Search
Close this search box.

คณิตศาสตร์ ม.ปลาย พื้นฐาน-เพิ่มเติม เรียนบทไหนบ้าง หลักสูตรใหม่เรียนอะไร อัปเดตล่าสุด

Home > เลข > คณิตศาสตร์ ม.ปลาย พื้นฐาน-เพิ่มเติม เรียนบทไหนบ้าง หลักสูตรใหม่เรียนอะไร อัปเดตล่าสุด
เขียนโดย :
โพสต์เมื่อ :

อ่านสรุปตรงนี้ได้เลย

คณิตศาสตร์ มปลาย นั้นจะแบ่งออกเป็นคณิตศาสตร์พื้นฐานและคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ซึ่งเนื้อหาส่วนพื้นฐานจะเป็นการปูพื้นฐานบทหลักให้น้อง ๆ ได้ทำความเข้าใจคร่าว ๆ จากนั้นน้อง ๆ จะได้เรียนรู้ระดับที่ละเอียดมากขึ้นผ่านการเรียนคณิตเพิ่มเติม ซึ่งเนื้อหาแต่ละระดับชั้นแบ่งได้ดังนี้เลยนะคะ

คณิตศาสตร์ ม.4 เนื้อหา พื้นฐาน + เพิ่มเติม

คณิตศาสตร์ พื้นฐาน ม.4

บทที่ 1 เซต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต → รู้จักว่าเซตคืออะไร / เซตเขียนอย่างไร / ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในเซต / สมาชิกในเซต / สับเซต คืออะไร / พาวเวอร์เซต คืออะไร

การดำเนินการระหว่างเซต → การนำเซตจำนวนสองเซตขึ้นไปมาดำเนินการกัน โดยมี 4 วิธี ได้แก่ ยูเนียน , อินเทอร์เซกชัน , คอมพลีเมนต์ , ผลต่าง 

การแก้ปัญหาโดยใช้เซต → เป็นการแก้โจทย์ปัญหาต่าง ๆ ที่ใช้เซตแก้ได้
และเกี่ยวกับจำนวนในแต่ละเซต

บทที่ 2 ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
ประพจน์ → เรียนเกี่ยวกับ ประพจน์คืออะไร ข้อความลักษณะเรียกว่าประพจน์ และแบบไหนที่ไม่ใช่ประพจน์

การเชื่อมประพจน์ → การนำประพจน์สองประพจน์ขึ้นไปมาดำเนินการกัน โดยมี 5 วิธี ได้แก่ และ (^) หรือ () ถ้า…แล้ว (–>) ก็ต่อเมื่อ

การหาความจริงของประพจน์ → เราจะต้องหาว่าประพจน์ต่าง ๆ นั้นมีค่าความจริงเป็นอะไร ระหว่าง จริง หรือ เท็จ

บทที่ 3 หลักการนับเบื้องต้น
หลักการบวกและหลักการคูณ → พื้นฐานของหลักการนับ 2 วิธี

การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่ต่างกันทั้งหมด → การนับการทำงานเชิงเส้น ด้วยหลักการบวกและหลักการคูณ

การจดหมู่สิ่งของที่ต่างกันทั้งหมด → การจัดหมวดหมู่สิ่งต่าง ๆ กัน ตามเงื่อนไขที่ได้รับ

บทที่ 4 ความน่าจะเป็นการ
ทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง เหตุการณ์ → คำศัพท์พื้นฐานในเรื่องความน่าจะเป็น
ซึ่งจะทำให้สามารถทราบโอกาสที่จะเกิดขึ้นของเหตุการณ์ได้

ความน่าจะเป็น → การหาโอกาสที่เหตุการณ์ที่เราสนใจนั้นจะเกิดขึ้น
จากการหาสัดส่วนระหว่างเหตุการณ์ที่เราสนใจส่วนด้วยเหตุการณ์ทั้งหมดที่สามารถเกิดขึ้นได้

คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม ม.4 เทอม 1

บทที่ 1 เซต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต → ความรู้เกี่ยวการเซตคืออะไร สมาชิกของเซตแต่ละแบบหาอย่างไร

การหาสับเซต การหาเพาเวอร์เซตการดำเนินการระหว่างเซต → การนำเซตสองเซตขึ้นไปมาดำเนินการกัน โดยมี 4 การดำเนินการ ได้แก่ ยูเนียน / อินเตอร์เซกชัน / ผลต่าง / คอมพลีเมนต์

