัน

ห้องกิฟท์เลขที่เตรียมเป็นยังไงบ้าง?

คนข้างนอกอาจจะมองว่ากิฟท์เลขเตรียมอุดมฯ นี่คือเด็กเนิร์ดสุด ๆ เรียนสุด ๆ อะไรอย่างนี้ แต่จริง ๆ พอผมเข้าไป ผมรู้สึกว่าไม่ใช่อยางนั้นเลย คือมันจะมี อย่างเช่นผม ผมเล่นบาสแทบทุกวันเลย ไม่ได้สนใจเรียน (หัวเราะ) หมายถึง ไม่ได้เน้นเรียนขนาดนั้น เล่นบาสเป็นหลัก พักกลางวันปุ๊บก็วิ่งไปเล่นบาสเลย ไม่ได้เป็นเด็กเรียนขนาดนั้นครับ แล้วที่ต่างจากห้องอื่นคือ 3 ปีนี้เราจะไม่ได้เจอคนอื่นเลย คือมันจะไม่มีการเปลี่ยนห้องเลย เราจะอยู่กับเพื่อนห้องเดิม 3 ปีเลย มันจะยิ่งทำให้เราสนิทกันมากขึ้น ถ้าเกิดมองในแง่ดีก็จะเป็นอย่างนี้ แต่ถ้ามองอีกทางหนึ่งก็คือเราจะไม่ค่อยได้เจอคนเยอะมาก คนอื่นอาจจะ 3 ปี 3 ห้อง ได้เจอเพื่อนหลายคนขึ้นหน่อยแต่ว่าเราจะได้เจออยู่เท่านี้ครับ ก็เป็นข้อดีข้อเสียของการอยู่กิฟท์เลข

เป้าหมายคือ ทุนคิง และ กสพท. แล้วแบบนี้เราเตรียมตัวยังไงบ้าง?

ม.4 – ม.5 ผมเรียนแต่เนื้อหาครับ ม.6 ผมจะเริ่มพยายามเอาเนื้อหาให้หมด แล้วก็เน้นทำโจทย์มากกว่า ม.4 – ม.5 นี่ผมคิดว่าถ้าเกิดจะให้ดีคือให้จบเนื้อหาเลยดีกว่า แล้วก็ ม.6 เอาเนื้อหามาทวนบ่อย ๆ เน้นทำโจทย์ โจทย์เรื่องไหนทำไม่ได้ให้กลับไปทวนเนื้อหาเรื่องนั้น อันนั้นน่าจะเป็นทางที่ดี 

ทำสรุปทุกวิชาไหม?

โจทย์สรุปเป็นบางวิชาพอครับ อย่างเลขนี่คุณอาจจะจดแค่สูตรที่ต้องจำ เช่น เรื่องสถิติสูตรมันเยอะ คุณอาจจะต้องจดออกมาเพราะเวลาอ่านทวนจะได้รู้ว่า นี่คือสูตรของเรื่องสถิตินะ อะไรอย่างนี้ครับ อย่างของผม ผมจะทำสรุปแค่วิชาสังคมกับชีวะ เพราะผมรู้สึกว่าเรื่องพวกนี้ ถ้าเรากลับไปอ่านอีกรอบจะใช้เวลานานมาก เราทำสรุปไว้มันจะสั้นกว่า แต่ว่าของครูป๊อปนี่ผมไม่ได้ทำสรุปละเอียดขนาดนั้น เพราะว่าของครูป๊อปเขาเหมือนเป็นสรุปอยู่แล้ว คือคุณอ่าน คุณกลับมาเปิดชีทพวกนี้คุณก็พอจะทวนได้แล้ว อ่านอันนี้มันคือเรื่องตรงนี้นะ มันมีอะไรแยกออกไปต่อ ประมาณนี้ครับ

ทุนคิงกับทุนธนาคารต่างกันยังไง?

