น้อง ๆ ป.6 ทุกคนที่วางแผน อยากเตรียมตัวสอบเข้า ม.1 ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนไหนก็ตาม จะมีความแตกต่างกัน ในรูปแบบข้อสอบ แต่อย่างไร การเตรียมตัวคร่าว ๆ ในการเก็บเนื้อหา ยังมีความเหมือนกันอยู่ค่ะ
พี่ ๆ ATHOME จึงอยากร่วมแรงร่วมใจกันมา เป็นคนแนะนำเนื้อหาสำคัญที่ใช้สอบ รวมถึงแนะนำเทคนิคดี ๆ จากรุ่นพี่ทั้งหลายที่สอบติดตัวจริงมาให้น้อง ๆ ไปปรับใช้กัน ถ้าพร้อมแล้วเรามาลุยไปพร้อมกันเลย!
ติวสอบเข้าม.1 ควรเตรียมตัวยังไงบ้าง?
ค้นหาโรงเรียน ที่อยากสอบเข้า ข้อนี้สำคัญมากเลยนะ เพราะถ้านเราทำบางอย่างไปแบบไม่มีเป้าหมายอย่างไรความพยายามของเรา มันก็ไม่ชัดเจน ทำให้ผลลัพธ์ไม่ชัดเจนไปด้วย ดังนั้นแล้วน้อง ๆ ควรศึกษาเกี่ยวกับโรงเรียนที่อยากสอบติดระดับหนึ่งเพื่อตั้งเป็น Goal ของน้อง ๆ |
ดูรายละเอียด โครงสร้างข้อสอบ ของโรงเรียนนั้น ข้อนี้ทำให้น้อง ๆ สามารถโฟกัสได้ถูกจุด ว่าต้องอ่านแต่ละวิชาเน้นหนักไปที่บทไหนบ้าง บทไหนออกน้อยกว่า หรือ ต้องอ่านเสริมตรงไหนอีก |
ดูข้อสอบเก่า เข้าม.1 แน่นอนว่าข้อสอบเก่านี่ บอกอะไรเราได้หลายอย่างมาก ทั้งเรื่องที่ออกบ่อย ๆ รวมไปถึง ลักษณะสำคัญที่เรามักพบเห็นในตัวข้อสอบเก่าอีกด้วย ใครที่กลัวจะเตรียมตัวไม่ทัน การดูข้อสอบเก่าไปก็ช่วยได้ระดับหนึ่งเลยนะ |
ทำตารางอ่านหนังสือ วางแผน การอ่านหนังสือ เมื่อรู้แล้วว่าต้องสอบวิชาไหน อะไรอย่างไรบ้าง ก็ลุยทำตารางอ่านหนังสือด้วยตัวเองเลย ควรเลือกวิชาความจำ คู่กับวิชาคำนวณ เพราะจะช่วยให้สมองไม่ล้าเกินไป |
ลุยอ่านหนังสือ พร้อมทำแบบฝึกหัด การอ่านหนังสือหนัก ๆ ดูเหมือนจะดี แต่ความจริงแล้ว การหมั่นทบทวน คือ กุญแจ แห่ง ความสำเร็จ อย่าง แท้จริง ใครที่คิดว่า ค่อยไปเก็บทบทวนตอนใกล้สอบจริง ๆ บอกเลยว่าพลาดมาก เพราะการทบทวนซ้ำ ๆ จะทำให้สมองจำได้ดีกว่า สมองสามารถ เปลี่ยนเป็นความจำถาวรได้ง่ายกว่านั่นเอง |
ทำสมุด Short Note เล็ก ๆ ติดตัวไว้เสมอ จะช่วยให้เราสามารถทบทวนบทเรียนต่าง ๆ ได้สะดวกมากกว่า และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย |
ตะลุยโจทย์ พร้อมเก็บจุดที่มักผิดพลาด ข้อนี้สำคัญมาก ๆ เลยสำหรับน้อง ๆ ที่ใกล้สอบ เพราะจะทำให้เราสามารถอุดรอยรั่ว ของตัวเองได้ และทำให้คะแนนเราอัพขึ้นด้วยนะ |
เนื้อหาสอบเข้า ม.1 คณิตศาสตร์ มีเรื่องไหนบ้าง
เนื้อหา สำหรับการเตรียมตัวสอบเข้าระดับ ม.1 ส่วนใหญ่จะนำมาจากความรู้ระดับชั้นประถมปลาย
ของน้อง ๆ เลยค่ะ ดังนั้นแล้วหากกลับไปทบทวนสิ่งที่เรียนมา ให้เข้าใจ การสอบเข้าก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินความพยายามเลยค่ะ ซึ่งเนื้อหา วิชาคณิตศาสตร์ ชั้น ป.4-6 มีดังนี้
