เริ่มปีแรกของการเป็นพี่ม.ปลาย หลายคนมีความกังวลกับการเรียนและการเตรียมตัวสอบในหลายๆวิชา เพราะเนื้อหาวิชาที่มีความท้าทายและไม่คุ้นเคย น้องๆจะต้องบริหารเวลาในการทำความเข้าใจและทบทวนให้ดี สำหรับวิชาเคมีในชั้น ม.4 ก็เป็นอีกหนึ่งวิชาสำคัญ ที่มีรายละเอียดและศัพท์ทางเทคนิคใหม่ค่อนข้างเยอะ พ่วงด้วยการคำนวณที่มีอยู่แทบทุกบทเรียน โจทย์เคมี ม.4 ที่ออกสอบส่วนใหญ่ จึงมักพลิกแพลง ซับซ้อน และมักเป็นการตั้งคำถามเพื่อให้ทราบถึงวิธีคิดของผู้เรียนมากกว่าหาคำตอบตรงๆ โจทย์เคมี ม.4 จะเป็นอย่างไร ไปฝึกทำกันพร้อมกันได้เลย
เคมี ม.4 เทอม 1 หลักสูตรใหม่ สสวท
วิชาเคมี ม.4 เทอม 1 ตามหลักสูตรใหม่ล่าสุดของสสวท. (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) น้องๆ จะได้เรียนสามบทเรียนพื้นฐานที่นำไปต่อ ยอดในการเรียนชั้นต่อๆไป ได้แก่
- ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
- อะตอมและสมบัติของธาตุ
- พันธะเคมี
เรื่องความปลอดภัยและทักษะในการปฏิบัติการเคมีนั้น แม้ว่าจะมีสัดส่วนในการออกสอบน้อยกว่าบทอื่นๆ แต่นับเป็นความรู้สำคัญในการคำนวณทางเคมีและทักษะปฏิบัติการต่างๆ ในวิชาเคมี สำหรับอะตอมและสมบัติของธาตุ และพันธะเคมีนั้นถือเป็นความรู้เบื้องต้นในการศึกษาสมบัติของสารซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของวิชาเคมีเลยทีเดียว โจทย์เคมีม.4 เทอม 1 จะง่ายหรือยากแค่ไหน พี่ๆ At Home ยกตัวอย่างพร้อมเฉลยมาแล้ว ตามไปเช็คความรู้ตัวเองกันได้เลย
ตัวอย่างโจทย์เคมี ม.4 เทอม 1
ข้อที่ 1. ไอโซโทปของธาตุชนิดหนึ่งมีประจุในนิวเคลียสเป็น 3 เท่าของประจุในนิวเคลียสของไฮโดรเจนและมีเลขมวลเป็น 7 เท่าของเลขมวลไฮโดรเจน ระบุจำนวนโปรตรอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนของไอโซโทปของธาตุนี้
วิธีคิด ให้ x คือ ธาตุชนิดนี้
ประจุในนิวเคลียส คือ โปรตรอน
ไฮโดรเจน มีโปรตรอน = 1
ดังนั้น โปรตรอนของธาตุ x = 3
เลขมวลของไฮโดรเจน = 1
ดังนั้น เลขมวลของธาตุ x = 7
เพราะฉะนั้น
ตอบ จำนวนโปรตรอน = เลขอะตอม = 3
อิเล็กตรอนเป็นกลางทางไฟฟ้า = 3
นิวตรอน = เลขมวล – เลขอะตอม = 4
ข้อที่ 2. ธาตุ X และ Y มีเลขอะตอม 37 และ 38 ตามลำดับ จงเปรียบเทียบสมบัติต่อไปนี้ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
ขนาดอะตอม
วิธีคิด ธาตุหมู่ 8 มีเลขอะตอม 36 ดังนั้น X มีเลขอะตอม 37 อยู่หมู่ 1 และ Y มีเลขอะตอม 38 คือหมู่ 2
สำหรับขนาดอะตอม ถ้าอยู่หมู่เดียวกันจะเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง ถ้าอยู่คาบเดียวกันจะลดลงจากซ้ายไปขวา
ดังนั้น ขนาดอะตอมของ X หมู่ 1 ใหญ่กว่าขนาดอะตอมของ Y ที่อยู่หมู่ที่ 2
พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1
ยิ่งขนาดอะตอมเล็ก ยิ่งหลุดออกยาก ค่าพลังงานไอออไนเซชันก็ยิ่งสูง ดังนั้น ค่า IE ของ Y จะมากกว่า X นั่นเอง
ข้อที่ 3. ธาตุฮีเลียมมี 2 อิเล็กตรอน และมีค่า IE1 เท่ากับ 2.379 MJ/mol ธาตุโพแทสเซียมมี 19 อิเล็กตรอน และมีค่า IE1 เท่ากับ 0.425 MJ/mol เพราะเหตุใด IE1 ของธาตุฮีเลียมจึงมีค่าสูงกว่าโพแทสเซียม
วิธีคิด จากโจทย์ จัดเรียงอิเล็กตรอนของ ฮีเลียมและโพแทสเซียมเป็นดังนี้
( ใส่รูป 1 )
จะเห็นว่าอะตอมของฮีเลียมมีขนาดเล็กและมีระดับพลังงานเดียว ส่วนโพแทสเซียมมี 4 ระดับพลังงาน วาเลนซ์อิเล็กตรอนของ He จึงหลุดออกยากกว่า เพราะนิวเคลียสและอิเล็กตรอนอยู่ใกล้กัน ทำให้ต้องใช้พลังงานในการกระตุ้นเพื่อให้หลุดออกมากกว่านั่นเอง
