การเรียนเรื่องการวัดนั้นจะช่วยให้เราสามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างดี น้อง ๆ จะสามารถนำเรื่องการวัดไปใช้การหาพื้นที่และพื้นที่ผิวได้
ความเป็นมาของการวัด คือ
การวัด คือ กระบวนการเปรียบเทียบระหว่างปริมาณของค่าที่ต้องการวัด (measure value)
และค่าอ้างอิง (reference value) ที่กำหนดไว้ ผลลัพธ์ (result value) ที่ได้จากการเปรียบเทียบ (comparison) คือ ปริมาณของตัวแปร ที่แท้จริง
วิวัฒนาการการวัด และ เครื่องมือในการวัด
ในอดีตที่ผ่านมานั้น การวัดสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณนั้นยังไม่มีหน่วยการวัดที่ชัดเจน
ทำให้มนุษย์ต้องบอกกล่าวระยะต่าง ๆ เป็นการกะประมาณเอาจากสิ่งในธรรมชาติ เช่น ประมาณคุ้งน้ำ ต่อมาเริ่มใช้การบอกปริมาณผ่านร่างกายของมนุษย์ เช่น ใช้การบอกเป็นคืบ เป็นศอก เป็นวา เป็นนิ้ว แต่แน่นอนว่าร่างกายมนุษย์แต่ละคนก็ไม่ได้เท่ากันทุกคน ดังนั้นจึงมีการพัฒนาการวัดและเครื่องมือการวัดต่อมา
โดยมีเป็นระบบการวัด ได้แก่
ระบบอังกฤษ ตัวอย่าง เช่น นิ้ว ไมล์ หลา เป็นต้น |
ระบบเมตริก ตัวอย่าง เช่น เซนติเมตร เมตร กิโลเมตร เป็นต้น |
หน่วยการวัดความยาว
หน่วยวัดความยาวในระบบเมตริก 1 เซนติเมตร เท่ากับ 10 มิลลิเมตร 1 เมตร เท่ากับ 100 เซนติเมตร 1 กิโลเมตร เท่ากับ 1000 เมตร |
หน่วยวัดความยาวในระบบอังกฤษ 1 ฟุต เท่ากับ 12 นิ้ว 1 หลา เท่ากับ 3 ฟุต 1 ไมล์ เท่ากับ 1760 หลา |
หน่วยวัดความยาวในมาตราไทย 1 คืบ เท่ากับ 12 นิ้ว 1 ศอก เท่ากับ 2 คืบ 1 เมตร เท่ากับ 2 ศอก 1 วา เท่ากับ 2 เมตร 1 วา เท่ากับ 4 ศอก 1 เส้น เท่ากับ 20 วา 1 โยชน์ เท่ากับ 400 เส้น |
หน่วยการวัดพื้นที่
หน่วยวัดพื้นที่ในระบบเมตริก 1 ตารางเซนติเมตร เท่ากับ 100 ตารางมิลลิเมตร 1 ตารางเมตร เท่ากับ 10000 ตารางเซนติเมตร 1 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 1000000 ตารางเมตร |
หน่วยวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษ 1 ตารางฟุต เท่ากับ 144 ตารางนิ้ว 1 ตารางหลา เท่ากับ 9 ตารางฟุต 1 เอเคอร์ เท่ากับ 4840 ตารางหลา 1 ตารางไมล์ เท่ากับ 640 เอเคอร์ |
หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทย 1 งาน เท่ากับ 100 ตารางวา 1 ไร่ เท่ากับ 4 งาน 1 ไร่ เท่ากับ 400 ตารางวา 1 ไร่ เท่ากับ 1600 ตารางเมตร |
หน่วยการวัดปริมาตรน้ำหนัก
หน่วยการวัดปริมาตรในระบบเมตริก 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับ 1000 ลูกบาศก์มิลลิเมตร 1 ลูกบาศก์เมตร เท่ากับ 1 ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ลิตร เท่ากับ 1000 ลูกบาศก์มิลลิเมตร 1 ลูกบาศก์เมตร เท่ากับ 1000 ลิตร |
หน่วยการวัดปริมาตรในระบบอังกฤษ 1 ช้อนชา เท่ากับ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 3 ช้อนชา 1 ถ้วยตวง เท่ากับ 16 ช้อนโต๊ะ 1 ถ้วยตวง เท่ากับ 8 ออนซ์ |
หน่วยการวัดน้ำหนักในระบบเมตริก 1 กรัม เท่ากับ 1000 มิลลิกรัม 1 กิโลกรัม เท่ากับ 1000 กรัม 1 ตัน เท่ากับ 1000 กิโลกรัม 1 กิโลกรัม เท่ากับ 2.2 046 ปอนด์ |
