สวัสดีค่ะน้องๆ ม.6 ที่กำลังเตรียมตัวสอบวิชา ฟิสิกส์ ม.6 อยู่ตอนนี้ น้องๆคนไหนที่ไม่มั่นใจหรืออยากจะเก็งข้อสอบวิชานี้ สามารถดูรายละเอียดคอร์ส แนวทาง ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 6 พร้อม เฉลย รู้ก่อน ทำได้ก่อน ของทาง Athome ได้เลยค่ะ ใครอยากทำคะแนนวิชาฟิสิกส์ ม.6 ให้ได้เยอะๆ สำหรับเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย บอกเลยว่าคอร์สนี้ตอบโจทย์แน่นอน เพราะมีเนื้อหาครบทั้ง คลื่นแม่เหล็ก,ความร้อน,การเคลื่อนที่,ฟิสิกส์นิวเคลียร์,ฟิสิกส์อนุภาค,ไฟฟ้ากระแสสลับ,ของแข็งและของไหล เรียกได้เลยว่าน้องๆสามารถจดจำเทคนิคต่างๆออกไปทำข้อสอบกันได้แบบเต็มที่แน่นอน มาดูตัวอย่างคอร์สกันเลยค่ะ ว่าน้องๆจะได้เรียนอะไรบ้างในคอร์สนี้
รวมข้อสอบฟิสิกส์ พร้อมเฉลย ที่ควรทราบก่อนไปพิชิตคะแนนสอบ
สำหรับคอร์สนี้ นอกจากจะมีแนวข้อสอบพร้อมเฉลยแล้ว คอร์สนี้ของทาง Athome ยังมีเนื้อหาทบทวนบทเรียนให้ด้วยค่ะ เพราะเวลาที่เห็นข้อสอบนั้น น้องๆจะได้ดึงความรู้ความเข้าใจออกมาใช้ทำข้อสอบได้ เรามาดูเนื้อหาบางส่วนกันเลยค่ะว่ามีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น
คลื่นแม่เหล็ก
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) ทำให้สนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนเปลี่ยง จนเกิดการเหนี่ยวนำทำให้เกิด สนามแม่เหล็ก โดยหาก สนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง ก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า ได้อีกเช่นกัน
โดยปกติแล้ว คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะเป็นคลื่นตามขวาง ที่ประกอบด้วย สนามไฟฟ้า และ สนามแม่เหล็ก ที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน โดยจะตั้งอยู่บน ระนาบที่ตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลาง ดังนั้นจึงเป็นคลื่นที่สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้
สเปกตรัม (Spectrum) ของ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอบด้วย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มี ความถี่ และ ความยาวคลื่นที่มีลักษณะแตกต่างกัน ครอบคลุมตั้งแต่ คลื่นแสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต อินฟราเรด คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น ดังนั้น เราจึงสามารถใช้ประโยชน์จาก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในการสื่อสารและโทรคมนาคม และ ทางการแพทย์ ได้นั่นเอง
ความร้อน
ความร้อน (Thermal) เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่เปลี่ยนมาจากพลังงานรูปอื่น เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานกล (พลังงานศักย์และพลังงานจลน์) พลังงานเคมี พลังงานนิวเคลียร์ หรืองาน เป็นต้น
พลังงานความร้อนมีหน่วยเป็นจูล (Joule, J ) ในระบบเอสไอ (SI) แต่บางครั้งอาจบอกเป็นหน่วยอื่นได้
เช่น แคลอรี (cal) และบีทียู (BTU)
พลังงานความร้อน 1 แคลอรี คือพลังงานความร้อนที่ทำให้น้ำมวล 1 กรัม
มีอุณหภูเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส (°C ) ในช่วง 14.5 °C ถึง 15.5 °C
พลังงานความร้อน 1 บีทียู คือ พลังงานความร้อนที่ทำให้น้ำที่มีมวล 1 ปอนด์
มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์ (°F) ในช่วง 58.1 °F ถึง 59.1 °F
