จากน้องม.ต้นก้าวมาสู่พี่ม.ปลายเต็มตัว เนื้อหาการเรียนในทุกๆ วิชา โดยเฉพาะวิชาหลัก คงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับหลายๆคน ในวิชาเคมี ม.4 หลักสูตรใหม่ล่าสุดของสสวท.ซึ่งเป็นหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ก็มีเนื้อหาสาระที่เข้มข้น ครอบคลุมพื้นฐานสำหรับการเรียนเคมีในชั้นต่อๆไป ในแต่ละเทอมจะมีเพียงสามบทเรียน ในแต่ละบทล้วนมีความสำคัญและมีรายละเอียดและศัพท์เทคนิคใหม่ๆที่ต้องจดจำ มาดูกันว่าแต่ละเทอม น้องๆจะต้องเรียนอะไรกันบ้าง
เคมี ม.4 เล่ม 1
เนื้อหาเคมีม. 4 เทอม 1 หลักสูตรใหม่นั้นเราจะใช้หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมีม. 4 เล่ม 1 ของสสวท.เป็นหลัก ซึ่งในเทอมแรกนี้ มีเนื้อหาที่ต้องเรียน 3 บท ได้แก่
- ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
- อะตอมและสมบัติของธาตุ
- พันธะเคมี
ในแต่ละบทเรียนนั้นมีรายละเอียดอย่างไร ไปอัพเดทกันเลย
- ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
บทเรียนแรกที่เราจะได้เรียนในวิชาเคมี ม.4 ก็คือ ความปลอดภัยและทักษะในการใช้ปฏิกิริยาเคมี ซึ่งน้องๆจะได้มีความรู้พื้นฐานของการทดลอง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาค้นคว้าทางเคมี เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารเคมี อุปกรณ์ทางเคมี หน่วยการวัด รวมไปถึงหลักการคำนวณที่เราจะต้องจดจำเทคนิคและวิธีการต่างๆ ไปใช้ในการเรียนเคมีในบทต่อๆไป นอกจากนี้ เรายังได้เรียนรู้การทำปฏิบัติการอย่างปลอดภัย ทั้งข้อควรปฏิบัติ การกำจัดสารเคมีและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อลดความรุนแรงและความเสียหายจากการปฏิบัติการ
ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่อง “ความปลอดภัยและทักษะในการปฏิบัติการเคมี”
ข้อที่ 1. 31.4 – 12.35 + 27.28 มีผลลัพธ์เท่ากับเท่าใด
วิธีทำ 31.4 – 12.35 + 27.28 = 46.33
ตอบ 46.3 เพราะผลลัพธ์ที่ได้ต้องปัดให้มีตัวเลขหลังจุดทศนิยม 1 ตำแหน่ง ตามจำนวนที่มีเลขหลังจุดทศนิยมน้อยที่สุด คือ 31.4
ข้อที่ 2. ชั่งน้ำปริมาตร 10.0 มิลลิลิตร 3 ครั้ง ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ได้มวลเป็น 10.01 9.98 และ 10.02 กรัม มวลเฉลี่ยของน้ำเป็นเท่าใด
วิธีทำ
มวลเฉลี่ยของน้ำ = 10.01 + 9.98 + 10.023
= 10.0033
ตอบ มวลเฉลี่ยของน้ำเท่ากับ 10.0033 กรัม
- อะตอมและสมบัติของธาตุ
ในบทนี้ เราจะสนุกกับการเรียนโครงสร้างของอะตอมที่นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาข้อมูลและทำการทดลองไว้ จนเป็นแบบจำลองอะตอมต่างๆ เราจะเจาะลึกไปที่อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป ไปจนถึงการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมด้วย ถัดจากอะตอม น้องๆยังได้เรียนสมบัติของธาตุที่มีความแตกต่างกันและคล้ายกันจนสามารถจำแนกเป็นกลุ่มและเกิดเป็นตารางธาตุ ซึ่งมีธาตุหลายกลุ่ม ทั้งธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ และกลุ่มธาตุทรานซิชัน นอกจากนี้เรายังไปศึกษาธาตุในธรรมชาติว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรและต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างไรอีกด้วย
ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่อง “อะตอมและสมบัติของธาตุ”
ข้อที่ 1. ธาตุคลอรีน (Cl) มีเลขอะตอม 17 จะอยู่ในคาบและหมู่ที่เท่าไรของตารางธาตุ
ตอบ ธาตุคลอรีนอยู่ในคาบ 3 หมู่ที่ 7 ของตารางธาตุ
ข้อที่ 2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น 300 nm จะปรากฏในช่วงคลื่นของแสงที่มองเห็นได้หรือไม่ มีความถี่และพลังงานเท่าใด
ตอบ คลื่นของแสงที่ตาคนเราสามารถมองเห็น คือ ช่วง 400 – 700 nm แสดงว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ไม่ปรากฏในช่วงคลื่นของแสงที่มองเห็น และความถี่คลื่นเท่ากับ 1 x 1015 s-1 และมีพลังงานคลื่น = 6.626 x 10-19 J.