หน่วยเปรียบเทียบ 1 ถัง เท่ากับ 15 กิโลกรัมเท่ากับ 20 ลิตร 1 เกวียน เท่ากับ 100 ถัง 1 กระสอบ เท่ากับ 100 กิโลกรัม |
การวัดเวลา
1 วัน เท่ากับ 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมง เท่ากับ 60 นาที 1 นาที เท่ากับ 60 วินาที |
หน่วยการวัดสากลมีอะไรบ้าง
ในปี พ.ศ. 2503 องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้กำหนดระบบการวัดขึ้นมาใหม่ เรียกว่า ระบบหน่วยระหว่างประเทศหรือเรียกย่อ ๆ ว่าหน่วย SI เพื่อใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหน่วย SI ได้กำหนดหน่วยรากฐานที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน 7 หน่วยคือ
- เมตร (m) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความยาว
- กิโลกรัม (kg) เป็นหน่วยที่ใช้วัดมวล
- วินาที (s) เป็นหน่วยที่ใช้วัดเวลา
- แอมแปร์ (A) เป็นหน่วยที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า
- เคลวิน (K) เป็นหน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิ
- แคนเดลา (d) เป็นหน่วยที่ใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง
- โมล (mol) เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาตรของสาร
หน่วยการวัดของไทยมีอะไรบ้าง
มาตรไทย | ระบบเมตริก |
1 ตารางวา | 4 ตารางเมตร |
1 งาน (100 ตารางวา) | 400 ตารางเมตร |
1 ไร่ (4 งาน) | 1600 ตารางเมตร |
1 บาท | 15.16 กรัม |
1 ตำลึง (4 บาท) | 60 กรัม |
1 ชั่ง (20 ตำลึง) | 1.2 กิโลกรัม |
1 หาบ (50 ชั่ง) | 60 กิโลกรัม |
1 นิ้ว | 2 เซ็นติเมตร |
1 คืบ (12 นิ้ว) | 25 เซ็นติเมตร |
1 ศอก (2 คืบ) | 50 เซ็นติเมตร |
1 วา (4 ศอก) | 2 เมตร |
1 เส้น (20 วา) | 40 เมตร |
1 โยชน์ (400 เส้น) | 16 กิโลเมตร |
1 เกวียน | 2,000 ลิตร |
1 บั้น | 1,000 ลิตร (2 บั้น=1 เกวียน) |
1 ถัง | 20 ลิตร (50 ถัง=1 บั้น) |
1 ทะนาน | 1 ลิตร (20 ทะนาน=1 ถัง) |
ค่าประมาณจากการวัด
สัญลักษณ์ “( รอใส่สัญลักษณ์ค่าประมาณ) ” แทนคำว่า มีค่าประมาณ
- การวัดโดยประมาณเป็นจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงที่สุด
<รูปประกอบ รูปที่ 1 >
AB = 3.5 จะได้ว่า AB = 4
3.5 < CD < 4 จะได้ว่า CD = 4
4 < EF < 4.5 จะได้ว่า EF = 4
ข้อสังเกต แต่ถ้า AB = 3.4 จะได้ AB = 3
และถ้า AB = 4.5 หรือ AB = 4.6 เป็นต้น จะได้ AB = 5
- การวัดโดยประมาณให้ถึงทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่ง
การปัดเศษ
การปัดเศษถือว่าเป็นการประมาณปริมาณที่กำหนดให้
- การปัดเศษเมื่อประมาณเป็นจำนวนเต็ม
มีหลักการดังนี้
1.ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มสิบต้องดูที่หลักหน่วยตัวเลขโดดหลักหน่วยตั้งแต่ 5 ขึ้นไปปัดเศษขึ้นอีก 10 แต่ถ้าไม่ถึงห้าตัดทิ้งให้ถือว่าตัวเลขโดดหลักหน่วยเป็น 0
2.ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มร้อยต้องดูที่หลักสิบตัวเลขโดดในหลักสิบตั้งแต่ 5 ขึ้นไปปัดเศษขึ้นอีก 100 แต่ถ้าไม่ถึงห้าตัดทิ้งให้ถือว่าตัวเลขโดดหลักสิบและหลักหน่วยเป็นศูนย์