ข้อที่ 4. ไอโซโทปกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งจำนวน 20 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง ไอโซโทปนั้นเหลืออยู่ 1.25 กรัม ครึ่งชีวิตของไอโซโทปนี้มีค่าเท่าใด
วิธีทำ จากโจทย์กำหนดให้ สารกัมมันตรังสีใช้เวลา x นาทีในการสลายตัวของสารเหลือครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่เดิม เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมงหรือ 120 นาที สารกัมมันตรังสีชนิดนี้เหลือ 1.25 กรัม
( ใส่รูป 2 )
ดังนั้นจะได้ว่า 4x = 120
x = 30 นาที
ตอบ ครึ่งชีวิตของไอโซโทปนี้เท่ากับ 30 นาที
ข้อที่ 5. A และ B เป็นไอโซโทปซึ่งกันและกัน ถ้า A มีนิวตรอน = a, B มีจำนวนนิวตรอน = b
และมีเลขมวล = c ธาตุ A จะมีเลขมวลเท่าใด
วิธีทำ จากโจทย์
A และ B เป็นไอโซโทปกันเพราะฉะนั้นโปรตรอนหรือเลขอะตอมต้องเท่ากัน
A มีนิวตรอน = a
B มีนิวตรอน = b
B มีเลขมวล = c
เลขอะตอมของ B = เลขมวล – นิวตรอน = c – b
เลขมวล = โปรตรอน + นิวตรอน = c – b + a
เพราะฉะนั้นจะเขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ว่า
( ใส่รูป 3 )
ข้อที่ 6. จงคำนวณหาพลังงานของปฏิกิริยา (△H) ของปฏิกิริยา 2H2 + O2 → 2H2O กำหนดพลังงานพันธะ หน่วยเป็น kJ/mol ดังนี้ H-H (436 kJ/mol), O=O (499 kJ/mol) และ O-H (463 kJ/mol)
วิธีทำ
( ใส่รูป 4 )
เคมีม.4 เทอม 2 หลักสูตรใหม่ สสวท
จากที่เราได้ปูพื้นฐานทางเคมีมาในเทอมแรก วิชาเคมี ม.4 เทอม 2 นั้นถือว่ายกระดับความยากขึ้นมาอีก
สเต็ป น้องๆจะได้เรียนรู้อีกสามบทเรียนหลัก ได้แก่
- โมลและสูตรเคมี
- สารละลาย
- ปริมาณสัมพันธ์
ทั้งสามบทนี้มีการคำนวณค่อนข้างเยอะ โจทย์ที่ออกสอบมักไม่ใช่แค่การแทนค่าแล้วหาคำตอบเลย แต่น้องๆ ต้องอ่านโจทย์แล้วตีความหมายให้ออกว่าส่ิงที่โจทย์บอกคืออะไรและและโจทย์ต้องการอะไร ถ้าอยากรู้ว่าโจทย์เคมี ม.4 เทอม 2 เป็นอย่างไร เลื่อนลงไปดูตัวอย่างกันได้เลย
ตัวอย่างโจทย์เคมี ม.4 เทอม 2
ข้อที่ 1. ถ้าเติมกรด H2SO4 เข้มข้นที่ข้างขวดระบุว่ามีกรดอยู่ร้อยละ 96 โดยมวล ความหนาแน่น 1.84 g/cm3 จำนวน 5 cm3 ลงในน้ำแล้วปรับปริมาตรเป็น 500 cm3 จะได้กรด H2SO4 ที่มีความเข้มข้นกี่โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร
วิธีทำ ( ใส่รูป 5 )
ข้อที่ 2.สารละลาย A มีระบุข้อมูลข้างขวดดังนี้
ความเข้มข้น = ร้อยละ 50 โดยมวล
ความหนาแน่น = 2.0 g/cm3
มวลโมเลกุล A = 200
หากต้องการเจือจางสารละลาย A ให้มีความเข้มข้น 0.50 mol/dm3 ปริมาตร 500 CM3 ต้องใช้สารละลาย A กี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
วิธีทำ ( ใส่รูป 6 )
ข้อที่ 3. ถ้าต้องการเตรียมสารละลาย Hg(NO3)2 1,000 cm3 มีโลหะ Hg อยู่เป็นปริมาณ 2% มวลต่อปริมาตร จะต้องใช้ Hg(NO3)2 กี่กรัมละลายในน้ำ 1,000 cm3
วิธีทำ ( ใส่รูป 7 )
ข้อที่ 4. จงคำนวณหามวล CCl4 ซึ่งได้จากปฏิกิริยาของ C 10 g และ Cl2 100 g
วิธีทำ ( ใส่รูป 8 )
ข้อที่ 5. สาร A และ B เป็นสารไม่ระเหยและไม่แตกตัว มวลโมเลกุลเท่ากับ 100 และ 50 ตามลำดับ
ตัวทำละลาย X จุดเดือด = 62 องศาเซลเซียส, Kb= 2.5 g/mol
ตัวทำละลาย Y จุดเดือด = 60 องศาเซลเซียส, Kb= 1.0 g/mol
เมื่อนำ A หนัก 2 g ละลายในตัวทำละลาย X หนัก 100 g จะได้สารละลายที่มีจุดเดือดเท่ากับสารละลายที่มี B หนักกี่กรัม
