วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาสำคัญวิชาหนึ่ง เนื่องจากในชีวิตของเราล้วนเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆการจะได้มาซึ่งความรู้ใหม่ๆ ต้องอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะรู้ เข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนสามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรมต่อไปซึ่งในระบบการศึกษาของไทย ได้มีการส่งเสริมให้เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัย และให้มีการบูรณาการไปสู่กระบวนการเรียนการสอนในวิชาอื่นๆด้วย
เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.1
1. สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
นักเรียนจะต้องเข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน สามารถดูแลตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้
2. สารและสมบัติของสาร เข้าใจสมบัติของสาร
นักเรียนจะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย
การเกิดปฏิกิริยา
3. แรงและการเคลื่อนที่
นักเรียนจะต้องเข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์
4. พลังงาน
นักเรียนจะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
5. กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
นักเรียนจะต้องเข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก
6. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นักเรียนจะต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ในวิชาวิทยาศาสตร์ ม.1 นี้ จะมีเนื้อหาที่ลงลึกและซับซ้อน ละเอียด หลากหลายมากกว่าในระดับประถมศึกษา จะเริ่มมีคำศัพท์แปลกใหม่ที่ได้ยินไม่บ่อยนัก รวมไปจะมีถึงการทดลองใหม่ๆ ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อเรียนรู้และหาคำตอบด้วยตนเองมากขึ้น
เนื้อหา วิทยาศาสตร์ ม.1 เทอม 1
เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม. 1 เทอม 1 ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร สารรอบตัว พลังงานความร้อน สารละลาย และสารละลายกรดและเบส ซึ่งแต่ละหน่วยมีเนื้อหาดังนี้
หน่วยที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ได้แก่
– วิทยาศาสตร์คืออะไร
– กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
– ลักษณะของนักวิทยาศาสตร์
– เครื่องมือและอุปกรณ์ของนักวิทยาศาสตร์
หน่วยที่ 2 สารรอบตัว ได้แก่
– สารและสสาร
– สถานะของสารและสสาร
– การจำแนกสาร
หน่วยที่ 3 พลังงาน ได้แก่
– ความร้อน
– การถ่ายโอนความร้อน
– ความร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสาร
หน่วยที่ 4 สารละลาย ได้แก่
– การละลายของสารในตัวทำละลาย
– ความเข้มข้นของสารละลาย
– การแพร่
– ปัจจัยที่ส่งผลต่อการละลาย
หน่วยที่ 5 สารละลายกรดและเบส ได้แก่
– สมบัติของสารละลายกรดและเบส
– สมบัติของกรดและเบส
– อินดิเคเตอร์
– ค่า pH
– กรดและเบสในชีวิตประจำวันและข้อควรระวัง
เนื้อหา วิทยาศาสตร์ ม.1 เทอม 2
เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม. 1 เทอม 2 ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ บรรยากาศ ลมฟ้าอากาศ การเคลื่อนที่ หน่วยของสิ่งมีชีวิต และการดำรงชีวิตของพืช ซึ่งแต่ละหน่วยมีเนื้อหาดังนี้
หน่วยที่ 5 บรรยากาศ ได้แก่
– บรรยากาศและชั้นบรรยากาศ
– ก้อนเมฆ
– ปัจจัยที่ส่งผลต่ออุณหภูมิ
หน่วยที่ 6 ลมฟ้าอากาศ ได้แก่
– ลม ฟ้า อากาศ
– เมฆและฝน
– พายุและมรสุม
– การพยากรณ์อากาศ
– ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
– มลพิษ
หน่วยที่ 7 การเคลื่อนที่ ได้แก่
– การเคลื่อนที่และตำแหน่งของวัตถุ
– แรงและการเคลื่อนที่
– กลศาสตร์
หน่วยที่ 8 หน่วยของสิ่งมีชีวิต ได้แก่
– กล้องจุลทรรศน์
– เซลล์
– เซลล์พืช
– เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
– การลำเลียงสารผ่านเซลล์
– หน่วยของสิ่งมีชีวิต
– การดำรงชีวิตของพืช
– การแพร่และออสโมซิส
หน่วยที่ 9 การดำรงชีวิตของพืช ได้แก่
– การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
– การคายน้ำของพืช
– การสังเคราะห์แสง
– ดอก
– การสืบพันธุ์ของพืช
เทคนิคการทบทวนเนื้อหาวิทยาศาสตร์ เพื่อการทำข้อสอบให้ได้คะแนนดี
1.วางแผนทบทวนเนื้อหาบทเรียน
