วิชาเคมี ม.5 หลักสูตรใหม่จะเป็นเนื้อหาที่ต่อเนื่องมาจากชั้นม.4 โดยเฉพาะในพาร์ทของการคำนวณ ทั้งเรื่องแก๊ส สมดุลเคมีและกรดเบส การคำนวณเป็นส่วนสำคัญ และค่อนข้างยากทีเดียว ใครที่รู้ตัวว่าไม่ค่อยคล่องในปีที่แล้ว อาจจะต้องกลับไปปัดฝุ่น ทบทวนความรู้กันซักหน่อยก่อนขึ้นบทเรียนใหม่ในชั้นม.5 นี้ รายละเอียดของวิชาเคมี ม.5 ทั้งเทอม 1 และเทอม 2 เราจะได้เรียนเรื่องอะไรกันบ้าง เราไปอัพเดทกันเลย
เคมีม.5 เทอม 1
เนื้อหาของวิชาเคมี ม.5 เทอม 1 หลักสูตรใหม่นั้นเราจะอ้างอิงจากหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมีม.5 เล่ม 3 ของสสวท เป็นหลัก ซึ่งในเทอมแรกของชั้นม. 5 เนื้อหาที่ต้องเรียนมีทั้งหมด 3 บทเรียนต่อเนื่องจากชั้นม.4 ได้แก่
- แก๊สและสมบัติของแก๊ส
- อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
- สมดุลเคมี
เนื้อหาวิชาเคมีในเทอมแรกนี้ จะมีสูตรที่ต้องจำค่อนข้างเยอะ และจุดที่น้องๆต้องเน้นและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ก็คือเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ของแก๊สและกฎรวมแก๊ส
แก๊สและสมบัติของแก๊ส
ในหลักสูตรใหม่ เราจะได้เรียนเจาะลึกเฉพาะเรื่องของแก๊สและสมบัติของแก๊ส ไม่มีเรื่องของแข็งและของเหลวเหมือนหลักสูตรเก่า น้องๆจะได้ศึกษาสมบัติและพฤติกรรมของสารที่อยู่ในสถานะแก๊สเท่านั้น ซึ่งแก๊สมันมีความพิเศษ คือ เมื่อความดันหรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ปริมาณและสมบัติของมันก็แตกต่างออกไปด้วย ดังนั้นในบทนี้เราจะเรียนตั้งแต่ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตร ความดัน อุณหภูมิและจำนวนโมลของแก๊ส การคำนวณหาค่าต่างๆของแก๊สจากความสัมพันธ์ตามกฎต่างๆ และเราจะได้ทำความรู้จักกับกฎรวมแก๊ส ปริมาณสารสัมพันธ์ของแก๊ส เรียนรู้เกี่ยวกับการแพร่ของแก๊สโดยใช้ทฤษฎีจลน์และกฎการแพร่ของมัน สุดท้ายเราจะประยุกต์ใช้ความรู้ต่างๆที่เราได้เรียนไปอธิบายปรากฏการณ์ในชีวิตประจำวันและแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมได้ด้วย
ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่อง “แก๊สและสมบัติของแก๊ส”
ข้อที่ 1. ภาชนะใบหนึ่งมีขนาด 5.0 ลิตร บรรจุแก๊สชนิดหนึ่ง 3.25 กรัม ที่ความดัน 1.0 บรรยากาศ อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส มวลต่อโมลของแก๊สชนิดนี้เป็นเท่าใด
วิธีทำ ( ใส่รูป 1 )
ข้อที่ 2. ถ้าผสมแก๊สไฮโดรเจน (H2) 1.00 กรัม แก๊สฮีเลียม (He) 2.60 กรัม และแก๊สอาร์กอน (Ar) 11.19 กรัมในภาชนะขนาด 10.0 ลิตร ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จงคำนวณความดันรวมของแก๊สผสม
วิธีทำ ( ใส่รูป 2 )
น้องๆสามารถตะลุยโจทย์กับครูเอ้กันต่อได้ที่ คลิปตะลุยโจทย์ แก๊สและสมบัติของแก๊ส
หรือฝึกทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมต่อเองได้ที่ Quizizz แบบฝึกหัดเรื่อง “แก๊สและสมบัติของแก๊ส”
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ในเรื่องนี้น้องๆจะได้เรียนรู้ว่าปฏิกิริยาเคมีมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมจึงเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ และความเร็วในการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้นแตกต่างกันเพราะอะไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันหรืออุตสาหกรรม เราจะได้รู้วิธีคำนวณหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เมื่อจบบทเรียนน้องๆต้องเขียนกราฟอธิบายการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสารที่ทำการวัด หรือไม่ได้วัดในปฏิกิริยาได้ และเขียนแผนอธิบายทิศทางการชนกันของอนุภาคและพลังงานที่ส่งผลต่อปฏิกริยาเคมีได้ด้วย
ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่อง “อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี”
