วิชาเคมี ม.4 หลักสูตรใหม่ของสสวท.(ฉบับปรับปรุงปี 2560) เป็นหนึ่งในวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมที่น้องๆสายวิทย์จะได้เรียนกัน สิ่งสำคัญของวิชาเคมี คือ เราจะได้ศึกษาถึงสมบัติและพฤติกรรมของสารต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ข้อสอบวิชาเคมีในชั้นม.4 นอกจากมีรายละเอียดที่ต้องจดจำเยอะและเนื้อหาที่ค่อนข้างอาศัยเวลาในการทำความเข้าใจ ยังมีการคำนวณเข้ามาค่อนข้างมาก แต่ทั้งหมดก็ไม่ยากเกินไปหากน้องๆมีความพยายามและความตั้งใจนะคะ
แนวข้อสอบเคมีม.4 เทอม 1 หลักสูตรใหม่
ข้อสอบวิชาเคมี ม.4 เทอม 1 คลอบคลุม 3 บทเรียนสำคัญ ได้แก่
- ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
- อะตอมและสมบัติของธาตุ
- พันธะเคมี
ทั้งสามบทเรียนนี้เป็นพื้นฐานของการเรียนวิชาเคมีในชั้นต่อๆไปด้วย แนวข้อสอบแต่ละบทเรียนจะออกแบบไหน เราจะดูไปพร้อมๆนั้นนะคะ
แนวข้อสอบเรื่อง “ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี”
ข้อสอบมักถามเกี่ยวกับความปลอดภัยและอุบัติเหตุในการทำงานกับสารเคมี คำถามจะเป็นการยกตัวอย่างการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆระหว่างปฏิบัติการ และถามเกี่ยวกับวิธีการวัดปริมาณสารและหน่วยการวัดที่จำเป็นต้องรู้ ความละเอียดของเครื่องมือวัด รวมไปถึงทักษะและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ด้วย บทนี้ไม่ยาก น้องๆเก็บคะแนนกันได้ง่ายๆเลย
ข้อที่ 1. การระเหยตัวทำละลายภายในตู้ควัน ช่วยป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการเกิดอันตรายแบบใดในห้องปฏิบัติการ
ตอบ การสูดดมไอของสารเคมี
ข้อที่ 2. จากรูปแสดงสัญลักษณ์ของสารเคมี 2 ชนิด เป็นดังนี้
( ใส่รูป 1 )
2.1 จงระบุสีพร้อมความหมายของ A, B, C และ D
ตอบ A เป็นสีนำ้เงิน บอกอันตรายต่อสุขภาพ
B เป็นสีแดง บอกถึงความไวไฟ
C เป็นสีขาว บอกข้อมูลพิเศษ
D เป็นสีเหลือง บอกปฏิกิริยา
2.2 สารใดเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะเหตุใด
ตอบ สาร ข. มีอันตรายต่อสุขภาพมากกว่า เนื่องจากมีระดับความรุนแรงของสีนำ้เงินที่เป็นตัวบอกถึงอันตรายต่อสุขภาพมากกว่า
2.3 สารใดสามารถเกิดปฏิกิริยาได้ว่องไวที่สุด เพราะเหตุใด
ตอบ สาร ก. เพราะสังเกตสีเหลืองที่บอกถึงการทำปฏิกิริยามีระดับที่มากกว่า
ข้อที่ 3. ปรอทปริมาตร 20.00 มิลลิลิตร จะมีมวลเท่าใด เมื่อปรอทมีความหนาแน่นเท่ากับ 1.36 กรัมต่อมิลลิลิตร
วิธีทำ จากสูตร
ความหนาแน่น (d) = มวล(m)ปริมาตร(V)
มวล = ความหนาแน่น x ปริมาตร
= 1.36 x 20.00
= 27.2
(เป็นการคูณจึงดูที่เลขนัยสำคัญ จากโจทย์เลขนัยสำคัญที่น้อยที่สุดคือ 3 ตำแหน่ง คำตอบจึงต้องเป็นสามตำแหน่งเช่นกัน)