ทุนคิงกับทุนธนาคารจะสอบเลข วิทย์ สังคม ไทย 4 วิชา มีภาษาอังกฤษด้วย แต่ว่าภาษาอังกฤษคือผ่าน 60% เขาก็จะเอาคะแนนที่แหละมานั่งดู ปีของผมเลขนี่คือตัวตัดเลย ใครทำเลขได้นี่ผมเรียกว่าน่าจะติดทุนคิงเลย วิชาอื่นด้วยความที่ง่ายก็ง่ายไปเลย ยากก็ยากแบบทำไม่ได้ทุกคน แต่เลขนี่คือใครทำได้ก็ทำได้ ใครทำไม่ได้ก็คือทำไม่ได้ มันก็เลยเป็นตัวตัดสิน เด็กเลขได้เยอะผมเลยคิดว่าเลขนี่คือตัวตัดของปีนี้ ด้วยความที่ทุนคิงเหมือนมีอยู่ว่าคุณต้องได้เลขขั้นต่ำกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าสมมติคุณได้ต่ำกว่านี้เขาก็จะไม่ส่งข้อสอบที่เหลือให้คุณเลย บางคนทำไม่ได้จริง ๆ วิชาอื่นได้เยอะมากก็ไม่มีผลอะไร เหลือ 7 คนปกติสูงสุดคือ 10 คนครับ แต่ว่าปีของผมรับแค่ 7 – 8 ผมคิดว่ามันน่าจะเป็นเพราะว่าโดนวิชาอะไรสักอย่างตัดไป ทำให้เขาไม่มีชื่อมา ทุนธนาคารใช้ข้อสอบเดียวกับทุนคิง เขาจะเอาคะแนนของเรามาเอาทุกวิชา เอามาหมดเลยครับ สอบเหมือนกันหมดเลย ขึ้นอยู่กับว่าเรายื่นสมัครทุนอะไรไปบ้าง ใช้ตรงนี้ไปคิด

ตอนเตรียมสอบทุนคิงเรียนพิเศษยังไงบ้าง?

เรียนกับพี่แม็กอย่างเดียวเลย อาจจะเป็นเพราะผมชอบเรียนคอร์สสดด้วย โจทย์ของพี่แม็กจะยากกว่า ฟิสิกส์ผมฝึกเอง แต่จะมีชีวะครับ ชีวะผมไม่ได้เรียนเป็นคอร์สทุนคิงอะไรเลย ผมเรียนเป็นคอร์ส ม.ปลายนี่แหละครับ แล้วก็อ่านหนังสือเพิ่มเอง อ่านจากเล่มปลาหมึกครับ

เทคนิคในการทำข้อสอบเลขของทุนคิง

ถ้าเป็นของทุนคิง ของเลขฝึกทำข้อสอบเก่าหลาย ๆ ปี ฝึกทำแยกบทครับ ของทุนคิงผมก็เรียนกับพี่แม็ก พี่แม็กเขาจะให้ฝึกเป็นแยกบทมา เรื่องไหนไม่ได้ก็สามารถขอเพิ่มได้เลย คือถ้าฝึกแยกบทมาเยอะ ๆ เรื่องไหนไม่ได้อย่ากลัว ต้องฝึกเรื่องนั้นเยอะ ๆ พอเราฝึกเยอะเราก็จะทำได้ขึ้นมาเองครับ ของทุนคิงคือเราต้องฝึกเขียนวิธีทำด้วยครับ เพราะว่ามันต้องเขียนวิธีทำให้ดี ถ้าเกิดเขียนวิธีทำไม่ดีเราก็จะได้คะแนนแค่คำตอบ ไล่เขียนให้ดีแล้ววางแผนว่าจะเขียนยังไง 

ฟิสิกส์ฝึกเองยังไง?

ด้วยความที่ผมเคยเข้า สอวน. สสวท. ของฟิสิกส์มาก่อน ผมคิดว่าความรู้น่าจะพอแล้วเลยไม่ได้เรียนอะไรเพิ่มเท่าไหร่แล้ว ฝึกโจทย์อย่างเดียวครับ 

สุดท้ายเลือกเรียนที่ศิริราช?

