เริ่มออกสตาร์ทเปิดเทอมกันมาพักใหญ่แล้วสำหรับเด็กมัธยมต้น บทเรียนใหม่ๆน่าสนุกกำลังรอน้องๆอยู่ โดยเฉพาะน้องม.3 ที่จะได้เจอกับบทเรียนคณิตศาสตร์ชื่อแปลกอย่าง “พาราโบลา” ที่ดูเหมือนจะยาก แต่บอกเลยว่าง่ายนิดเดียว เพราะพี่ๆ AT HOME สรุปมาให้ครบแบบเข้าใจง่าย ตั้งแต่พาราโบลาคืออะไร ภาคตัดกรวย จุดยอด จุดกำเนิดเป็นแบบไหน รวมไปถึงสูตรพาราโบลาที่จำเป็นต้องรู้! ปิดท้ายด้วยแบบฝึกหัดเสริมประสบการณ์ให้ลองได้ทำกัน แต่ถ้าใครอยากพื้นฐานแน่นแบบเน้นๆ ขอบอกว่าคอร์สเรียนเรื่อง “พาราโบลา”ของอาจารย์รี่นั้น เจาะลึกและตอบทุกข้อสงสัยของทุกคนได้อย่างแน่นอน
พาราโบลาคืออะไร
‘พาราโบลา’ คืออะไร อธิบายสั้นๆ ได้ว่าพาราโบลานั้นเป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเส้นโค้ง โดยเส้นโค้งนี้เกิดจากการตัดพื้นผิวของกรวยด้วยระนาบที่ขนานกับเส้นกำเนิดกรวย (generating line)
ของพื้นผิวนั้น เส้นโค้งที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นเซตของจุดบนระนาบนั่นเอง
ทฤษฎีพาราโบลานี้สามารถมาประยุกต์ใช้กับสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้มากมาย เช่น การโยนวัตถุต่างๆ ขึ้นไปกลางอากาศ วิถีการเดินทางของวัตถุนั้นจะค่อยๆขึ้นและก็ตกลงมา ซึ่งวิถีนั้นก็มีลักษณะเป็นเส้นโค้งแบบพาราโบลาด้วย
ภาคตัดกรวย (Conic Sections)
เคยเห็นแก้วกระดาษสำหรับดื่มน้ำทรงกรวยกันมั้ย ลองนึกภาพตามว่าถ้าเราเอากระดาษไปผ่าแก้วทรงกรวยนี้ รูปบนหน้าตัดนั้น เราจะมองเห็นเป็นรูปอะไรได้บ้าง
จากภาพบน การตัดกรวย ที่แนวระนาบที่ต่างกันก็จะได้รูปของภาคตัดกรวยที่ต่างกัน ถ้าระนาบตัดกรวยในแนวขนานกับเส้นขอบของกรวย หรือ เส้นกำเนิดกรวย จะเกิดเส้นโค้งที่เราเรียกว่า “พาราโบลา” แต่ถ้าระนาบตัดกรวยตัดในแนวอื่นๆ ก็จะเกิด วงกลม วงรี หรือไฮเปอร์โบลา นั่นเอง
ส่วนประกอบของพาราโบลา
หากเราวาดเส้นโค้งพาราโบลาบนระนาบของแกน x และแกน y เป็นกราฟเส้นโค้งดังรูป เราจะเห็นส่วนประกอบของพาราโบลาดังต่อไปนี้
จุดยอด หรือ จุดยอดพาราโบลา
จุดยอดเป็นส่วนประกอบของพาราโบลา ใช้สัญลักษณ์ “V” แทนคำว่า Vertex
เป็นจุดยอดที่พาราโบลาตัดกับแกนของพาราโบลา หรือจุดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างจุดโฟกัสกับเส้นไดเรกตริกซ์
เส้นไดเรกตริกซ์ (Directrix)
เส้นไดเรกตริกซ์ของพาราโบลา หรือเรียกกันว่า “เส้นคงที่” เป็นเส้นตรงที่อยู่คู่กับจุดโฟกัส