การแก้ปัญหาโดยใช้เซต → โจทย์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเซต และสามารถใช้วิธีการดำเนินการทางเซตแก้ปัญหาได้

บทที่ 2 ตรรกศาสตร์
ประพจน์ → รู้เกี่ยวกับความหมายของประพจน์และลักษณะของประพจน์

การเชื่อมประพจน์ → การนำประพจน์สองประพจน์มาดำเนินการกัน ด้วยวิธีการ 5 วิธี ได้แก่ และ / หรือ / ถ้า…แล้ว / ก็ต่อเมื่อ

การหาค่าความจริงของประพจน์ → การหาว่าประพจน์แต่ละประพจน์นั้นมีค่าความจริงเป็นจริงหรือเท็จ

สมมูลและนิเสธของประพจน์ → ได้รู้เกี่ยวกับประพจน์ที่มีค่าความจริงตรงกัน และตรงกันข้ามกัน

สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล → ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริงเสมอ และการอ้างเหตุผลโดยประพจน์หนึ่งเป็นเหตุ และประพจน์หนึ่งเป็นผล 

ตัวบ่งปริมาณและประโยคเปิด → เรียนเกี่ยวกับประโยคเปิดที่มีตัวบ่งปริมาณ และการหาค่าความจริง นิเสธ และสมมูล

บทที่ 3 จำนวนจริง
ระบบจำนวนจริง → ได้รู้เกี่ยวกับโครงสร้างของจำนวนจริง และสมบัติของจำนวนจริง

พหุนามตัวแปรเดียว → การดำเนินการของเอกนามและพหุนามที่มีตัวแปรเพียงตัวเดียว

การแยกตัวประกอบของพหุนาม → การหาตัวประกอบของพหุนาม ซึ่งมีหลายวิธี เช่น หารสังเคราะห์ / ทฤษฎีเศษเหลือ / หารยาว และอื่น ๆ 

สมการพหุนาม → การหาค่าของตัวแปร และใช้สมบัติเศษส่วนพหุนาม โดยตัวส่วนเมื่อแทนค่าตัวแปรแล้วต้องไม่เท่ากับ 0

คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม ม.4 เทอม 2

บทที่ 1 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
ความสัมพันธ์ → เรียนเกี่ยวกับเซตของคู่อันดับ โดยตัวแรกมาจากเซตหนึ่ง อันดับตัวหลังมาจากอีกเซตหนึ่ง

ฟังก์ชัน → เกี่ยวกับความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่ง รวมไปถึงฟังก์ชันแบบต่าง ๆ 

การใช้ฟังก์ชันในชีวิตจริง → วิธีการสร้างฟังก์ชันและฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตจริง

กราฟของฟังก์ชัน → วิธีการสร้างกราฟต่าง ๆ 

การดำเนินการของฟังก์ชัน → การนำฟังก์ชันสองฟังก์ชันขึ้นไปมาดำเนินการกัน เช่น บวก ลบ คูณ หาร และการหาฟังก์ชันประกอบ

ฟังก์ชันผกผัน → ลักษณะความสัมพันธ์ที่เกิดจากการนำลำดับตัวหน้าสลับกับตัวหลัง

บทที่ 2 ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม
เลขยกกำลัง
→ สมบัติของเลขยกกำลังที่เป็นพื้นฐานต่อไปในเรื่องฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล และฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล → ลักษณะฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและกราฟ

สมการและอสมการเอกซ์โพเนนเชียล → การแก้สมการและอสมการที่มีรูปเลขยกกำลังติดอยู่ ด้วยการใช้สมบัติของเลขยกกำลัง

ฟังก์ชันลอการิทึม → ลักษณะฟังก์ชันลอการิทึมและกราฟ ที่เป็นฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล

สมบัติของลอการิทึม → สมบัติลอการิทึมที่เกี่ยวข้องกับสมบัติของเอกซ์โพเนนเชียล

สมการและอสมการลอการิทึม → การแก้สมการและอสมการที่มีรูปลอการิทึมโดยการใช้สมบัติและข้อยกเว้นต่าง ๆ 