พ่อแม่ของผมอยากให้เข้าจุฬาฯ ครับ แต่ว่าผมเลือกเข้าศิริราช เพราะว่าพออยู่เตรียมอุดมฯ มาสักพัก มันจะเริ่มเป็นบรรยากาศการแข่งขันอะไรแบบนี้ครับ การแข่งขันมันสูงมาก อยากลองเปลี่ยนบรรยากาศไปอยู่ศิริราชที่มันเป็นเหมือนพี่น้องช่วยกันเรียนมากกว่า ด้วยความที่จุฬาฯ การตัดเกรดมันเป็นแบบแบ่ง เขาเรียกว่าอิงกลุ่ม ของจุฬาฯ จะเป็นอิงกลุ่มคือเอาคะแนนทุกคนมาเรียงกันแล้วก็ตัด เท่านี้คนปุ๊บแล้วก็ตัดเป็นเกรดเท่านี้เลย แต่ว่าของศิริราชมันจะเป็นอิงคะแนน ประมาณว่าถ้าคุณถึงคะแนนเท่านี้ก็ได้เลย เลยคิดว่าถ้าไปอยู่จุฬาฯ ก็คงยิ่งต้องแข่งกันอีก ยิ่งมีคนได้คะแนนสูงเยอะ ๆ มันก็จะทำให้เกณฑ์สูงขึ้นเรื่อย ๆ มีเกณฑ์ที่กำหนดไว้ดีกว่าจะได้ช่วยกันเรียนมากขึ้น ผมรู้สึกว่ามันจะยิ่งแข่งกันมากขึ้นไปอีก ผมไม่อยากแข่งขนาดนั้น อยากช่วยกันเรียนมากกว่า น่าจะสบายกว่าครับ

ใช้วิธียื่น Portfolio?

คะแนนเข้าได้หมด เพราะผมก็ไปสอบ 9 วิชาฯ คะแนนรวม 80 ยื่นพอร์ตเข้าหมอมันจะต่างกันครับ แต่ละที่มันก็ต่างกันเพราะว่าผมจะพูดของศิริราชเป็นหลัก คือถ้าเคยไปแข่งระดับชาติของ สอวน. วิชาอะไรก็ได้ เขาจะให้คุณมีสิทธิ์ยื่นพอร์ตเข้าไปก่อน พอยื่นเข้าไปปุ๊บพอร์ตของคุณควรจะประกอบไปด้วยด้านวิชาการ และด้านจิตอาสาด้วย อาจจะไปทำจิตอาสายังไงก็ได้ หรืออาจจะไปจิตอาสาที่โรงพยาบาลของเขาก็ได้ครับ แต่ควรจะมีจิตอาสาประกอบเข้าไป และควรจะมีกิจกรรมในโรงเรียนด้วยถ้าเกิดจะเตรียมพอร์ต แต่มันจะต่างจากพอร์ตของ ม.ต้น เพราะว่า ม.ต้น เน้นวิชาการอย่างเดียวไม่ต้องมีจิตอาสาก็ได้ครับ

คะแนน 9 วิชาฯ เยอะมาก อ่านหนังสือยังไง?

อันนี้ผมพูดถึงก่อนที่ผมจะรู้ผลสัมภาษณ์ที่ศิริราชประกาศนะครับ คนส่วนใหญ่จะเน้นอ่านเยอะมาก อ่าน 1 วันเป็น 10 ชั่วโมงอะไรอย่างนี้ครับ ผมรู้สึกว่าอ่านเยอะขนาดนั้นมันไม่ได้อะไร ผมจะเป็นสไตล์ตื่นเช้าได้ครับ ตื่นประมาณ 7 โมง เริ่มอ่านหนังสือ 8 โมง แต่ผมจะอ่านไปเลย อ่านจนถึง 4 – 5 โมงครับ ขยันหน่อยก็ 6 โมง หลังจาก 6 โมงจะเริ่มไม่อ่านแล้ว จะเริ่มเป็นเวลาว่างของเราแล้ว เราอยากทำอะไรก็ทำ คือหลังจาก 6 โมงผมจะไม่แตะหนังสือเลยครับ เล่นอะไรก็เล่นไปพรุ่งนี้ค่อยกลับมาอ่านต่อ 

แบ่งเวลาอ่าน 1 วันยังไง?

ผมจะแบ่งว่าครึ่งเช้าผมจะอ่านพวกวิชาคำนวณ วิชาที่ต้องใช้สมองหนัก ๆ เป็นเลข เคมี ฟิสิกส์อะไรแบบนี้ผมจะเก็บไว้ช่วงเช้า เอาไว้ให้สมองในตอนเช้าที่มันยังเฟรชอยู่ก็เริ่มทำวิชาพวกนี้ไปก่อน พอตอนบ่ายค่อยอ่านเป็นพวกวิชาจำอย่างชีวะ ภาษาไทย สังคมอย่างนี้ ค่อยมานั่งอ่านตอนช่วงบ่ายครับ

วิธีผ่อนคลายช่วงเตรียมสอบ?