สรุปเนื้อหาสอบเข้า ม.1 ที่ออกบ่อยที่สุด
ตะลุยข้อสอบ สอบ เข้า ม 1 คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแบบฝึกหัดติวสอบเข้า ม.1 คณิตศาสตร์
1. ไนโตรเจนหนักเป็น 0.0012 เท่าของน้ำและไฮโดรเจน หนักเป็น 0.0009 เท่าของน้ำ ไฮโดรเจน หนักเป็นกี่เท่า ของไนโตรเจน (1) 0.075 (2) 0.75 (3) 1.33 (4) 13.33 เฉลย (2) 0.75 |
2.จากรูป รูปสามเหลี่ยม เกิดจากการต่อด้านของ รูปหกเหลี่ยมด้านเท่า ที่อยู่ตรงกลางออกไป แล้วข้อใดคือค่าของ a + b + c + d + e + f 1.180 2.270 3.300 4.360 เฉลย (4) 360 |
3. ชายคนหนึ่ง ขับรถยนต์ด้วยความเร็วคงที่ ออกจากจังหวัด ก เมื่อเวลา 8.10 น. ถึงจังหวัด ข เวลา 12.30 น. ถ้าจังหวัด ก อยู่ห่างจังหวัด ข เป็นระยะทาง 416 กิโลเมตร ชายคนนี้ขับ รถยนต์ด้วยอัตราความเร็วกี่กิโลเมตรต่อชั่วโมง 1.75 2.84 3.96 4.100 เฉลย (3) 96 |
4. ปัจจุบัน นารีมีอายุเป็นสี่เท่า ของสายธาร สารธารมีอายุมากกว่าวายุ 1 ปี อีก 20 ปีข้างหน้า อัตราส่วนของอายุ ของนารีต่ออายุวายุ เท่ากับ 5 : 3 เมื่อปีที่แล้ว ผลบวกของอายุของทั้งสาม คนเป็นเท่าใด 1.16 2.18 3.26 4.28 เฉลย (3) 26 |
5. ถ้าผลต่าง ของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม 2 วงคือ 10 เซนติเมตร แล้ว ผลต่างของเส้นรอบวงของ วงกลมทั้ง 2 วง มีค่าเท่ากับข้อใด 1.20 2.10 3.5 4.2 เฉลย (2) 10 |
6. สมชายต้องการ ล้อมรั้วลวดหนาม ที่ดินรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งมีความยาวด้านละ 55 เมตร ถ้าต้องเสีย ค่าล้อมรั้ว เมตรละ 120 บาท สมชายจะต้องจ่ายเงินกี่บาท 1.26400 บาท 2.25600 บาท 3.24300 บาท 4.23200 บาท เฉลย (1) 26400 บาท |
7. สนามรูปลี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 25 เมตร ยาว 30 เมตร ต้องการทำทางเท้าผ่านกลางสนาม เชื่อมต่อ ด้านยาว ให้มีช่องทางเท้ากว้าง 5 เมตร อยากทราบว่าพื้นที่สนามเหลือเท่าใด 1.มีพื้นที่เท่ากับสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่กว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตร 2.มีพื้นที่เท่ากับสามเหลี่ยมที่มีฐานยาว 50 เมตร สูง 25 เมตร 3.มีพื้นที่เท่ากับวงกลมที่มีรัศมี 56 เมตร 4.มีพื้นที่เท่ากับสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาวด้านละ 35 เมตร เฉลย (2) มีพื้นที่เท่ากับสามเหลี่ยมที่มีฐานยาว 50 เมตร สูง 25 เมตร |
เทคนิค การอ่านหนังสือ วิชาคณิตศาสตร์ให้เข้าใจง่าย
- ทบทวน บทเรียนในสภาพแวดล้อม ที่ปราศจากสิ่งรบกวน เพื่อเพิ่มพลังโฟกัสมากขึ้น
- ห้าม มองข้ามนิยาม และทฤษฎีบท ควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
