สมดุลเคมี เป็นเนื้อหาเคมีม.ปลายที่ออกค่อนข้างเยอะมาก ๆ สำหรับข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย น้อง ๆ ATHOME คนไหนที่อยากได้คะแนนเคมีดี ๆ ควรจะทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้เข้าใจนะคะ เพราะมีการบูรณาการกับหลาย ๆ บทมาก น้อง ๆ คนไหนถ้ายังไม่เข้าใจบทนี้ลองมาอ่านสรุปย่อจากพี่ ๆ ได้เลยนะคะ
สมดุลเคมี สรุปความหมาย
สมดุลเคมี คือ สภาวะที่ความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงอีกแม้เวลาผ่านไป เราจะเรียกว่าปฏิกิริยาเคมีนั้นอยู่ในสมดุล
ประเภทของการเกิดปฏิกิริยาเคมี
- ปฏิกิริยาผันกลับไม่ได้ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นปฏิกิริยาที่เกิดสมบูรณ์ เมื่อสารตั้งต้นเข้าทำปฏิกิริยากันจนหมด จะเกิดผลิตภัณฑ์อย่างสมบูรณ์ และผลิตภัณฑ์ไม่สามารถกลับมาเป็นสารตั้งต้นได้
( ใส่รูป 1 )
- ปฏิกิริยาผันกลับได้ คือ ปฏิกิริยาที่เกิดไม่สมบูรณ์ เมื่อเกิดผลิตภัณฑ์แล้วผลิตภัณฑ์สามารถทำปฏิกิริยาย้อนกลับไปเป็นสารตั้งต้นได้ใหม่ ปฏิกิริยาประเภทนี้สามารถเกิดสมดุลเคมีได้
( ใส่รูป 2 )
ภาวะสมดุลไดนามิก
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของระบบที่อัตราการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า
เท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับ
- สมดุลไดนามิก : ภาวะสมดุลที่ระบบไม่ได้หยุดนิ่ง แต่อัตราการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าและย้อนกลับเท่ากัน
- ลักษณะสมดุลไดนามิก
1. มองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงด้วยตาเปล่า
2.เมื่อเกิดสมดุล สมบัติทางกายภาพของระบบคงที่ เช่น สี กลิ่น รส
3. ในระดับโมเลกุลยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ แต่สายตามองไม่เห็น
4.สมดุลเคมีเป็นสมดุลไดนามิก
5.เกิดในระบบปิดเท่านั้น
ประเภทของสมดุลแบ่งตามเนื้อสา
- สมดุลเคมีเนื้อเดียว :
เมื่อเข้าสู่ภาวะสมดุล สารทุกสารอยู่ในสถานะเดียวกันหมด ไม่มีการเปลี่ยนสถานะ - สมดุลเคมีเนื้อผสม :
เมื่อเข้าสู่ภาวะสมดุล สารทุกสารมีมากกว่า 2 สถานะในระบบ
เงื่อนไขการเกิดสมดุลในปฏิกิริยาเคมี
- สมบัติกายภาพของระบบคงที่ เช่น รูปร่าง สี กลิ่น รส ความเข้มข้น
- ปฏิกิริยาเคมีต้องเป็นปฏิกิริยาผันกลับได้
- อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีไปข้างหน้าเท่ากับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีย้อนกลับ
- ระบบต้องมีสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์เหลืออยู่ในระบบ และต้องปริมาณคงที่
กราฟแสดงการเข้าสู่ภาวะสมดุล
( ใส่รูป 3 )
ตัวเร่งปฏิกิริยา
หมายถึง สารที่ใส่ลงในปฏิกิริยาแล้วทำให้อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น โดยตัวเร่งปฏิกิริยาจะมีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดปฏิกิริยาหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาเคมีแล้ว จะต้องได้ตัวเร่งปฏิกิริยากลับมา ในปริมาณที่เท่าเดิมและมีสมบัติเหมือนเดิม
- การทำงานของตัวเร่งปฏิกิริยา
- ลดพลังงานก่อกัมมันต์ Ea ของปฏิกิริยา
- ทำให้สารตั้งต้นชนกันถูกทิศทางมากขึ้น
- เมื่อใส่ตัวเร่งปฏิกิริยาลงไปในปฏิกิริยาผันกลับไม่ได้
- อัตราเร็วของปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้น
- บางปฏิกิริยาต้องอสาศัยตัวเร่งจึงจะเกิดขึ้นได้ เช่น ปฏิกิริยาการย่อยสารอาหารในร่างกายต้องอาศัยเอนไซม์จึงย่อยได้
- เมื่อใส่ตัวเร่งปฏิกิริยาลงไปในปฏิกิริยาผันกลับได้
- กรณีใส่ลงไปในระบบที่ยังไม่เกิดสมดุล : ตัวเร่งจะช่วยให้ระบบเข้าสู่สมดุลเร็วขึ้น