วิธีทำ ( ใส่รูป 1 )
- พันธะเคมี
สารในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายอะตอม อาจจะเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน ซึ่งจะยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะเคมีนั่นเอง ดังนั้น“พันธะเคมี”ก็คือแรงดึงดูดระหว่างอะตอมที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน มีทั้งแรงดึงและแรงผลัก ในบทนี้ น้องๆจะได้รู้ว่าพันธะเคมีมีกี่ชนิด กี่ประเภท ทั้งพันธะภายในโมเลกุลและพันธะระหว่างโมเลกุล ซึ่งแต่ละพันธะก็มีรายละเอียดและสมบัติแตกต่างกันออกไป และปิดท้ายด้วยการศึกษาถึงประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์และโลหะที่มีสมบัติเฉพาะตัวบางประการที่ต่างกัน เราจึงสามารถเลือกใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ตามความเหมาะสม
ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่อง “พันธะเคมี”
ข้อที่ 1.โครงสร้างผลึกของสารประกอบไอออนิกชนิดหนึ่งมี J เป็นไอออนบวกและ Q เป็นไอออนลบ พบว่ามี Q ล้อมรอบแต่ละ J อยู่ 4 ไอออน และมี J ล้อมรอบแต่ละ Q อยู่ 2 ไอออน ประจุของ J และ Q คือเท่าใด
ตอบ เอาจำนวนไอออนที่ล้อมรอบแต่ละตัวอยู่ คูณไขว้กลับไปคืนตามภาพ
จะได้ประจุของ J = +4 และประจุของ Q = -2
( ใส่รูป 2 )
ข้อที่ 2. การเกิดสารประกอบไอออนิกที่เสถียรควรจะต้องมีพลังงานที่เกี่ยวข้องอย่างไร
ตอบ สารประกอบไอออนิกเป็นโครงผลึกซึ่งเกิดจากไอออนบวกและไอออนลบมาล้อมรอบกัน
พลังงานไอออไนเซชัน (IE) ต้องต่ำ
อิเล็กโทรเนกาติวิตี (EN) ต้องสูง
และพลังงานแลตทิช (EL) ต้องสูง
เนื้อหาเคมี ม.4 เทอม 1 หลักสูตรใหม่ จะเน้นที่โครงสร้างของอะตอม ตั้งแต่การจัดเรียงอิเล็กตรอน ทฤษฎีอะตอม แบบจำลองอะตอม ไล่ไปถึงแนวโน้มของตารางธาตุ ซึ่งจะมีค่าพลังงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงขนาดของอะตอมและไอออนความเป็นโลหะ-อโลหะ ในบทสุดท้าย เรื่องพันธะเคมี น้องๆจะได้รู้จักรูปร่างของโมเลกุล สภาพขั้วและมุมของพันธะต่างๆ เรโซแนนซ์แรงยึดเหนี่ยวและแรงดึงดูด ไปจนถึงความแข็งแรงและความยาวของพันธะเลยทีเดียว ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดของเทอมนี้อยู่จัดเต็มอยู่ใน คอร์สออนไลน์ติวเข้มเคมี ม.4 เทอม 1 หลักสูตรใหม่ล่าสุด จากอาจารย์บิ๊ก ความรู้อัดแน่นกว่า 60 ชั่วโมงด้วยเทคนิคการสอนสนุกแบบเข้าใจง่ายๆ รับรองว่าเรียนจบแล้วเคมี ม.4 จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หรือใครชอบเรียนสด เข้าใจง่ายเพราะมีครูตะลุยโจทย์ไปด้วยกัน พี่ๆ AT HOME ก็ภูมิใจเสนอ
คอร์สเรียนสดตะลุยโจทย์เคมี ม.4 เทอม 1 ของครูพี่ต้อง ใครได้เรียนรับรองไม่ผิดหวังแน่นอน
เคมี ม.4 เล่ม 2
เนื้อหาเคมีม. 4 เทอม 2 หลักสูตรใหม่นั้นเราจะใช้หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมีม. 4 เล่ม 2 ของสสวท.เป็นหลัก ซึ่งในเทอมสองนี้ มีเนื้อหาที่ต้องเรียนอีก 3 บท ได้แก่
- โมลแลสูตรเคมี
- สารละลาย
- ปริมาณสัมพันธ์
ในแต่ละบทเรียนมีรายละเอียดอย่างไร เลื่อนลงไปดูกันได้เลย
- โมลและสูตรเคมี