- หาเวลาฝึกแก้โจทย์ คณิตศาสตร์ทุกวัน ความสม่ำเสมอคือกุญแจแห่งความสำเร็จ
- หาจุดบกพร่องของตัวเองแล้ว แก้ไขมันซะ
- รู้จักหาวิธีที่ทำให้แก้โจทย์ได้ไวมากขึ้น
- หาสาเหตุทุกครั้ง ที่แก้โจทย์แล้วเกิดข้อผิดพลาด
- ถ้าจำสูตรไม่ได้ ให้ทำโจทย์เพิ่ม ไม่ใช่ท่องสูตร
- ลองเอาบทที่เรียนจนเข้าใจ ไปสอนเพื่อน จะช่วยให้จำได้ดีมากขึ้น
(คลิปประกอบ แนะนำการเรียนวิชาคณิตให้ปัง)
เทคนิคการทำข้อสอบ ให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น
เทคนิคทำข้อสอบตัวเลือกตอบ
1. อ่านคำถามให้ชัวร์มากที่สุด
โดยเฉพาะคำว่า ไม่ใช่ มากที่สุด น้อยที่สุด ส่วนตรงนี้เด็ก ๆ โดนหลอกง่ายมาก
2. อ่านตัวเลือกทั้งหมดทุกข้อ
ก่อนตัดสินใจเลือกข้อที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องมากที่สุด เพียงข้อเดียว อย่าเพิ่งดีใจ ว่าเจอคำตอบแล้ว
กาเลย แบบนี้ก็เสียคะแนน มาเยอะเช่นกันน้า
3. อย่างมกับคำถามเพียงข้อเดียว
ถ้ายังคิดไม่ออก ควรเว้นไว้ก่อน แต่ต้องทำเครื่องหมายไว้ เพื่อกลับมาทำ ไม่อย่างนั้นอาจจะพาล
ทำให้ข้ออื่นคิดไม่ทันไปด้วย
4. ตรวจสอบเวลาและข้อสอบที่ทำ
หากเวลาเหลือน้อย แต่ข้อสอบมีเยอะ ควรรีบทำให้เร็วขึ้น ควรเร่งสปีดตัวเองได้แล้ว แนะนำให้พกนาฬิกาแบบเข็ม เข้าห้องสอบทุกครั้ง เพราะจะช่วยบริหารเวลาได้ดีกว่า
5. ถ้าเจอข้อที่ไม่แน่ใจให้ตัดช้อยช์
ทำแบบนี้แล้วจะช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ง่ายและเร็วกว่า
6. ควรทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ
อย่าให้ปล่อยกระดาษคำตอบว่างไว้ ทำไม่ได้ คิดไม่ทัน เมื่อใกล้หมดเวลา ก็ให้กาคำตอบให้ครบ
ถึงแม้จะเป็นการเดาข้อสอบก็ต้องทำ จำไว้ว่าทุกข้อมีคะแนนเสมอ เรายังมีโอกาส
7. แนะนำให้เขียนตัวหนังสือเล็กแต่อ่านง่าย
หากจำเป็นต้องทดในกระดาษช่วยบริหารพื้นที่กระดาษข้อสอบได้ดี และสามารถกลับมาอ่านตรวจ
ก่อนตอบได้ด้วย
เทคนิคการทำข้อสอบข้อเขียน
1. เขียนคำตอบที่ตรงประเด็นที่สุด
ด้วยข้อความที่กระชับแต่ครอบคลุมทุกประเด็นคำถามตั้งแต่ประโยคแรกที่เขียน
2. ตอบในย่อหน้าแรก ด้วยคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ในย่อหน้าแรกในการตอบคำถาม ให้เสนอเหตุผลที่สำคัญที่สุด
3. ขยายคำตอบในย่อหน้าสอง
เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับการตอบคำถามจากข้อแรกเข้าไปในส่วนนี้
แต่ยังเป็นรายละเอียดในหัวข้อที่ใหญ่ก่อน
4. ตอบคำถามย่อยด้วยย่อหน้าต่อมา
เพิ่มความละเอียดและครอบคลุมของเนื้อหาด้วยการตอบคำถามย่อย ๆ ออกมา
5. ควรเสริมคำตอบให้มีตัวอย่าง
ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
แนว ข้อสอบ เข้า ม 1 คณิตศาสตร์ ทำฟรีพร้อมเฉลย
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