การประยุกต์ของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม → การนำฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึมไปประยุกต์ใช้กับโจทย์คณิตบทอื่น ๆ รวมถึงศาสตร์วิชาอื่น เช่น เคมี ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น

บทที่ 3 ภาคตัดกรวย
เรขาคณิตวิเคราะห์
→ ลักษณะต่าง ๆ ของเส้นตรง และการวาดกราฟความสัมพันธ์ที่เป็นเส้นตรง

ภาคตัดกรวย → ความสัมพันธ์ที่เกิดจากภาคตัดกรวยในระนาบต่าง ๆ เช่น วงรี วงกลม ไฮเพอร์โบลา พาราโบลา เป็นต้น

คณิตศาสตร์ ม.5 เนื้อหา พื้นฐาน + เพิ่มเติม

คณิตศาสตร์ พื้นฐาน ม.5

บทที่ 1 เลขยกกำลัง → เลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ และกล่าวถึงสมบัติการดำเนินการของเลขยกกำลังรวมไปถึงรากและจำนวนจริงในรูปกรณฑ์

บทที่ 2 ฟังก์ชัน → ความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่ง และฟังก์ชันต่าง ๆ รวมไปถึงการสร้างฟังก์ชัน

บทที่ 3 ลำดับและอนุกรม → การเขียนพจน์ต่าง ๆ เรียงกัน เรียกว่าลำดับ และการหาอนุกรมซึ่งคือผลบวกของลำดับ

คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม ม.5 เทอม 1

บทที่ 1 ฟังก์ชันตรีโกณมิติ 
ฟังก์ชันตรีโกณมิติต่าง ๆ → การหาค่ามุมต่าง ๆ ด้วยวงกลมหนึ่งหน่วย

กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ → การพิจารณากราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติต่าง ๆ 

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของผลบวกและผลต่างมุม → การหาค่ามุมที่มีความซับซ้อนขึ้น และมีการใช้สูตรร่วมด้วย

ตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ → เรียนรู้ข้อจำกัดของตัวผกผันในฟังก์ชันตรีโกณมิติ

เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ และสมการตรีโกณมิติ → ลักษณะพิเศษของตรีโกณมิติ รวมไปถึงการใช้เอกลักษณ์ในการแก้สมการตรีโกณมิติ

กฎของไซน์และกฎของโคไซน์ → เรียนเกี่ยวกับลักษณะบางอย่างของสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่สามารถใช้กฎของข้อนี้อธิบายได้

การหาระยะทางและความสูง → โจทย์ปัญหาแนวประยุกต์ที่ใช้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติและฟังก์ชันตรีโกณมิติ

บทที่ 2 เมทริกซ์  
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเมทริกซ์
→ เข้าใจคำว่า หลัก และ แถวของเมทริกซ์ รวมไปถึงการดำเนินการทางพีชคณิต และการเท่ากันของเมทริกซ์

ดีเทอร์มิเเนนต์  →  เรียกสั้น ๆ ว่าการหา det ในม.ปลายจะเรียนแค่แบบ 2×2 และ 3×3 เท่านั้น

เมทริกซ์ผกผัน →  การหาตัวผกผันการคูณของเมทริกซ์โดยหาแค่ 2×2 เท่านั้น

การหาคำตอบระบบสมการเชิงเส้น
→ ใช้ความรู้เรื่อง Row Opearation ไปหาคำตอบในระบบสมการ ที่มีมากกว่า 2 สมการและมีตัวแปรมากกว่า 3 ตัวขึ้นไป

บทที่ 3 เวกเตอร์ 
เวกเตอร์และสมบัติของเวกเตอร์ → การเท่ากันของเวกเตอร์ การบวก การลบ และการหานิเสธของเวกเตอร์

เวกเตอร์ระบบพิกัดฉากสามมิติ → แสดงลักษณะต่าง ๆ ของเวกเตอร์ด้วยสมบัติของเวกเตอร์

ผลคูณเชิงสเกลาร์ → เรียนรู้วิธีการคูณด้วยสเกลาร์จะได้ผลลัพธ์เป็นสเกลาร์

ผลคูณเชิงเวกเตอร์ → เรียนการคูณเวกเตอร์ด้วยเวกเตอร์ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นเวกเตอร์ และไปประยุกต์กับเรื่องการหาสี่เหลี่ยมด้านขนาน

คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม ม.5 เทอม 2

บทที่ 1 จำนวนเชิงซ้อน 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนเชิงซ้อน
→ รู้เกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของจำนวนเชิงซ้อน ทั้งส่วนจริงและส่วนจินตภาพ

สมบัติเชิงพีชคณิตของจำนวนเชิงซ้อน → เอกลักษณ์และการดำเนินการของจำนวนเชิงซ้อน

กราฟและค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน → นำความรู้เรื่องเวกเตอร์มาวาดกราฟของจำนวนเชิงซ้อน และการหาขนาดของค่าสัมบูรณ์

รูปเชิงขั้วของจำนวนเชิงซ้อน → การเขียนจำนวนเชิงซ้อนในอีกลักษณะหนึ่งที่ใช้ความรู้จากเวกเตอร์และตรีโกณมิติ

รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน → ใช้รูปเชิงขั้วหารากที่ซับซ้อนของจำนวนเชิงซ้อน

สมการพหุนามตัวแปรเดียว → อธิบายลักษณะของสมการพหุนามที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนจริงทั้งหมด แต่มีคำตอบของสมการเป็นจำนวนเชิงซ้อน

บทที่ 2 หลักการนับเบื้องต้น 
หลักการบวกและหลักการคูณ
→ วิธีการหาจำนวนวิธีทั้งหมด

การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด → การหาการทำงานเชิงเส้นทั้งหมดด้วยหลักการบวกและหลักการคูณ

การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่ไม่แตกต่างกันทั้งหมด → การหาการทำงานเชิงเส้นที่ซับซ้อนมากขึ้นด้วยหลักการบวกและหลักการคูณ

การจัดหมู่สิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด → อธิบายความต่างกันของการเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่

ทฤษฎีบทวินาม → อธิบายลักษณะการกระจายและสัมประสิทธิ์การกระจายพหุนามเลขยกกำลังของตัวแปร

บทที่ 3 ความน่าจะเป็น 
การทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง เหตุการณ์ → พื้นฐานที่จะนำไปสู่การหาความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็น → การหาโอกาสที่จะเกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่เราสนใจ

กฎที่สำคัญบางประการของความน่าจะเป็น → การประยุกต์ความรู้เรื่องความน่าจะเป็นกับเรื่องเซต

คณิตศาสตร์ ม.6 เนื้อหา พื้นฐาน + เพิ่มเติม

คณิตศาสตร์ พื้นฐาน ม.6

บทที่ 1 ความหมายของสถิติศาสตร์และข้อมูล  → การเรียนเรื่องสถิติศาสตร์พื้นฐาน รู้จักสถิติศาสตร์เชิงพรรณา และสถิติศาสตร์เชิงอนุมาน

บทที่ 2 การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ  → การนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์และนำเสนอผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น แผนภาพ ตารางแจกแจงความถี่

บทที่ 3 การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ → การนำข้อมูลเชิงปริมาณมาวิเคราะห์และนำเสนอผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น แผนภาพ ตารางแจกแจงความถี่

คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม ม.6 เทอม 1

บทที่ 1 ลำดับและอนุกรม
ลำดับ → การเขียนลำดับ และลำดับพิเศษต่าง ๆ 

ลิมิตของลำดับ → เมื่อจำนวนพจน์มีมากขึ้นอย่างไม่จำกัด ศึกษาการเป็นไปด้วยการดูลิมิตของลำดับ

อนุกรม → ผลบวกของลำดับในลักษณะต่าง ๆ 

สัญลักษณ์แสดงการบวก → การเขียนแทนการบวกให้กระชับขึ้น

การประยุกต์ของลำดับและอนุกรม → นำความรู้เรื่องลิมิตของลำดับไปประยุกต์เกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ย

บทที่ 2 แคลคูลัสเบื้องต้น
ลิมิตของฟังก์ชัน  → การหาค่าของฟังก์ชันเมื่อตัวแปรเข้าใกล้ค่าหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ค่านั้น

ความต่อเนื่องของฟังก์ชัน  → ลักษณะบางประการที่กล่าวถึงความต่อเนื่องของฟังก์ชันโดยใช้ความรู้เรื่องลิมิตของฟังก์ชัน