บทเรียนนี้เราจะเริ่มเรียนกันที่การหามวลของอะตอม ซึ่งการวัดมวลอะตอมที่มีขนาดเล็กมากนั้นทำได้ยาก เราจึงต้องรู้วิธีหามวลอะตอมสัมพัทธ์เปรียบเทียบกับธาตุที่กำหนดแทน และยังได้เรียนวิธีการหามวลอะตอมของธาตุในธรรมชาติที่มีไอโซโทปแตกต่างกันด้วย เรื่องต่อมา เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับโมล ซึ่งเป็นหน่วยสำหรับวัดปริมาณของสสารแต่ละตัวว่ามีอนุภาคเท่าไหร่ นอกจากนี้ยังมีเรื่องมวลสูตร ซึ่งเป็นผลรวมของมวลอะตอมของธาตุในสูตรเคมีที่เราต้องรู้ รวมไปถึงทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างโมล มวลและปริมาตรของแก๊สด้วย
ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่อง “โมลและสูตรเคมี”
ข้อที่ 1. ถ้ามี Carbon tetrachloride (CCl4) 2.00 โมล จงหามวลของ CCl4
( ใส่รูป 3 )
ข้อที่ 2. มวลอะตอมสัมพัทธ์ของโซเดียมเท่ากับ 22.99 โซเดียม 1 อะตอม มีมวลเป็นกี่เท่าของ 1/12 มวลของคาร์บอน-12 อะตอม
( ใส่รูป 4 )
- สารละลาย
ในบทนี้น้องจะได้สนุกกับการทดลอง การสังเกตและฝึกตีความหมายข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป เราจะได้รู้จักกับหน่วยความเข้มข้นของสารละลายไปพร้อมๆกับคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยต่างๆด้วย และยังได้เรียนรู้วิธีการเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นในหน่วยโมลาริตีและปริมาตรของสารละลายตามที่กำหนดทั้งจากสารบริสุทธิ์และด้วยวิธีเจือจาง สุดท้ายน้องๆต้องอธิบายความแตกต่างระหว่างจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลายกับสารบริสุทธิ์ได้ พร้อมทั้งบอกความหมายของค่าคงที่ของการเพิ่มขึ้นของจุดเดือดและค่าคงที่ของการลดลงของจุดเยือกแข็ง รวมไปถึงคำนวณจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลายได้
ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่อง “สารละลาย”
ข้อที่ 1. ถ้าต้องการเตรียมสารละลายกรดซัลฟิวริก H2SO4 เข้มข้น 0.2 mol/dm3 จำนวน 50 cm3 จากสารละลายกรดซัลฟิวริกในขวดที่มีป้ายบอกว่าเข้มข้น 1 mol/dm3 จะต้องสารละลายกรดซัลฟิวริกในขวดและน้ำกลั่นสำหรับเติมอย่างละกี่ cm3
( ใส่รูป 5 )
ข้อที่ 2. จงหาจุดเดือดของสารละลาย ซึ่งประกอบด้วยสารหนัก 24 กรัมละลายในน้ำ 600 กรัม สารนั้นมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 58 และน้ำบริสุทธิ์เดือดที่อุณหภูมิ 99.72 ℃ (Kb ของน้ำ = 0.51 ℃)
( ใส่รูป 6 )
- ปริมาณสัมพันธ์
บทเรียนนี้ น้องๆจะนำความรู้ในวิชาเคมีที่ได้เรียนในบทก่อนๆมาใช้ในการคำนวณหาปริมาณของสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีทั้งของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ ตลอดจนปริมาณของพลังงานของสารที่เปลี่ยนแปลงในปฏิกิริยาเคมีด้วย เราจะได้เรียนรู้สัญลักษณ์ต่างๆในสมการเคมี ทั้งการเขียนและการดุลสมการเคมี บอกเลยว่าเรื่องปริมาณสัมพันธ์ไม่ง่ายแต่มีประโยชน์มากเพราะความรู้เรื่องปริมาณสัมพันธ์นี้จะช่วยทำให้เราคาดคะเนการใช้สารตั้งต้นเพื่อให้ได้ปริมาณสารผลิตภัณฑ์ตามต้องการ หรือช่วยบอกได้ว่าสารตั้งต้นจะทำปฏิกิริยาหมดหรือมีเหลือ และปฏิกิริยาเหล่านั้นจะได้ผลผลิตมากที่สุดเท่าไหร่
ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่อง “ปริมาณสัมพันธ์”
ข้อที่ 1. ปฏิกิริยาระหว่าง X กับ Y เป็นไปตามสมการ 2X + 3Y → 2A + 3B ถ้าใช้สารละลาย X 100 cm3 ซึ่งเตรียมจากสาร X 0.20 กรัม ละลายน้ำจนเป็นสารละลาย 100 cm3 จะทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลาย Y ที่มีความเข้มข้น 0.10 mol/dm3 จำนวน 20 cm3 จงหามวลโมเลกุลของสาร X
( ใส่รูป 7 )
เนื้อหาวิชาเคมี ม.4 เทอม 2 เริ่มมีความซับซ้อน ส่วนใหญ่จะมีการคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้อง และรายละเอียดให้จำค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องโมลและการเปลี่ยนหน่วย เปอร์เซนต์ ร้อยละ สารกำหนดปริมาณ หามวลเฉลี่ยไอโซโทป รวมไปถึงเรื่องปริมาณสัมพันธ์ ที่มีการคำนวณหลายสมการและมีสูตรมากมาย น้องๆ หลายคนอาจจะรู้สึกกังวลใจ เริ่มเรียนไม่รู้เรื่อง คอร์สออนไลน์ติวเข้มเคมี ม.4 เทอม 2 อัพเดทหลักสูตรใหม่ล่าสุดจากอาจาย์บิ๊ก ช่วยน้องๆ ได้แน่นอน ด้วยเนื้อหาอัดแน่นกว่า 40 กว่าชั่วโมง รับรองว่าไขทุกข้อข้องใจ ด้วยสไตล์และเทคนิคการสอนสนุก เนื้อหาแน่น เอาไปสอบได้จริง อัพคะแนนสอบกันรัวๆแน่นอน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
เฉลยแบบฝึกหัดวิชาเคมี ม.4 สามารถหาได้ที่ไหน
เราสามารถดูเฉลยหรือตรวจคำตอบของแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนของสสวท.วิชาเคมี ม.4 เทอม 1 ได้ที่ คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี เล่ม 1 และแบบฝึกหัดวิชาเคมี ม.4 เล่ม 2 ได้ที่ คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี เล่ม 2
เคมี ม.4 เทอม 1 เรียนเรื่องอะไรบ้าง
เนื้อหาในวิชาเคมี ม.4 เทอม1 ประกอบด้วย 3 บทเรียนดังต่อไปนี้
บทที่ 1 ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี และอุบัติเหตุจากสารเคมี
การวัดปริมาณสาร
หน่วยวัด
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
บทที่ 2 อะตอมและสมบัติของธาตุ
แบบจำลองอะตอม
อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก
ธาตุแทรนซิชัน
ธาตุกัมมันตรังสี
การนำธาตุไปใช้ประโชน์และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต
บทที่ 3 พันธะเคมี
สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเดต
พันธะไอออนิก
พันธะโคเวเลนต์
พันธะโลหะ
การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ
เคมี ม.4 เทอม 2 เรียนเรื่องอะไรบ้าง
เนื้อหาในวิชาเคมี ม.4 เทอม 2 ประกอบด้วย 3 บทเรียนต่อเนื่องจากเทอมแรก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
บทที่ 4 โมลและสูตรเคมี
มวลอะตอม
โมล
สูตรเคมี
บทที่ 5 สารละลาย
ความเข้มข้นของสารละลาย
การเตรียมสารละลาย
สมบัติบางประการของสารละลาย
บทที่ 6 ปริมาณสัมพันธ์
ปฏิกิริยาเคมี และสมการเคมี
การคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี
สารกำหนดปริมาณ และผลได้ร้อยละ