การวางแผนเป็นเรื่องสำคัญที่นักเรียนมักจะมองข้าม วิธีนี้เป็นการบังคบตนเองเพื่อให้ปฏิบัติให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งควรทำต้องแต่ต้นภาคเรียนจะดีที่สุด เพราะหากรอให้ถึงเวลาใกล้สอบ จะทำให้มีข้อมูลที่ต้องทำเยอะเกินไป จนสับสนและไม่สามารถจดจำได้ วิธีการจัดทำแผนก็มีหลายแบบ เช่น อาจจะทำเป็นรูปแบบตาราง แบ่งเป็นวันที่ หรือเวลา คล้ายๆตารางเรียนก็ได้ และอาจจะมีการสร้างแรงจูงใจให้ตัวเองเมื่อทำตามที่วางแผนได้สำเร็จ เช่น ให้รางวัลตัวเองเป็นการดูซีรีย์ดีๆสักเรื่อง การทานอาหารอร่อยๆ เป็นต้น แต่หากไม่มีแผนการที่แน่นอน ก็จะทำให้ละเลยและใช้เวลาไปกับการทำกิจกรรมอื่นๆ จนพลาดการทบทวนบทเรียนไปในที่สุด
2.สรุปเนื้อหาจากความเข้าใจด้วยตนเอง
การสรุปเนื้อบทเรียนควรทำหลังจากเรียนเนื้อหานั้นๆแล้วเสร็จ เป็นการสรุปจากความเข้าใจของนักเรียนเอง เพื่อให้เกิดความรู้ความจำที่คงทน รูปแบบของการสรุปเนื้อหาอาจจะเป็นไปได้หลายรูปแบบตามคำชอบและถนัด เช่นการเขียนแผนที่ความคิดการวาดภาพ การใช้สีหรือรูปภาพเพื่อช่วยให้การจดจำง่ายขึ้น การบันทึกเสียง หรือบันทึกวิดีโอ เป็นต้น การทบทวนในลักษณะนี้นักเรียนต้องมั่นใจว่าเนื้อหาที่ได้สรุปนั้นเกิดจากความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว หากไม่แน่ใจก็ให้ถามครู หรือหาความรู้เพิ่มเติมก่อนจะทำการสรุปอีกครั้งหนึ่ง
3.จัดทำคลังคำศัพท์วิทยาศาสตร์
ในวิชาวิทยาศาสตร์บ่อยครั้งที่นักเรียนจะได้ยินคำศัพท์แปลกๆ คำในภาษาต่างประเทศ ที่ไม่ได้พบในชีวิตประจำวันบ่อยนัก ก็จะทำให้ไม่เข้าใจและเกิดการสับสน ซึ่งวิธีการที่นักเรียนจะสามารถจดจำได้ก็คือต้องมีการรวบรวม จดบันทึกคำศัพท์พร้อมความหมายเอาไว้ เป็นคลังคำศัพท์วิทยาศาสตร์ แล้วหมั่นอ่านทำความเข้าใจ ทบทวนบ่อยๆ ก็จะทำให้สามารถจดจำได้ เมื่อถึงเวลาสอบก็จะไม่มีปัญหาหลงลืมหรือสับสนนั่นเอง
4.ฝึกทำข้อสอบเป็นประจำ
การฝึกทำข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์เป็นประจำนั้นมีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งนอกจากจะทำให้เราทราบระดับความรู้ของตัวเองแล้ว ยังได้ทราบแนวทางในการออกข้อสอบ การเลือกเนื้อหาที่ใช้สอบ การกำหนดตัวเลือกต่างๆ หากมีการเฉลยแล้วว่าข้อใดทำผิด ก็ให้นักเรียนกลับมาทบทวนเนื้อหาซ้ำๆบ่อยๆ ก็จะเป็นการลดความผิดพลาดให้น้อยลง เข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น สำหรับข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์เหล่านี้สามารถหาได้จากหนังสือติวสอบทั่วไป หรือในโลกออนไลน์ก็มีให้เลือกทดสอบอย่างมากมายหลากหลายรูปแบบ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
วิทยาศาสตร์ ม.1 เรียนอะไรบ้าง
วิทยาศาสตร์ ม.1 จะเรียนรู้เนื้อหาสาระต่อไปนี้
1. สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
เรียนเกี่ยวกับ หน่วยของสิ่งมีชีวิต และการดำรงชีวิตของพืช
2. สารและสมบัติของสาร
เรียนเกี่ยวกับ สารรอบตัว สารละลาย และสารละลายกรดและเบส
3. แรงและการเคลื่อนที่
เรียนเกี่ยวกับ การเคลื่อนที่ กลศาสตร์ และฟิสิกส์ขั้นพื้นฐาน
4. พลังงาน
เรียนเกี่ยวกับ พลังงานความร้อน การถ่ายโอนความร้อนระหว่างวัตถุ
5. กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
เรียนเกี่ยวกับ บรรยากาศ ลมฟ้าอากาศ ปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ
6. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เรียนเกี่ยวกับ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การหาคำตอบจากการลงมือทดลองด้วยตนเอง
วิทยาศาสตร์ ม 1 ต่างกับ ป 6 อย่างไร
วิทยาศาสตร์ ม.1 จะเรียนเนื้อหาทุกเรื่องอย่างลงลึกมากขึ้น มีความยากมากขึ้น มีรายละเอียดซับซ้อน ใช้นามธรรมมากขึ้น พร้อมกับต้องทำการทดลองประกอบ มีการใช้อุปกรณ์ในการทดลองที่หลากหลายกว่าวิทยาศาสตร์ ป.6
ยกตัวอย่างในหน่วยการเรียนรู้สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ในชั้น ป.6 นั้น จะเรียนเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ ระบบต่างๆในร่างกาย ซึ่งป็นเนื้อหาที่คุ้นเคย เห็นภาพจริง จับต้องได้ ยังไม่มีเรื่องการทดลอง แต่ในวิทยาศาสตร์ ม.1 จะมีการเรียนรู้ ลงลึกไปถึงระดับเซลล์ ทั้งเซลล์พืชและสัตว์ และมีการทดลองพิสูจน์กระบวนการต่างๆโดยใช้สิ่งมีชีวิตของจริงมาร่วมด้วย หรือในสาระการเรียนรู้กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ในระดับ ป.6 จะเน้นในเรื่องที่จับต้องได้ เห็นภาพชัดเจน เช่น หิน ดิน กรวด แต่ในส่วนของ ม.1 จะเริ่มมีการเรียนรู้ในสิ่งที่จับต้องไม่ได้ หรือมองไม่เห็นด้วยตาเปล่ามากขึ้น เช่น พูดถึงเรื่อง อากาศ อุณหภูมิ ความชื้น เป็นต้น