ใช้สำหรับกำหนดหรือบังคับเซตของจุดชุดหนึ่งให้เรียงต่อกันเป็นเส้นโค้งพาราโบลาในระบบภาคตัดกรวย
เลตัสเรกตัม
เลตัสเรกตัม คือ ส่วนของเส้นตรงที่ลากผ่านจุดโฟกัส และมีจุดปลายทั้งสองอยู่บนพาราโบลา
ปลายด้านหนึ่งคือ A และปลายอีกด้านคือ B จึงใช้สัญลักษณ์ว่า AB เป็นเส้นที่แสดงความกว้างของพาราโบลา ณ จุดโฟกัส และเลตัสเรกตัมจะตั้งฉากกับแกนของพาราโบลาเสมอ
จุดโฟกัส
จุดโฟกัสหรือจุดคงที่ ใช้สัญลักษณ์ F เมื่อพาราโบลาคือเซตของจุดทั้งหมดในระนาบซึ่งมีระยะห่างจากจุดที่กำหนดและเส้นที่กำหนดเท่ากัน จุดที่กำหนดนี้เรียกว่า จุดโฟกัส และเส้นที่กำหนดนี้เรียกว่าเส้นไดเรกตริกซ์
จุดกำเนิด
จากรูปกราฟพาราโบลา จุดกำเนิด คือ จุดที่แกน x และแกน y มีค่าเท่ากับ 0 หรือ
จุดที่ทั้งสองแกนตัดกันนั่นเอง
แกนของพาราโบลา
พาราโบลาคือ เส้นตรงที่ลากผ่านจุดโฟกัสและไปตั้งฉากกับเส้นไดเรกตริกซ์ (Directrix) เราจะเรียกว่าแกนของพาราโบลา
สมการพาราโบลา
สมการของพาราโบลาเป็นสมการที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูป
( รอเเก้เลขยกกำลัง )
y=ax2+bx+c
เมื่อ a, b, c เป็นค่าคงตัว (คือตัวเลขในรูปแบบต่างๆ)
และ a0 เพราะถ้า a เป็น 0 ก็จะทำให้กำลังสองหายไป
จุดสังเกตง่ายๆว่าสมการใดเป็นสมการของพาราโบลา สมการนั้นจะต้องเป็นสมการกำลังสอง ซึ่งจะมี x2 ปรากฎอยู่ในสมการเสมอ
ตัวอย่างสมการพาราโบลา
y=3×2+6x+1
สมการพาราโบลานี้มีค่า a=3, b=6, c=1
y=-2×2-12x-17
สมการพาราโบลานี้มีค่า a=-2, b=-12, c=-17
y=4×2-5
สมการพาราโบลานี้มีค่า a=4, b=0, c=-5
y= 4x-x22 เราสามารถเขียนสมการนี้ใหม่ได้ว่า y=4×2-x22
สมการพาราโบลานี้มีค่า a=12, b=2, c=0
y=6-x2
สมการพาราโบลานี้มีค่า a=-1, b=0, c=6
y=3x-5
สมการนี้ไม่ใช่สมการของพาราโบลา เพราะไม่สามารถจัดให้อยู่ในรูป y=ax2+bx+c ได้
y=x2(x-1) เราสามารถเขียนสมการนี้ใหม่ได้ว่า y=x3-x2
สมการนี้ไม่ใช่สมการของพาราโบลา เพราะไม่สามารถจัดให้อยู่ในรูป y=ax2+bx+c ได้
กราฟพาราโบลา
กราฟของพาราโบลาหรือกราฟของฟังก์ชันกำลังสอง การเขียนกราฟของสมการพาราโบลา
นิยมเขียนสมการให้อยู่ในรูป ( รอเเก้เลขยกกำลัง )
y=a(x-h)2+k เมื่อ a0
ซึ่งเป็นการทำบางส่วนของสมการ y=ax2+bx+c ให้เป็นกำลังสองสมบูรณ์ดังนี้
จากสมการดังกล่าวเราสามารถสรุปเป็นสูตรของพาราโบลาได้ดังนี้