- กรณีใส่ลงไปในระบบที่เกิดสมดุลแล้ว : ตัวเร่งจะไม่มีผลใด ๆ กับสมดุล
สรุป : ตัวเร่งปฏิกิริยา มีผลต่อระยะเวลาเข้าสู่สมดุล แต่ไม่มีผลต่อสภาวะสมดุล |
การรบกวนสมดุล
กฎของเลอซาเตอลิเอกล่าวว่า : เมื่อระบบถูกรบกวนสมดุล ระบบจะพยายามต้านทานการเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้าม และเข้าสู่ภาวะสมดุลใหม่ โดยที่ภาวะสมดุลใหม่จะไม่เหมือนภาวะสมดุลเดิม |
ตารางสรุปเกี่ยวกับการรบกวนสมดุล
( ใส่รูป 4 )
ค่าคงที่สมดุล
หมายถึง สัดส่วนระหว่างผลคูณความเข้มข้นสารผลิตภัณฑ์ทุกตัว เทียบกับผลคูณความเข้มข้นสารตั้งต้นทุกตัว ค่าคงที่สมดุลสามารถหาได้หลายแบบ แล้วแต่ว่าโจทย์ต้องการให้หาแบบไหน แต่ละแบบหาได้ดังนี้
- ค่าคงที่สมดุลความเข้มข้น ( ใส่รูป 5 )
- อุณหภูมิคงที่ค่าหนึ่ง
( ใส่รูป 6 )
- ค่า kc บอกปฏิกิริยานั้นดำเนินไปข้างหน้ามากหรือน้อย ถ้า kc สูง ปฏิกิริยาดำเนินไปข้างหน้าได้มาก
- ค่า kc ไม่ได้บอกอัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยา
- สารที่เป็นของแข็งและของเหลวไม่นำมาคิดในสมการ kc
- ค่าคงที่สมดุลการละลาย
- ค่าคงที่สมดุลของระบบที่เป็นก๊าซ kP : โดยปกติค่าคงที่สมดุลหาได้จากความเข้มข้น แต่ระบบที่เป็นก๊าซสามารถหาได้โดยอ้อม จากการอาศัยกฎของก๊าซอุดมคติ
- ค่าคงที่สมดุลกับทิศทางของปฏิกิริยา : ค่าคงที่สมดุลบอกทิศทางของปฏิกิริยาคร่าว ๆ ได้ ดังนี้
- ถ้าค่า k มาก แสดงว่าปฏิกิริยาดำเนินไปข้างหน้าได้มาก ก่อนจะเข้าสู่สมดุล และที่สมดุลจะมีผลิตภัณฑ์มาก
- ถ้าค่า k น้อย แสดงว่าปฏิกิริยาดำเนินไปข้างหน้าได้น้อย ก่อนจะเข้าสู่สมดุล และที่สมดุลจะมีสารตั้งต้นมาก
- ค่า k ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยน จะมีการรบกวนสมดุล ทำให้ค่า k เปลี่ยนไปด้วย
- ถ้าค่า k มีค่า 10-5 – 105 ยังระบุไม่ได้ว่าที่สมดุล มีสารตั้งต้นหรือผลิตภัณฑ์เหลือในระบบมากกว่ากัน
ความสัมพันธ์ของค่าคงที่สมดุล
- การนำสมการเคมีสองสมการมารวมกัน
สมการบวกกัน ค่า k คูณกัน
- การนำสมการเคมีสองสมการมาลบกัน
สมการลบกัน ค่า k หารกัน
- การนำสมการเคมีกลับข้างสมการ
กลับสมการ ค่า k กลับเศษส่วน
- ถ้าเอาเลขใดมาคูณเข้าไปในสมการ ค่า k ต้องยกกำลังเลขนั้นด้วย
คูณเลขสมการ ค่า k ยกกำลัง
สมดุลเคมี ตัวอย่างข้อสอบ
- ปฏิกิริยา NaHCO3 (s) Na2CO3 (s) + CO (g) + H2O(g) ที่ 100 องศาเซลเซียสค่าคงที่สมดุลเท่ากับ 0.04 ถ้าเผา NaHCO3 หนัก 50 กรัม ในภาชนะ 1 ลิตร ที่สภาวะสมดุล NaHCO3 สลายตัวไปร้อยละเท่าไรโดยน้ำหนัก
- ภาชนะใบหนึ่งมีขนาด 5.0 ลิตร บรรจุแก๊สชนิดหนึ่ง 3.25 กรัม ที่ความดัน 1.0 บรรยากาศ อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส มวลต่อโมลของแก๊สชนิดนี้เป็นเท่าใด
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
สมดุลเคมีคืออะไร
สภาวะที่ความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงอีกแม้เวลาผ่านไป เราจะเรียกว่าปฏิกิริยาเคมีนั้นอยู่ในสมดุล
สมดุลเคมีคืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร
สภาวะที่การดำเนินไปของปฏิกิริยาไปข้างหลังและย้อนกลับเท่ากัน เกิดขึ้นโดยจะอยู่ในสภาวะแบบคงที่ และเป็นปฏิกิริยาเคมีแบบผันกลับได้
เป็นอย่างไรกันบ้างคะน้อง ๆ สำหรับสรุปย่อเรื่องสมดุลเคมี ม.ปลาย เป็นบทเรียนที่น่าสนใจมาก ๆ ใช่ไหมคะ ถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากเรียนให้เข้าใจมากขึ้น พี่ ๆ ATHOME ขอแนะนำให้หมั่นทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ และฝึกโจทย์เป็นประจำนะคะ เพื่อที่จะได้จดจำเนื้อหาได้มากขึ้นนะคะ