ข้อที่ 4. จงบอกเลขนัยสำคัญที่ได้จากการวัดต่อไปนี้ 125.1 + 0.662 m
ตอบ ผลลัพธ์ในขั้นแรกคือ 125.762
แต่การบวก เลขนัยสำคัญต้องดูตัวที่มีจุดทศนิยมน้อยที่สุด ในที่นี้คือ 125.1 ดังนั้นปัดทศนิยมให้เหลือหนึ่งตำแหน่งแล้วจะได้คำตอบคือ 125.8
( ใส่รูป 2 )
แนวข้อสอบเรื่อง “อะตอมและสมบัติของธาตุ”
ข้อสอบมักถามเกี่ยวกับแบบจำลองของอะตอมแบบต่างๆ ส่วนประกอบของอะตอม อนุภาคในอะตอมและไอโซโทปของอะตอม การจัดเรียงอิเลคตรอนในระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อย เลขอะตอมและมวลอะตอมหมายถึงอะไร ในส่วนของตารางธาตุ สัญลักษณ์ของธาตุ ธาตุแต่ละคาบ แต่ละหมู่มีคุณสมบัติอย่างไร และแนวโน้มต่างๆในตารางธาตุเป็นอย่างไร
ข้อที่ 1. อะตอมประกอบด้วยโปรตอนและอิเล็กตรอนในจำนวนที่เท่าๆกัน คือ แบบจำลองอะตอมของใคร
ตอบ แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
ข้อที่ 2. ไอโซโทปของธาตุชนิดหนึ่งมีประจุในนิวเคลียสเป็น 3 เท่าของประจุในนิวเคลียสของไฮโดรเจนและมีเลขมวลเป็น 7 เท่าของเลขมวลไฮโดรเจน จงระบุจำนวนโปรตรอน นิวตรอนและอิเล็กตรอนของไอโซโทปของธาตุนี้
( ใส่รูป 3 )
วิธีคิด
- จากรูป ให้ธาตุชนิดนี้เป็น X
- ในนิวเคลียสมีโปรตรอนและนิวตรอน โปรตรอนมีประจุ แต่นิวตรอนไม่มีประจุ ดังนั้นที่โจทย์บอกว่ามีประจุเป็น 3 เท่าของนิวเคลียสของไฮโดรเจน (โปรตรอนของไฮโดรเจนเท่ากับ 1) แสดงว่าธาตุชนิดนี้มีจำนวนโปรตรอนเท่ากับ 3 ซึ่งนำไปเขียนเป็นเลขอะตอมได้เลย
- อิเล็กตรอนเป็นกลางทางไฟฟ้าจึงเท่ากับ 3 เช่นกัน
- จากโจทย์เลขมวลของไฮโดรเจนเท่ากับ 1 เพราะฉะนั้นเลขมวลของธาตุชนิดนี้จึงเท่ากับ 7
- นิวตรอน = เลขมวล – เลขอะตอม = 7 – 3 = 4
ตอบ จำนวนโปรตรอน = 3, จำนวนอิเล็กตรอน = 3, จำนวนนิวตรอน = 4
ข้อที่ 3. กำหนดเลขอะตอมของ Mg = 12, Cl = 17, Ni = 28 จงเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยของ Mg2+ Cl– Ni และ Ni+
วิธีคิด
วิธีการจัดเรียงอิเล็กตรอนของไอออน
- จัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุหลัก จัดเรียงเป็น 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d9
- ถ้าไอออนของธาตุนั้นมีประจุบวก คือ เสียอิเล็กตรอนไปเท่ากับจำนวนประจุ โดยอิเล็กตรอนที่เสียไปก็คือ อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานสูงสุด
- ถ้าไอออนของธาตุนั้นมีประจุลบ คือ รับอิเล็กมาเท่ากับจำนวนประจุ
ดังนั้นเราจะจัดเรียงอิเล็กตรอนของ Mg, Cl, Ni, และ Ni+
ได้ดังต่อไปนี้
( ใส่รูป 4 )
ข้อที่ 4. ธาตุฮีเลียมมี 2 อิเล็กตรอนและมีค่า IE1 เท่ากับ 2.379 MJ/ mol ธาตุโพแทสเซียมมี
19 อิเล็กตรอน และมีค่า IE1 เท่ากับ 0.425 MJ/mol เพราะเหตุใด IE1 ของธาตุฮีเลียม จึงมีค่าสูงกว่าโพแทสเซียม