อนุพันธ์ของฟังก์ชัน  → เรียนเกี่ยวกับการหาอัตราการเปลี่ยนแปลงของฟังก์ชัน 

การประยุกต์ของอนุพันธ์  → การวิเคราะห์จากอนุพันธ์ของฟังก์ชัน การหาความชันของเส้นโค้ง

ปริพันธ์ของฟังก์ชัน  → กล่าวถึงปฏิยานุพันธ์หนึ่งของฟังก์ชัน 

พื้นที่ที่ปิดล้อมด้วยเส้นโค้ง  → การนำปริพันธ์ไปหาพื้นที่ที่ปิดล้อมด้วยเส้นโค้งด้วยการประยุกต์ของปริพันธ์

คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม ม.6 เทอม 2

บทที่ 1 ความหมายของสถิติศาสตร์และข้อมูล
สถิติศาสตร์ → เรียนสถิติศาสตร์เบื้องต้น

คำสำคัญของสถิติศาสตร์ → คำสำคัญเกี่ยวกับสถิติ

ประเภทของข้อมูล  → ได้เรียนรู้เกี่ยวข้อมูลประเภทต่าง ๆ ในเชิงสถิติศาสตร์

สถิติศาสตร์เชิงพรรณนาและสถิติศาสตร์เชิงอนุมาน  → ได้รู้เกี่ยวกับลักษณะของสถิติศาสตร์ทั้งสองลักษณะ

บทที่ 2 การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ
การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตารางความถี่  → รูปแบบของตารางความถี่ต่าง ๆ และค่าต่าง ๆ ที่เกิดจากและเกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพ

การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแผนภาพ  → แผนภาพจัดเป็นการวิเคราะห์และนำเสนอที่สำคัญ ที่นำเสนอด้วยแผนภาพต่าง ๆ 

บทที่ 3 การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ
การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณด้วยตารางความถี่  → ตารางความถี่จัดเป็นการวิเคราะห์และนำเสนอ และเรียนเกี่ยวกับรูปแบบของตารางความถี่แบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงปริมาณ

การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแผนภาพ  → แผนภาพจัดเป็นการวิเคราะห์และนำเสนอที่สำคัญ ที่นำเสนอด้วยแผนภาพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงปริมาณ

ค่าวัดทางสถิติ  → ค่าวัดและพิจารณาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพต่าง ๆ อันได้แก่ ค่ากลางของข้อมูล ค่าวัดการกระจายของข้อมูล และ ค่าวัดตำแหน่งที่ของข้อมูล

บทที่ 4 ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น
ความหมายและชนิดของตัวแปรสุ่ม  → พื้นฐานของตัวแปรสุ่ม ได้แก่ ตัวแปรสุ่มต่อเนื่อง และ ตัวแปรสุ่มไม่ต่อเนื่อง

การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มไม่ต่อเนื่อง  → มีการแจกแจงความน่าจะเป็นทั้งหมดสองแบบ ได้แก่ การแจกแจงเอกรูปไม่ต่อเนื่อง และการแจกแจงทวินาม

การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มต่อเนื่อง   → มีการแจกแจงความน่าจะเป็นทั้งหมดสองแบบ ได้แก่ การแจกแจงปกติ และการแจกแจงปกติมาตรฐาน

คณิตศาสตร์ ม.ปลาย หลักสูตรใหม่ เรียนอะไรบ้าง

คณิตศาสตร์ หลักสูตรใหม่

เนื้อหาที่เพิ่มเข้ามาในหลักสูตร 2560

  • ตัวแปรสุ่ม และ การแจกแจงความน่าจะเป็น
  • ลำดับอนุกรม เพิ่มเนื้อหา ลำดับฮาร์มอนิก, ดอกเบี้ยทบต้น, ค่างวด
  • เนื้อหาจะเน้นการประยุกต์ของแต่ละเรื่องมากขึ้น

เนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงจากหลักสูตรเก่า

  • ตรรกศาสตร์ ตัดตัวบ่งปริมาณ 2 ชั้นออก
  • จำนวนจริง เพิ่มเนื้อหา เศษส่วนพหุนาม แก้สมการพหุนามที่ดีกรีไม่เกิน 4
  • เมทริกซ์ ตัดเนื้อหา ไมเนอร์ โคแฟกเตอร์, adj, หาเมทริกซ์ผกผันขนาด 3×3, กฎของคราเมอร์