ตอนพักหรอครับ ผมก็มีทั้งฟังเพลง เล่นเกม อาจจะมีไปเล่นบาสนิดหน่อยอะไรอย่างนี้ครับ คือคอนโดผมมีสนามบาส ผมก็เล่นที่คอนโดได้ แต่พอเล่นที่บ้านผมก็แค่เคาะอะไรเล่น ๆ ไปเพราะไม่มีแป้น แม่ให้เล่นเกมที่บ้านด้วยครับ (หัวเราะ) เล่นได้ครับ เสียงดังได้ครับ จะด่าเพื่อนในเกมก็ได้ครับ ได้ (หัวเราะ)

เทคนิคการฝึกโจทย์

เวลาฝึกทำโจทย์เองที่บ้านต้องจับเวลาครับ เวลาเป็นสิ่งที่เหมือนเป็นตัวกดดัน บางคนเวลาทำข้อสอบเองที่บ้านจะไม่จับเวลา เวลาไม่จับเวลาก็จะไม่กดดันทำได้เยอะมากเลย แต่เวลาไปสอบจริง ๆ มันจะมีเวลาเป็นตัวกดดันเรา มันทำให้บางทีเราควรจะทำได้ แต่ทำไม่ได้แล้วเพราะกดดัน เวลาเราฝึกเองที่บ้านเราก็จับเวลาไปด้วย อาจจะลดเวลาให้น้อยลงหน่อยเพราต้องเก็บเวลาไว้ฝนด้วยครับ ก็ต้องตัดเวลาลงมาหน่อยจะได้ฝนทัน ต้องเน้นฝึกเยอะ ๆ บริหารเวลาดี ๆ ถ้าบริหารเวลาดีก็จะมีเวลาทวนทำให้ข้อผิดพลาดน้อยลง

ตอนทำข้อสอบจริงแป็นยังไงบ้าง?

สอบ 9 วิชาฯ ผมจะมีสไตล์การทำข้อสอบของตัวเอง ต้องพูดก่อนว่ามี 30 ข้อ 25 ข้อเป็นข้อปรนัย 5 ข้อเป็นข้อเขียน เปิดข้อสอบมาทำข้อเขียนก่อนเลย 5 ข้อ ให้เวลากับมันไปเลย 15 – 20 นาทีทำให้เรียบร้อยเลย เพราะว่า 5 ข้อนี้ข้อละ 5 คะแนน แต่ว่าปรนัยข้อละ 3 คะแนน คะแนนมันค่อนข้างต่างกัน ผมเลยจะพยายามชั่งน้ำหนักดูแล้วว่า 5 ข้อหลังสำคัญมากกว่า ผมเลยทำ 5 ข้อหลังให้เรียบร้อย เวลาที่เหลือเท่าไหร่ก็ค่อยกลับมาทำ 25 ข้อแรก ผมคิดว่าผมมีเวลาเหลือผมก็จะค่อยกลับมาทวน 5 ข้อนี้ เพราะคะแนนมันเยอะ ผมจะได้เอาเวลามาทวนมันอีกรอบเพื่อที่เราจะได้ไม่พลาด 

แล้ว กสพท. ล่ะ?

กสพท. จะมีข้อเขียนเยอะครับ บางวิชาจะมีแต่ข้อเขียน ๆ ผมจะพยายามทำข้อเขียนก่อน ผมเคยไปสอบพรีเทสมาแล้วทีนี้เหมือนเราทำข้อเขียนไม่ทันแล้วคะแนนมันเยอะ มันทำให้เราพลาดไปพอเรารู้ เวลาทำข้อสอบเราก็ควรทำข้อที่คะแนนเยอะ ๆ ก่อน ข้อที่คะแนนเยอะ ๆ ถ้าเราทำไม่ทันมันคือพลาดเลย ปรนัยนี่ถ้าสมมติเราทำไม่ทันจริง ๆ ก็ยังพอเดาได้ แต่ข้อเขียนเราเดาไม่ได้เลยครับ กสพท. เราควรเน้นข้อเขียนเป็นหลักก่อนแล้วค่อยเอาเวลาที่เหลือไปทำข้อปรนัยน่าจะดีกว่า 

เรียนพิเศษกับใครบ้าง? 