วิธีทำ ( ใส่รูป 9 )
ข้อที่ 6. ถ้าสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตมีความเข้มข้น 2.63 % โดยมวล และความถ่วงจำเพาะ 1.2 จะต้องนำสารละลายนี้มากี่ลูกบาศก์เซนติเมตร เพื่อเตรียมสารละลายโพแทสเซียมให้มีความเข้มข้น 0.01 mol/dm3 200 cm3
วิธีทำ ( ใส่รูป 10 )
ข้อที่ 7. แก๊สไนโตรเจนทำปฏิกิริยากับ Mg ซึ่งเผาจนร้อน เกิด Mg3N2 โดย Mg3N2 ทำปฏิกิริยากับน้ำต่อได้ Mg3(OH)2 และแก๊สแอมโมเนีย จงคำนวณมวล Mg ที่ต้องใช้ในการเตรียม 15.0 กรัม ของแอมโมเนีย
กำหนดสมการ ( ใส่รูป 11 )
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
วิชาเคมีชั้น ม.4 สอบอะไรบ้าง
เนื้อหาของวิชาเคมี ชั้นม.4 จะเป็นพื้นฐานของวิชาเคมีที่เราจะได้เรียนกันในปีต่อๆไป ข้อสอบจึงไม่ยากมาก มีการคำนวณแต่ก็ไม่ซับซ้อน เน้นวัดความรู้พื้นฐาน ข้อสอบส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็น สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, Onet หรือ Pat 2 จะครอบคลุมทั้ง 6 บทเรียนหลัก ได้แก่
ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
อะตอมและสมบัติของธาตุ
พันธะเคมี
โมลและสูตรเคมี
สารละลาย
ปริมาณสัมพันธ์
แต่สัดส่วนของแต่ละบท อาจจะไม่เท่ากัน พันธะเคมี สารละลาย ปริมาณสัมพันธ์ อะตอมและสมบัติของธาตุในบางปีมีสัดส่วนเยอะกว่าบทอื่นๆ
เพราะฉะนั้นควรเน้นที่บทเรียนเหล่านี้ให้มาก
เคมี ม.4 เทอม 1 หลักสูตรใหม่ของสสวท.เรียนอะไรบ้าง
วิชาเคมีในชั้น ม.4 เทอม 1 ตามหลักสูตรใหม่ของสสวท. (ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2560) นั้น เราจะได้เรียนทั้งหมด 3 บทเรียน ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดอยู่ในหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี เล่ม 1 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
บทที่ 1 ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี และอุบัติเหตุจากสารเคมี
การวัดปริมาณสาร
หน่วยวัด
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
บทที่ 2 อะตอมและสมบัติของธาตุ
แบบจำลองอะตอม
อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก
ธาตุแทรนซิชัน
ธาตุกัมมันตรังสี
การนำธาตุไปใช้ประโชน์และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต
บทที่ 3 พันธะเคมี
สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเดต
พันธะไอออนิก
พันธะโคเวเลนต์
พันธะโลหะ
การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ
เคมี ม.4 เทอม 2 หลักสูตรใหม่ของสสวท.เรียนอะไรบ้าง
วิชาเคมีในชั้น ม.4 เทอม 2 ตามหลักสูตรใหม่ของสสวท. (ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2560) นั้น เราจะได้เรียนอีก 3 บทเรียนต่อเนื่องจากเทอมแรก ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดอยู่ในหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี เล่ม 2 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
บทที่ 4 โมลและสูตรเคมี
มวลอะตอม
โมล
สูตรเคมี
บทที่ 5 สารละลาย
ความเข้มข้นของสารละลาย
การเตรียมสารละลาย
สมบัติบางประการของสารละลาย
บทที่ 6 ปริมาณสัมพันธ์
ปฏิกิริยาเคมี และสมการเคมี
การคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี
สารกำหนดปริมาณ และผลได้ร้อยละ