เนื้อหาที่ตัดออกไปจากหลักสูตรเก่า

  • ทฤษฎีจำนวน
  • กำหนดการเชิงเส้น
  • ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล
  • ทฤษฎีกราฟ

น้อง ๆ ม.ต้น ที่กำลังจะขึ้น ม.4 รวมถึง พี่ ๆ ม.ปลาย ที่กำลังเรียนคณิตศาสตร์อยู่นั้น พี่ ๆ ATHOME
ขอร่วมเป็นกำลังใจ ซัพพอร์ทน้อง ๆ อยู่เสมอนะคะ การเรียนที่ได้ประสิทธิภาพไม่ใช่เพียงการแข่งกันจำเพื่อเข้าห้องสอบเพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วการเรียนที่ดีคือเรียนแล้วสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงให้มากที่สุด ใครที่ผลการเรียนยังไม่ได้ตามที่หวังก็ไม่เป็นไรน้า มาพยายามไปด้วยกันกับพี่ ๆ ATHOME ที่พร้อมนำเสนอสาระดี ๆ ให้น้อง ๆ อย่างต่อเนื่องน้า

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

คณิตมอปลายเรียนยากมั้ย

คณิตศาสตร์ระดับม.ปลายจะมีความซับซ้อนมากขึ้นจากระดับม.ต้นค่อนข้างมาก แต่เป็นเนื้อหาที่สามารถเรียนรู้ได้ ไม่มีอะไรที่ยากเกินความพยายามอย่างแน่นอน ถ้าอยากเรียนคณิตมปลายได้อย่างไม่ติดขัด แนะนำให้ทำแบบฝึกหัดอย่างสม่ำเสมอ

เนื้อหา คณิตศาสตร์ หลักสูตรใหม่ ส สว ท มีอะไรบ้าง

ตัวแปรสุ่ม และ การแจกแจงความน่าจะเป็น / 
ลำดับอนุกรม เพิ่มเนื้อหา ลำดับฮาร์มอนิก, ดอกเบี้ยทบต้น, ค่างวด

คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม เรียนยังไงให้เกรดพุ่งแบบไม่เหนื่อย

1. ควรเตรียมตัวดูเนื้อหาเรื่องนั้น ๆ ล่วงหน้าก่อนเข้าห้องเราทุกครั้ง ช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมของแต่ละบทได้มากขึ้น และทำให้การมาเรียนอีกครั้งในห้องเรียนเหมือนกับการได้ทบทวนอีกครั้ง
2. ตั้งใจเรียนในห้องให้มาก ส่วนนี้จะทำให้เราสามารถเข้าใจเนื้อหาได้มาก และประหยัดเวลาในการทบทวนมากขึ้น
3. ตั้งใจทำการบ้านหรือแบบฝึกหัดด้วยตนเองก่อน จะช่วยให้เราสามารถฝึกแก้ปัญหาได้ดี และได้ทบทวนบทเรียนที่เรียนมาด้วยการนำมันมาใช้แก้โจทย์ ส่งเสริมให้จำเนื้อหาบทนั้น ๆ ได้ดีมากขึ้น
4. ทำสรุปย่อ วิธีนี้เหมาะกับบทที่มีเนื้อหาเยอะ ๆ ที่ต้องการความจำแบบองค์รวม
5. จับกลุ่มติวกับเพื่อนช่วงใกล้สอบ วิธีนี้เหมาะมากเมื่อแต่ละคนมีการทบทวนเนื้อหาด้วยตนเองมาก่อนแล้ว จะช่วยให้จำเนื้อหาได้ดีมากขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง
สรุปเนื้อหาตรรกศาสตร์ ม.4 
โพสต์เมื่อ :
รู้ก่อน เก่งก่อน สังคมศึกษา ม. 1 ต้องเรียนอะไร
โพสต์เมื่อ :
ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง
โพสต์เมื่อ :
พิชิตคะแนนฟิสิกส์แบบแม่นๆด้วย สูตรฟิสิกส์ ม 4
โพสต์เมื่อ :
สรุปย่อ “จำนวนจริง” พร้อมสูตรทั้งหมด ครบถ้วน เตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบ...
โพสต์เมื่อ :
สรุปเรื่อง พหุนาม เอกนาม ม.1 พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลย จัดเต็มพร้อมสอบ เกรดดีขึ้น...
โพสต์เมื่อ :