ถ้า ม.ปลาย เลขนี่คือเรียนกับพี่แม็กอย่างเดียว วิทย์ต้องแยกเป็น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะนะครับ ฟิสิกส์ผมไม่ค่อยได้เรียนครับ อ่านเองเป็นหลักเพราะเข้าค่าย สอวน. อยู่แล้ว ส่วนเคมีผมเรียนของพี่ต้อง พี่ต้องเขาจะเป็นพี่แม็กสไตล์เคมี วัยรุ่นเหมือนกันแล้วก็ฝึกโจทย์เยอะเหมือนกัน อะไรอย่างนี้ครับ คือเหมือนเขาสไตล์คุยเล่นได้ สังคมผมเรียนครูป๊อป ของครูป๊อปเขาจะพยายามทำให้เรารู้ว่าเราควรจำตรงไหนครับ แล้วก็เป็นทริคว่าจำแบบนี้นะ แล้วเขาพยายามให้เราพูดในห้อง เขาเหมือนมีคติว่าถ้าเราพูดเยอะ ๆ เราจะจำได้เอง เขาก็เลยพยายามให้เด็กพูด ๆ ออกมา ผมก็รู้สึกว่ามันก็ช่วยให้เราจำได้จริง ๆ อันนี้ผมจะพยายามแนะนำครูที่ผมรู้สึกว่า ผมเรียนแล้วได้จริง ๆ เอาไปทำข้อสอบได้ เหมือนช่วยยกระดับเราขึ้นมาจริง ๆ

เล่าตอนเรียนคอร์สเลขยากกับคอร์สเอ็นทรานซ์ของพี่แม็กให้ฟังหน่อย

ผมรู้สึกเหมือนมันมีแบ่งส่วนอยู่ เหมือนมีประมาณกี่ข้อเอาไว้ฝึกให้คนที่ไม่เก่งมากฝึก อย่างนี้โอเค แต่มันจะมีส่วนข้างหลังสำหรับท้าทายคนที่เก่งขึ้นมาหน่อย ผมคิดว่ามันก็จะดีทั้งสำหรับคนที่ยังไม่เก่งมากก็เลือกทำข้อง่ายให้ได้นะ คนที่เลือกท้าทายหน่อยก็ไปทำข้อหลังให้ได้อะไรแบบนี้ครับ ส่วนใหญ่ผมชอบนั่งทำไปเรื่อย ๆ ระหว่างที่พี่แม็กสอน แล้วก็ตอบอะไรแบบนี้ครับ ก็จะไล่เก็บไปเรื่อย ๆ ทุกข้อ ต้องขยันทำหน่อย แล้วฝึกเยอะ ๆ กล้าที่จะถามพี่แม็ก พี่แม็กนี่ถามได้อยู่แล้วผมว่าพี่เขาน่าจะชอบให้เราถามด้วยซ้ำ เพราะคนที่กลัวอาจจะไม่กล้าถาม คือง่าย ๆ เลย ผมว่าเรียนได้ทุกคน แต่ว่าต้องพยายามฝึกทำโจทย์แล้วก็ถามบ่อย ๆ ถ้าข้อไหนไม่ได้ต้องอย่ากลัวครับ แต่ว่าสำหรับเอ็นทรานซ์ถ้าเน้นบางวิชาผมว่าก็เรียนได้ทุกคน ถึงแม้คุณจะเตรียมสอบ 9 วิชาฯ แต่ผมว่าคุณก็เอาไปสอบ PAT1 ได้อยู่ดีเพราะว่าเนื้อหามันเป็นเนื้อหาเดียวกัน แนวข้อสอบอาจจะต่างกัน แต่ถ้าคุณมีความรู้มากพอคุณก็ทำข้อสอบได้ทั้งคู่ โจทย์ของที่อื่นบางทีเขาก็เอาแค่ข้อสอบเก่ามา ข้อสอบเก่า 9 วิชาฯ ข้อสอบเก่า PAT1 เป็นข้อสอบเก่าของโรงเรียนสอนให้เราเฉย ๆ แต่ว่าพี่แม็กเขาจะหาโจทย์จากข้างนอกมาด้วย มันใช้ความรู้เดียวกันเลยแต่ว่าเหมือนได้ทริคใหม่ ๆ ได้วิธีลัดอะไรอย่างแบบนี้ ทำให้คิดได้เร็วขึ้นครับ

การทำเลข ม.ต้น กับ ม.ปลายต่างกันไหม?