จากการทดลองพบว่า
1 cal = 4.186 J 1 BTU = 252 cal = 1055 J |
โดยในส่วนของเนื้อหาเรื่อง ความร้อน นี้ทาง Athome จะทำการทบทวนให้ทั้ง เรื่อง อุณหภูมิ, ปริมาณความร้อนของวัตถุ (HEAT, Q), ความจุความร้อน ( Heat capacity, C ), การเปลี่ยนสถานะของสาร,
การขยายตัวของวัตถุเนื่องจากความร้อน, การถ่ายโอนความร้อน (Heat Transfer) และเรื่องอื่นๆที่อยู่ในหลักสูตรเรื่อง ความร้อน ให้ด้วยค่ะ
การเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่ ในฟิสิกส์ หมายถึง การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ถูกอธิบายด้วย การกระจัด ระยะทาง ความเร็ว ความเร่ง เวลา และอัตราเร็ว การเคลื่อนที่ของวัตถุจะถูกสังเกตได้โดยผู้สังเกตที่เป็นส่วนหนึ่งของกรอบอ้างอิง ทำการวัดการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุเทียบกับกรอบอ้างอิงนั้น
การเคลื่อนที่ ใช้ได้กับวัตถุ อนุภาค การแผ่รังสี อนุภาคของรังสี อวกาศ ความโค้ง และปริภูมิ-เวลาได้ อนึ่งยังสามารถพูดถึงการเคลื่อนที่ของรูปร่างและขอบเขต ดังนั้นการเคลื่อนที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในการกำหนดค่าของระบบทางกายภาพ ตัวอย่างเช่นเราสามารถพูดถึงการเคลื่อนที่ของคลื่นหรือการเคลื่อนที่ของอนุภาคควอนตัมซึ่งการกำหนดค่านี้ประกอบด้วยความน่าจะเป็นในการครอบครองตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง
ฟิสิกส์นิวเคลียร์
ฟิสิกส์นิวเคลียร์ หรือ ฟิสิกส์ของนิวเคลียส เป็นสาขาหนึ่งของวิชาฟิสิกส์ที่ศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของนิวเคลียสทั้งหลายของอะตอม การประยุกต์ใช้ ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ที่ทราบกันดีที่สุดคือ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์และเทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์ แต่การวิจัยได้ประยุกต์ในหลายสาขา เช่น เวชศาสตร์นิวเคลียร์และการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก การปลูกฝังไอออนในวิศวกรรมศาสตร์วัสดุ และการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีในวิชาภูมิศาสตร์และโบราณคดี
นิวเคลียสเป็นสิ่งที่ยังไม่เป็นที่เข้าใจทางทฤษฏี เพราะมันประกอบไปด้วยอนุภาคจำนวนมาก
(เช่น โปรตอน และนิวตรอน) แต่ไม่มีขนาดใหญ่พอที่จะอธิบายลักษณะได้ถูกต้องเหมือนอย่างผลึก
จึงมีการใช้แบบจำลองของนิวเคลียสซึ่งใช้ศึกษาพฤติกรรมทางนิวเคลียร์ส่วนใหญ่ได้ โดยอาจใช้เป็นวิธีการเดียวหรือร่วมกับวิธีการอื่น ๆ
ฟิสิกส์อนุภาค
ฟิสิกส์ของอนุภาค (particle physics) เป็นสาขาหนึ่งของฟิสิกส์ที่ศึกษาธรรมชาติของอนุภาคทั้งหลายที่รวมตัวกันขึ้นเป็นสสาร (อนุภาคที่มีมวล) และ การฉายรังสี (อนุภาคที่ไม่มีมวล)
แม้ว่าคำว่า “อนุภาค” สามารถหมายถึงวัตถุที่มีขนาดเล็กมากหลากหลายชนิด (เช่นโปรตอน อนุภาคก๊าซ หรือแม้กระทั่งฝุ่นในครัวเรือน), “ฟิสิกส์ของอนุภาค” มักจะสำรวจตรวจหาอนุภาคที่มีขนาดเล็กที่สุด สามารถตรวจพบได้ ไม่สามารถลดขนาดลงได้อีก และมีสนามฟิสิกส์ที่มีแรงขนาดพื้นฐานที่ลดขนาดลงไม่ได้ที่จำเป็นต้องใช้ในการที่จะอธิบายตัวมันเองได้ ตามความเข้าใจของเราในปัจจุบัน อนุภาคมูลฐานเหล่านี้เป็นการกระตุ้นของสนามควอนตัมที่ควบคุมการปฏิสัมพันธ์ของพวกมันอีกด้วย
ทฤษฎีที่โดดเด่นในปัจจุบันที่ใช้อธิบายอนุภาคมูลฐานและสนามเหล่านี้ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง
(ไดนามิกส์) ของพวกมัน จะถูกเรียกว่าแบบจำลองมาตรฐาน ดังนั้นฟิสิกส์ของอนุภาคที่ทันสมัยโดยทั่วไปจะสำรวจแบบจำลองมาตรฐานและส่วนขยายที่เป็นไปได้ต่าง ๆ ของพวกมัน เช่น ส่วนขยายไปที่อนุภาคใหม่ล่าสุด “เท่าที่รู้จักกัน” ที่เรียกว่า Higgs boson หรือแม้กระทั่งไปที่สนามของแรงที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกัน คือแรงโน้มถ่วง
ไฟฟ้ากระแสสลับ
ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) คือ ไฟฟ้ากระแสที่มีทิศทางการเคลื่อนที่สลับกัน โดยกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในขดลวดตัวนำของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดคือ ไฟฟ้ากระแสสลับ เฟสเดียว สองเฟส และสามเฟส
เครื่องกำเนิดกระแสสลับ (alterating current generator หรือ alternato) คือ เครื่องมือที่ก่อกำเกิดไฟฟ้ากระแสสลับ ประกอบด้วยขดลวดหมุนอยู่ในสนามแม่เหล็ก ปลายทั้งสองของขดลวดนี้ต่อกับวงแหวนปลายละอัน วงแหวนแต่ละอันมีแปรงแตะและมีสายไฟฟ้าต่อจากแปรงเพื่อนำเอาไฟฟ้าไปใช้
ส่วนประกอบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้น ประกอบด้วยส่วนนอกซึ่งอยู่กับที่เรียกว่า ตัวนิ่ง (stator)
มีขั้วแม่เหล็กไฟฟ้าติดอยู่กับตัวนิ่งนี้ ขั้วแม่เหล็กนี้อาจติดไว้ 1 คู่ คือ ขั้ว N ขั้วหนึ่งและขั้ว S อีกขั้วหนึ่ง หรือ 2 คู่หรือ 3 ก็ได้ ขั้วแม่เหล็กเหล่านี้จะเรียงสลับกันไป ส่วนขดลวดนั้นพันอยู่รอบๆตัวหมุน (rotor) ซึ่งหมุนอยู่ตรงกลาง
ไฟฟ้า 1 รอบนั้นเกิดจากการที่ขดลวดเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กของขั้วแม่เหล็ก N และ S หนึ่งคู่ เมื่อลวดเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กของขั้ว N1S1 จะได้ไฟฟ้าออกมา 1 รอบ และเมื่อผ่านสนามแม่เหล็กของคู่ N2S2 จะได้ไฟฟ้าออกมาอีก 1 รอบ
ดังนั้น ถ้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีขั้วแม่เหล็ก NS เพียงคู่เดียว เมื่อขดลวดหรือตัวหมุนไป 1รอบ จะได้ไฟฟ้าออกมา 1 รอบ และถ้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีขั้วแม่เหล็กสองคู่ เมื่อขดลวดหรือตัวหมุนไปครบ1 รอบ
จะได้ไฟฟ้าออกมา 2 รอบ
ของแข็งและของไหล
ของแข็งและของไหล คือ สสารและสิ่งของต่างๆ ในสภาพปกติทั่วไปจะมี 3 สถานะ ได้แก่ ของแข็ง ของเหลวและแก๊ส ซึ่งของเหลวหรือแก๊สสามารถเรียกว่า ของไหล ได้ เนื่องจากของเหลวและแก๊สสามารถไหลได้นั่นเอง โดยเนื้อหาของ ของแข็งและของไหล จะประกอบไปด้วย สภาพยืดหยุ่นของของแข็ง, ความเค้นและความเครียดของของแข็ง,มอดูลสของยัง,ความตึงผิวของของเหลว,ความหนืดของของเหลว,กฎของสโตกส์,ของไหลสถิต,กฎของปาสคาล,หลักของอาร์คีมีดิส
อย่างไรก็ตามนี่เป็นตัวอย่างเนื่อหาสรุปบางส้วนที่เรานำมายกตัวอย่างให้น้องๆได้เลือกดูแบบคร่าวๆว่า ข้อสอบ ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 6 พร้อม เฉลย นั้นมีเรื่องอะไรบ้างที่มักจะออกข้อสอบอยู่เป็นประจำ ซึ่งภายในคอร์สจะมีเนื้อหาครอบคลุมตลอดหลักสูตรววิชา ฟิสิกส์ ให้น้องๆแบบครบถ้วนครบทุกเรื่องแน่นอนค่ะ และถ้่าหากน้องๆต้องการเรียนเนื้อหาอื่นๆเพิ่มเติมอย่างเช่น xxx,xxxx, สามารถเลือกดูคอร์สเพิ่มเติมแล้วเรียนควบคู่กันไปได้เลย
ตัวอย่าง รวมข้อสอบฟิสิกส์ ม 6 พร้อมเฉลย
ตัวอย่างข้อสอบ คลื่นแม่เหล็ก พร้อมเฉลย