วิธีคิด พิจารณาการจัดเรียงอิเล็กตรอนและขนาดอะตอมจากแบบจำลองอะตอมดังรูป ( ใส่รูป 5 )
He : อะตอมมีขนาดเล็กและมีระดับพลังงานเดียว อิเล็กตรอนจะหลุดออกยากกว่า เพราะประจุของอิเล็กตรอนและนิวเคลียสดึงดูดกันแรงกว่า จึงต้องใช้พลังงานในการกระตุ้นมากในการทำให้อิเล็กตรอนหลุดออก
K : มี 4 ระดับพลังงาน อิเล็กตรอนที่อยู่ระดับพลังงานนอกสุดจะหลุดออกก่อน ใช้ระดับพลังงานน้อยในการกระตุ้นให้หลุดออกมา เพราะอยู่ไกลจากนิวเคลียสนั่นเอง
แนวข้อสอบเรื่อง “พันธะเคมี”
ในบทนี้ ข้อสอบมักจะออกเรื่องพันธะเคมีทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ พันธะโควาเลนต์ พันธะไอออนิกและพันธะโลหะ รวมไปถึงแรงยึดเหนี่ยวระหว่างพันธะ จุดเดือด จุดหลอมเหลวและการนำไฟฟ้าของพันธะด้วย
ข้อที่ 1. จงวาดโครงสร้างของโมเลกุลต่อไปนี้ ตามกฎออกเตต NH3 และ CH2O
ตอบ ( ใส่รูป 6 )
( ใส่รูป 7 )
ข้อที่ 2. จงคำนวณหา △H ของปฏิกิริยาข้างล่างนี้ ( ใส่รูป 8 )
ข้อที่ 3. สมบัติทางกายภาพในข้อใดที่ใช้อธิบายสมบัติทางเคมีของอโลหะ
ตอบ พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก อิเล็กโทรเนกาติวิตี
ข้อที่ 4. ( ใส่รูป 9 )
จงเรียงลำดับความมีขั้วจากน้อยไปมากของสารทั้งสี่ชนิด
ตอบ A < B <D < C
สภาพขั้ว ต้องพิจารณาจากผลลัพธ์ของแรงลัพธ์ที่หาได้ ถ้ามีผลลัพธ์แสดงว่าโมเลกุลมีขั้ว ถ้าไม่มีแสดงว่าโมเลกุลไม่มีขั้ว
ข้อ A ค่าผลต่างของ EN ของพันธะ C-Br = 0.3 และ C-H=0.4
ดังนั้นผลลัพธ์ของแรงลัพธ์เท่ากับ 0.3 + 0.4 = 0.7
ข้อ B ค่าผลต่างของ EN ของพันธะ C-Cl = 0.5 และ C-H=0.4
ดังนั้นผลลัพธ์ของแรงลัพธ์เท่ากับ 0.5 + 0.4 = 0.9
ข้อ C ค่าผลต่างของ EN ของพันธะ C-F = 1.5 และ C-Cl = 0.5
ดังนั้นผลลัพธ์ของแรงลัพธ์เท่ากับ 1.5 + 0.5 = 2.0
ข้อ D ค่าผลต่างของ EN ของพันธะ C-F = 1.5 และ C-Br = 0.3
ดังนั้นผลลัพธ์ของแรงลัพธ์เท่ากับ 1.5 + 0.3 = 1.8
แนวข้อสอบเคมีม.4 เทอม 2 หลักสูตรใหม่
ข้อสอบวิชาเคมี ม.4 เทอม 2 ครอบคลุมอีก 3 บทเรียนสำคัญเช่นกัน ได้แก่
- โมลและสูตรเคมี
- สารละลาย
- ปริมาณสัมพันธ์
เนื้อหาที่น้องๆได้เจอในเทอม 2 จะเริ่มท้าทายมากขึ้น ข้อสอบจะง่ายหรือยากแค่ไหน
เราไปลุยกันต่อได้เลย
แนวข้อสอบเรื่อง “โมลและสูตรเคมี”
ในเรื่องโมลและสูตรเคมี การออกสอบจะเป็นพาร์ทการคำนวณเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่คำนวณมวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ มวลโมเลกุลและมวลสูตร คำนวณปริมาณใดปริมาณหนึ่งจากความสัมพันธ์ของโมล จำนวนอนุภาค มวลและปริมาตรของแก๊สที่ STP คำนวณอัตราส่วนโดยมวลของธาตุในสารประกอบตามกฎสัดส่วนคงที่ รวมถึงสูตรโมเลกุลต่างๆ เห็นคำนวณมากมายขนาดนี้ แต่ยังก็ไม่ยากเท่าไหร่ อย่าเพิ่งท้อนะคะ ลองทำไปด้วยกันเลย
พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้แล้วคำนวณหามวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ K ( ใส่รูป 10 )
แนวข้อสอบเรื่อง “สารละลาย”
ในบทนี้ก็ยังเน้นเรื่องการคำนวณอยู่ เป็นการคำนวณความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยต่างๆ น้องๆต้อง อธิบายวิธีการและเตรียมสารละลายที่มีความเข้มในหน่วยโมลาริตี และปริมาตรตามสารละลายที่กำหนดได้ และข้อสอบมักจะออกเรื่องการเปรียบเทียบจุดเดือดจุดเยือกแข็งของสารละลายและสารบริสุทธ์ และยังให้คำนวณจุดเดือดจุดเยือกแข็งของสารละลายด้วย ( ใส่รูป 11 )
แนวข้อสอบเรื่อง “ปริมาณสัมพันธ์”
ปริมาณสารสัมพันธ์ จะเป็นเนื้อหาที่ต่อยอดจากโมลและสูตรเคมีกับสารละลาย โดยเฉพาะเรื่องความเข้มข้น ข้อสอบจะเป็นเรื่องของสมการเคมีเป็นส่วนใหญ่ การดุลสมการ การคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี คำนวณผลได้ร้อยละของผลิตภัณฑ์ในปฏิกิริยาเคมี ดังนั้นน้องคนไหนยังไม่เข้าใจในบทที่ผ่านๆมา พี่แนะนำว่าควรกลับไปทบทวนให้แม่นยำเสียก่อนที่จะขึ้นเรื่องนี้ ไม่อย่างนั้นจะตามเพื่อนๆไม่ทันนะ
( ใส่รูป 12 )
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ข้อสอบเคมี ม.4 หลักสูตรใหม่มีเนื้อหาอะไรบ้าง
ข้อสอบวิชาเคมี ม.4 หลักสูตรใหม่ มีเนื้อหาครอบคลุม 6 บทเรียนหลัก ได้แก่
ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
อุบัติเหตุจากสารเคมี
การวัดปริมาณสาร
หน่วยวัด
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
อะตอมและสมบัติของธาตุ
แบบจำลองอะตอม
อนุภาคอะตอมและไอโซโทป
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก
ธาตุแทรนซิชัน
ธาตุกัมมันตะรังสี
การนำธาตุไปใช้ประโยชน์และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต
พันธะเคมี
สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต
พันธะไอออนิก
พันธะโคเวเลนต์
พันธะโลหะ
การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ
โมลและสูตรเคมี
มวลอะตอม
โมล
สูตรเคมี
สารละลาย
ความเข้มข้นของสารละลาย
การเตรียมสารละลาย
สมบัติบางประการของสารละลาย
ปริมาณสัมพันธ์
ปฏิกิริยาเคมี และสมการเคมี
การคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี
สารกำหนดปริมาณ และผลได้ร้อยละ
ข้อสอบวิชาสามัญปี 64 มีเนื้อหาเคมีม.4 อยู่ทั้งหมดกี่ข้อ
วิชาสามัญมีเนื้อหาเคมี ม.4 อยู่ทั้งหมด 15 ข้อ แยกตามบทเรียนดังต่อไปนี้
ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี 1 ข้อ
อะตอมและสมบัติของธาตุ 3 ข้อ
พันธะเคมี 4 ข้อ
โมลและสูตรเคมี 1 ข้อ
สารละลาย 3 ข้อ
ปริมาณสัมพันธ์ 3 ข้อ