ผมว่า ม.ต้น เนื้อหายังไม่ยากมาก เนื้อหาจะยังไม่เยอะจนเกินไปใครที่ฝึกเยอะจะทำได้ พอ ม.ปลาย มันจะเริ่มต้องวิเคราะห์อะไรมากขึ้น ข้อมูลมันให้มาแต่ว่าเราต้องเลือกใช้ให้ถูกว่าข้อนี้เราจะเอาเรื่องไหนมาใช้ คนส่วนใหญ่ บางคนเก่งเลข ม.ต้น แต่ว่าพอไป ม.ปลาย จะเริ่มสอบไม่ได้แล้วครับ เพราะ ม.ปลาย มันต้องเอาสูตรมาใช้ให้ถูกกับโจทย์ อ่านโจทย์แล้วต้องรู้ว่าต้องใช้เรื่องไหนต้องเลือกให้ถูกครับ ถ้าเกิดเป็นโจทย์ ม.ต้น ด้วยความที่เนื้อหามันมีไม่เยอะมาก เพราะมันยังครอบคลุมแค่ ม.ต้น ความยากของโจทย์คือถ้าเรารู้ทริคในการทำ เราจะทำโจทย์แบบนี้ได้ตลอด ถ้าเกิดไม่เคยเรียนมาเราก็ทำไม่ได้ โจทย์ของพี่แม็กมันจะเป็นทริคหลาย ๆ อย่าง เหมือนเขาสอนทริคมาเรื่อย ๆ เก็บสะสมไปเรื่อย ๆ พอเราไปเจอในข้อสอบเราก็จะทำได้ คือทริคมันไม่ได้เยอะมากขนาดนั้น บางทริคเราก็ไม่เคยเจอจริง ๆ ครับ แต่พี่แม็กจะเป็นคนหาพวกนี้มาให้เรา ผมรู้สึกว่าโจทย์พี่แม็ก แม้จะไปเรียนของเข้าเตรียมอุดมฯแต่ว่าคุณก็เอาโจทย์ตรงนี้มาเตรียมตัวเพื่อสอบ 9 วิชาฯได้ เพราะความยากพอ ๆ กัน โจทย์ใช้ทริคนี้ไปทำข้อนี้ของ 9 วิชาฯก็ได้ ผมก็เลยรู้สึกว่ามันดีครับ

เรียนเคมีกับพี่ต้องเป็นยังไงบ้าง?

ได้ฝึกโจทย์เยอะมาก ๆ เลยครับ เพราะพี่ต้องจะให้ฝึกโจทย์ทุกครั้งที่ไปเรียน ฝห้ทำก่อนแล้วเขาค่อยเฉลย เขาจะค่อย ๆ แยกทีละบท ว่าบทนี้นะ มีโจทย์ท้ายบทให้ 50 ข้อเลย ทวนเนื้อหาแต่ละเรื่องให้ก่อนพอจบเนื้อหาเรื่องนั้นปุ๊บ ก็จะมีโจทย์ให้ 50 ข้อของแต่ละบทให้เรานั่งทำ แล้วก็เอามาเฉลยของที่เราทำผิด แต่เขาจะมีทุกบทเลย แยกไว้ให้เลย แล้วก็จะมีบอกวาเรื่องไหนออกเยอะ เรื่องไหนออกน้อยก็จะบอกเราเลย มันทำให้เราพื้นฐานแน่นขึ้นจริง ๆ โจทย์พี่ต้องยากมากเลยครับ ง่ายก็มีครับแต่ว่าข้อยากเหมือนโบนัสของเราเพราะว่าทำได้ก็ดี ทำไมได้ก็รู้เพิ่มไปอะไรแบบนี้ครับ แต่ถ้าเกิดเราทำข้อยากได้เรื่อย ๆ ข้อง่าย ๆ เราก็จะรู้สึกว่าเราทำได้แน่ ๆ ต้องขยันฝึกเอง ต้องทำไปเยอะ ๆ ครับ เอาโจทย์ที่เราผิด เอามาทำซ้ำอีกรอบ ผมรู้สึกว่าเราได้เยอะมาก ด้วยความที่พี่ต้องเขาอาจจะอธิบายค่อนข้างเร็ว ไม่ได้อธิบายทุกข้อบางคนก็อาจจะอยากได้ทุกข้อ มันจะดีสำหรับคนที่อ่านมาเองบ้างแล้ว แล้วก็มาเรียนโจทย์เพิ่ม ผมว่ามันดี แต่ว่าคนที่ต้องการช้า ๆ อาจจะไม่ชอบ

เรียนสังคมกับครูป๊อปเป็นยังไงบ้าง?