3.ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มพันต้องดูที่หลักร้อยตัวเลขโดดในหลักร้อยตั้งแต่ 5 ขึ้นไปประสิทธิ์ขึ้นเป็นอีก 1,000 บาทแต่ถ้าไม่ถึง 5 ตัดทิ้งให้ถือว่าตัวเลขโดดหลักร้อยหลักสิบหลักหน่วยเป็น 0 ทั้งหมดเป็นต้น
ข้อสังเกต การปัดเศษเมื่อประมาณเป็นจำนวนเต็มต้องการปัดเศษเป็นจํานวนเต็มใดต้องดูตัวเลขโดดก่อนหน้าของหลักที่ติดกันถ้าเป็นเลขโดดตั้งแต่ 5 ขึ้นไปจะต้องปัดขึ้นแต่ถ้าไม่ถึง 5 จะปัดทิ้ง
ตัวอย่าง จงปัดเศษ 3 5467 เป็นจํานวนเต็มสิบจำนวนเต็มร้อยจำนวนเต็มพันและจำนวนเต็มหมื่น วิธีทำ 3 5 4 6 7 ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มสิบคือ 3 5 4 7 0 3 5 4 6 7 ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มร้อยคือ 35500 3 5 4 6 7 ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มพัน คือ 35000 3 5 4 6 7 ปัดเศษเป็นจํานวนเต็มหมื่น คือ 40000 |
2. การปัดเศษเมื่อปริมาณเป็นทศนิยม
ก็ใช้หลักการเดียวกันกับการปัดเศษเมื่อปริมาณเป็นจำนวนเต็ม
ตัวอย่าง จงปัดเศษ 16.435 , 16.534 , 16.555 , 16.454 , 16.465 ให้เป็นจำนวนเต็ม ทศนิยม 1 ตำแหน่ง และทศนิยม 2 ตำแหน่ง |
ปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็ม | ปัดเศษให้เป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง | ปัดเศษให้เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง | |
16.435 | 16 | 16.4 | 16.44 |
16.543 | 17 | 16.5 | 16.53 |
16.555 | 17 | 16.6 | 16.56 |
16.454 | 16 | 16.5 | 16.45 |
16.465 | 16 | 16.5 | 16.47 |
การประมาณค่า
การประมาณค่าเป็นการนำค่าที่ได้จากการประมาณมาคำนวณต่อไปเพื่อให้การคำนวณได้รวดเร็วเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวอย่างที่ 1 วิทยุเครื่องหนึ่งติดราคาไว้ 3,120 บาท ลดให้ 10% คิดส่วนลดได้ประมาณเท่าไร วิธีทำ วิทยุเครื่องหนึ่งติดราคาไว้ 3120 บาท ประมาณ 3000 บาท ลดให้ 10% ดังนั้น ลดให้ประมาณ 10/100 x 3000 = 300 บาท ดังนั้น ลดให้ประมาณ 300 บาท |
สูตรการหาพื้นที่
พื้นที่วงกลม = r2 |
เส้นรอบรูป = 2r |
พื้นที่สามเหลี่ยมใด ๆ = ½ x ฐาน x สูง |
พื้นที่สามเหลี่ยมด้านเท่า = 34 x (ด้าน)2 |
พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า = กว้าง x ยาว |
พื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส = ด้าน x ด้าน |
พื้นที่สี่เหลี่ยมด้านขนาน = ความยาวรอบฐาน x สูง |
พื้นที่สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ความยาวรอบฐาน x สูง |
พื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู = ½ x ผลบวกของด้านคู่ขนาน x สูง |
( รอเปลี่ยนพายอาร์ root )
โจทย์แบบฝึกหัดการวัด
- เอกกลิ้งถังน้ำมันซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 140 cm ไปตามถนนจำนวน 100 รอบจงหาระยะทางที่กลิ้งไปได้ไกลที่สุดกี่เมตร
- 1.4 เมตร
- 2.6 เมตร
- 3.2 เมตร
- 4.4 เมตร
เฉลย (4) 4.4 เมตร
2. พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีฐานยาวด้านละ 6 cm สันยาว 5 เซนติเมตรจะมีพื้นที่ผิวเท่าใด
- 30 ตารางเซนติเมตร
- 64 ตารางเซนติเมตร
- 84 ตารางเซนติเมตร
- 108 ตารางเซนติเมตร
เฉลย (3) 84 ตารางเซนติเมตร
3. พื้นที่ผิวของทรงกระบอกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 14 เซนติเมตรและมีความสูง 10 เซนติเมตรมีค่าเป็นเท่าใด
- 2112 ตารางเซนติเมตร
- 880 ตารางเซนติเมตร
- 748 ตารางเซนติเมตร
- 440 ตารางเซนติเมตร
เฉลย (3) 748 ตารางเซนติเมตร
4. ลูกบอลพลาสติกลูกหนึ่งเมื่อเป่าลมแล้วมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 42 cm ผิวโค้งพลาสติกมี 4 สีสลับกันรวมทั้งหมด 12 แถบคิดเป็นพื้นที่เท่าๆกันอยากทราบว่าแต่ละแถบมีพื้นที่กี่ตารางเซนติเมตร
- 1848
- 1223
- 924
- 462
เฉลย (4) 462
5. ต้องการทาสีวงกลมลงบนแผ่นป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาว 16 นิ้วโดยวงกลมที่ระบายรัศมีนอก 5 นิ้วและหนา 3 นิ้วบริเวณที่ไม่ระบายสีมณีมีเนื้อที่เท่าใด
- 256 ตารางนิ้ว
- 190 ตารางนิ้ว
- 66 ตารางนิ้ว
- 33 ตารางนิ้ว
เฉลย (2) 190 ตารางนิ้ว
6. วงกลมวงหนึ่งมีรัศมียาว 3 นิ้วสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ใหญ่ที่สุดที่บรรจุอยู่ในวงกลมวงนี้จะมีพื้นที่เท่าใด
- 12 ตารางนิ้ว
- 14 ตารางนิ้ว
- 16 ตารางนิ้ว
- 18 ตารางนิ้ว
เฉลย (4) 18 ตารางนิ้ว
7. พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปหนึ่งมีค่าเท่ากับ 30 ตารางนิ้วและมีความยาวรอบรูปเท่ากับ 22 นิ้วสี่เหลี่ยมรูปนี้กว้างและยาวเท่าใด
- 5 และ 6
- 6 และ 7
- 7 และ 8
- 8 และ 9
เฉลย (1) 5 และ 6
8. รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีด้านยาวเท่ากับ 63 เมตรมีเส้นทแยงมุมยาว 87 เมตรอยากทราบว่าพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปนี้มีกี่ตารางเมตร
- 3700
- 3720
- 3740
- 3780
เฉลย (4) 3780
9. ลวดทองแดงมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 เซนติเมตรรอบกระป๋องซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เซนติเมตรสูง 15 เซนติเมตรโดยรอบจะต้องใช้ลวดยาวเท่าไหร่
- 150 เซนติเมตร
- 1500 เซนติเมตร
- 750 เซนติเมตร
- 7500 เซนติเมตร
เฉลย (2) 1500 เซนติเมตร
( รอเปลี่ยนพายอาร์ )
10. วงกลมวงหนึ่งมีพื้นที่ 18 ตารางหน่วยถ้านำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบรรจุอยู่ในวงกลมนี้ได้พอดีผลรวมของเส้นรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้มีค่าเท่ากับเท่าใด
- 3 หน่วย
- 6 หน่วย
- 12 หน่วย
- 24 หน่วย
เฉลย (4) 24 หน่วย
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
หน่วยการวัดมีอะไรบ้าง
เซนติเมตร / คืบ / วา / ศอก / เมตร / หลา / ไมล์ / ฟุต เป็นต้น
ทำไมเราต้องประมาณการวัด
เพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
หลังจากเรื่องการวัดแล้วนั้น น้อง ๆ สามารถนำเอาองค์ความรู้นี้ไปปรับใช้กับการวัดในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้การประมาณค่าตัวเลขยังมีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะเรื่องราคาสินค้า เรื่องเกรด หรือแม้กระทั่งการแก้โจทย์ปัญหาที่ตัวเลขไม่ลงตัว การที่รู้จักกับการประมาณค่าสามารถทำให้การคำนวณนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น