สอบเข้า ม.1 คณิตศาสตร์ สำคัญ มากขนาดไหน
คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญมาก บางโรงเรียนเมื่อมีนักเรียนที่คะแนนเท่ากันสองคนหรือมากกว่านั้นเขาแล้วที่ว่างมีแค่ 1 คน หลายโรงเรียนจะเลือกใช้คะแนนคณิตศาสตร์เป็นตัววัดในการรับ นักเรียน เข้าโรงเรียน นั้น ๆ
บทไหนออกเยอะสุดสนามสอบเข้า ม.1
บทคณิตศาสตร์ที่ออกเยอะที่สุด ในวิชา คณิตศาสตร์ คือ เรื่อง พีชคณิต เกี่ยวกับ เรื่อง จำนวนต่าง ๆ และ ร้อยละ การหาต้นทุน กำไร ขาดทุน โดยใช้ วิธี เทียบบัญญัติไตรยางศ์ร
ควรเก็บข้อง่าย หรือ ข้อยากก่อน สำหรับการทำข้อสอบ เข้า ม.1
ถ้าหากว่า น้อง ๆ ดูแล้วว่า คะแนนในแต่ละข้อ มันเท่ากัน พี่ขอแนะนำ ให้เลือกทำข้อง่าย มากกว่า ข้อยากนะ เนื่องจาก ว่าใช้เวลาที่น้อยกว่า ในการคำนวณมาก ๆ แต่ถ้า น้องคำนวณแล้วเวลาเหลือ น้องก็ควรเลือกเก็บ ข้อที่ยากด้วยนะ เพราะมีส่วนสำคัญเหมือนกัน ที่จะทำให้น้อง ๆ ได้คะแนนเพิ่ม ซึ่งนั่น หมายถึงการเพิ่มโอกาส ของการสอบติด ของน้อง เองด้วยนะ
สอบเข้า ม.1 ควรจำสูตรเรื่องไหนบ้าง
ควรเก็บสูตรคณิต เรื่อง ปริมาตร และ ความจุของรูปทรง เรขาคณิต และ สูตร การหาพื้นที่ ของรูปสามเหลี่ยม และ รูปหลายเหลี่ยม รวมไปถึง การจำวิธี การหาร้อยละ แบบต่าง ๆ และ การคำนวณด้วยบัญญัติ ไตรยางศ์ เพราะ แต่ละปี ที่มีการสอบเข้า เรื่องเหล่านี้ ต่าง ออกเยอะมาก ๆ
วิธีการเลือกสอบ โรงเรียนเข้าม.1 ที่ดีกับตัวเอง ที่สุด
การเลือกโรงเรียน ที่เหมาะสมกับตัวเองนั้น พี่ ๆ อยากให้น้อง ๆ ลองไปศึกษา ข้อมูลของโรงเรียนที่จะเข้า ให้แน่ใจก่อน ว่าชอบในตัวหลักสูตร ชอบอุดมการณ์ของผู้บริหาร รวมไปถึงชอบ วิธีการสอน ของคุณครูไหม เพราะจะทำให้ น้องไม่เสียใจภายหลัง และได้โรงเรียนที่จะช่วย ส่งเสริมศักยภาพของน้อง ได้มากขึ้น
การเตรียมตัวของน้อง ๆ ประถมทุกคนที่อยากสอบเข้า โรงเรียนในฝัน ของตนเองนั้น ที่สำคัญที่สุดมากกว่าการเอาแต่อ่านหนังสือ คือ การอ่านหนังสือตามแผนที่ ได้วางเอาไว้ อย่างรัดกุม ดูและวิเคราะห์ให้ดี ว่าข้อสอบมีโครงสร้างอย่างไร บทไหนที่ออกเยอะ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์นั้น เป็นบทที่ค่อนข้างสำคัญมาก ๆ เพราะหลายโรงเรียนก็เลือกตัดคะแนน เด็กที่เท่ากัน ที่วิชาคณิตศาสตร์ ด้วยนะ บอกเลยว่า ยิ่งน้องทำคะแนน วิชานี้ดีเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่ม โอกาสในการสอบติด โรงเรียนที่น้อง ต้องการ มากขึ้น เท่านั้น อย่าดูถูกความ สามารถของตนเอง และอย่าดูถูกความฝัน ของตัวเองนะคะ ไม่ว่าใคร จะไม่เข้าใจความฝันของน้อง ๆ แต่พี่ ๆ ATHOME ทุกคน พร้อมส่งเสริมทุกความฝัน และ ทุกความพยายาม เสมอ