ผมเรียนตั้งแต่ตอน ม.4 เลยครับ ครูป๊อปเขาจะมีคอร์ส ม.4 – ม.6 ของเตรียมอุดมฯครับ แล้วก็คอร์สเนื้อแน่นแม่นโจทย์ ตั้งแต่ ม.4 มา ม.5 มา ม.6 เนื้อหาแน่นหฃมดแล้วในเนื้อแน่นแม่นโจทย์เขาก็จะมาบอกแล้วว่าตรงนี้นะเนื้อหาที่เราเรียนมามันจะเอามาออก ตรงไหนออกเยอะควรจำ อันไหนควรจำเพิ่ม อันไหนไม่ต้องจำก็ตัดทิ้งไปเลย บอกด้วยว่าถ้าเราอ่านไม่ทันแล้วเราควรเน้นเรื่องไหน เรื่องไหนอ่านแล้วคุ้มไม่คุ้ม เขาจะเป็นสไตล์เรียนสดคงไม่น่าเบื่อ เพราะเขาจะพยายามให้เราพูดตลอดเวลาเราก็เลยรู้สึกไม่น่าเบื่อ แต่ถ้าเรียนออนไลน์ไม่รู้จะพูดกับใครก็อาจจะน่าเบื่อนิดหน่อย ถ้าเรียนออนไลน์ผมจะไม่พูด (ขำ) เรียนสดต้องพูดเพราะว่าเขาบังคับเลย เข้าจะชี้แต่ลบะคนเลย เคยเรียนสดครับ ของครูป๊อปนี่เรียนแล้วทำข้อสอบในเตรียมได้ เหมือนเขารู้ว่าข้อสอบเตรียมอุดมฯจะออกอะไร ผมเรียนแล้วมันตรงตลอดเลย เรียนแล้วออกมามันทำได้

เรียนบน AT HOME เราคิดว่าดียังไง?

มันดีตรงที่ว่าเราหยุดเรียนตรงไหนเราก็สามารถกดต่อได้เลย ผมรู้สึกว่ามันไม่ค่อยกระตุกเท่าไหร่นะ

ฝากถึงน้อง ๆ ที่อยากสอบเข้าหมอหน่อย

น้อง ๆ ที่อยากจะเข้าหมอนะครับ มันอาจจะเหนื่อย พยายามเก็บสะสมไว้เรื่อย ๆ เราไม่ต้องกดดันมาก ทำให้ดีที่สุดค่อย ๆ พัฒนาไปเรื่อย ๆ ตอนนี้อาจจะยังไม่ดี ถ้าเกิดน้องค่อย ๆ ทำไปเรื่อย ๆ ฝึกไปเรื่อย ๆ น้องจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง อย่าท้อกับมัน ไม่ว่าเราจะล้มกี่ครั้ง แต่เราสามารถลุกขึ้นมาได้ตลอด

            ใน EP นี้น้อง ๆ ทุกคนคงจะได้เห็นถึงความพยายามแล้วสม่ำเสมอของน้องคอปเตอร์กันแล้วนะคะ น้องคอปเตอร์เป็นตัวอย่างของคนที่มีความสม่ำเสมอ มีวินัยในตัวเอง ทำให้เห็นว่าหากเรามีความตั้งใจและมีวินัยไปด้วยก็สามารถทำให้เราประสบความสำเร็จดังที่หวัง ขอแค่อย่าเลิกล้มไปก่อน เก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อย ๆ แล้ววันหนึ่งผลจะบอกเราเองว่าที่ผ่านมาคุ้มค่าหรือไม่ พี่ ๆ AT HOME เป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคนนะคะ ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จดังที่หวังค่ะ!

บทความที่เกี่ยวข้อง
สรุปเนื้อหาตรรกศาสตร์ ม.4 
โพสต์เมื่อ :
รู้ก่อน เก่งก่อน สังคมศึกษา ม. 1 ต้องเรียนอะไร
โพสต์เมื่อ :
ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง
โพสต์เมื่อ :
พิชิตคะแนนฟิสิกส์แบบแม่นๆด้วย สูตรฟิสิกส์ ม 4
โพสต์เมื่อ :
สรุปย่อ “จำนวนจริง” พร้อมสูตรทั้งหมด ครบถ้วน เตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบ...
โพสต์เมื่อ :
สรุปเรื่อง พหุนาม เอกนาม ม.1 พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลย จัดเต็มพร้อมสอบ เกรดดีขึ้น...
โพสต์เมื่อ :