ข้อที่ 1. เมื่อนำสาร A และสาร B ที่มีความเข้มข้นต่างๆ มาทำปฏิกิริยากันเป็นเวลา 10 นาที พบว่าได้ผลิตภัณฑ์เป็น A2B ซึ่งมีความเข้มข้นดังตาราง
( ใส่รูป 3 )
ข้อที่ 2. พิจารณาปฏิกิริยาระหว่างแก๊สไฮโดรเจน (H2) กับแก๊สไอโอดีน (I2) ที่อุณหภูมิ 458 องศาเซลเซียส ดังสมการเคมี
H2(g) + I2(g) → 2HI(g)
เมื่อเพิ่มปริมาณแก๊สไฮโดรเจนเป็นสองเท่า โดยปริมาตรของภาชนะคงที่ พบว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพิ่มขึ้น ดังนั้นถ้าลดปริมาตรของภาชนะลงครึ่งหนึ่ง โดยปริมาณของแก๊สเท่าเดิมจะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอย่างไร เพราะเหตุใด
ตอบ จากสมการจะเห็นว่าปฏิกิริยานี้เกิดในภาชนะระบบปิด เมื่อลดปริมาตรลง โมเลกุลของแก๊สก็อยู่ใกล้กันมากขึ้น เพราะฉะนั้นจึงมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กล่าวคืออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (r.) จะเพิ่มขึ้น เพราะโมเลกุลของแก๊สอยู่ชิดกันมากขึ้น ดังนั้นจึงมีโอกาสในการชนมากขึ้น ปฏิกิริยาเคมีจึงเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
น้องๆสามารถตะลุยโจทย์กับครูเอ้กันต่อได้ที่ คลิปตะลุยโจทย์อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ม.5
หรือฝึกทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมต่อเองได้ที่ Quizizz แบบฝึกหัดเรื่อง “อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี”
สมดุลเคมี
ในเรื่องสมดุลเคมีนี้ เราจะเน้นเรื่องของปฏิกิริยาเคมีที่ผันกลับได้และภาวะสมดุล น้องๆจะได้เรียนการคำนวณปริมาณของสารในภาวะสมดุลมีวิธีการคำนวณอย่างไร และการรบกวนสมดุลนี้จะส่งผลต่อปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง บทนี้ก็จะหนีไม่พ้นเรื่องของการคำนวณ ทั้งคำนวณความเข้มข้นของสาร และคำนวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา รวมไปถึงอธิบายสมดุลเคมีของกระบวนการที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์ในธรรมชาติและในกระบวนการอุตสาหกรรมด้วย
ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่อง “สมดุลเคมี”
ข้อที่ 1. เขียนค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาดังต่อไปนี้
( ใส่รูป 4 )
ข้อที่ 2.ในภาชนะปิด 250 cm3 เกิดปฏิกิริยา N2(g) + H2(g) ⇋ NH3(g) โดยที่สภาวะสมดุลเกิด N2, H2 และ NH3 0.200 0.750 และ 0.400 โมล ตามลำดับ ค่าคงที่สมดุลมีค่าเท่าใด
( ใส่รูป 5 )
น้องๆสามารถตะลุยโจทย์กับครูเอ้กันต่อได้ที่คลิปสมดุลเคมี ม.5 สรุปตะลุยโจทย์ ค่าคงที่สมดุล
และฝึกทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมต่อเองได้ที่ Quizizz แบบฝึกหัดเรื่อง “สมดุลเคมี”
และหากใครอยากเพิ่มความมั่นใจ ต้องการปูพื้นฐาน หรืออัพคะแนนสอบวิชาเคมี ม.5 เทอม 1 โดยเฉพาะ คอร์สเคมี ม.5 เทอม 1 หลักสูตรใหม่ จากอาจารย์บิ๊ก ครอบคลุมทั้งสามบทเรียนหลัก ตั้งแต่เรื่องแก๊ส อัตราเกิดปฏิกิริยาเคมี และสมดุลเคมี เนื้อหาแน่นปึ้ก สอนสนุก เข้าใจง่ายสไตล์ครูบิ๊ก รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอน
เคมีม.5 เทอม 2
เนื้อหาเคมีม.5 เทอม 2 หลักสูตรใหม่นั้น น้องๆจะใช้หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมีม. 5 เล่ม 4 ของสสวท.เป็นหลัก ซึ่งในเทอมที่สองนี้ มีเนื้อหาเพียงสองบทเรียน ได้แก่
- กรด-เบส
- เคมีไฟฟ้า
แต่ละบทเรียนจะมีรายละเอียดอย่างไร ไปอัพเดทพร้อมๆกันเลย
กรด-เบส
ในบทเรียนนี้เราจะเริ่มเรียนกันตั้งแต่ทฤษฎีกรดเบส คู่กรดคู่เบส การเปรียบเทียบความแรงของกรดเบส การหา pH การหาร้อยละ การแตกตัว รวมไปถึงไฮโดรไลซิสของเกลือ การไทเทรตของกรดเบส และสารละลายบัฟเฟอร์ต่างๆ เป็นบทเรียนที่เน้นหนักเรื่องการคำนวณ และสัดส่วนของเรื่องกรดเบสที่ออกสอบใน TCAS นั้นถือว่าเป็นบทเรียนที่ออกสอบเยอะที่สุดบทหนึ่ง ดังนั้นน้องๆจะต้องพยายามทำความเข้าใจและเน้นทำแบบฝึกหัดเรื่องนี้ให้มากขึ้น
( ใส่รูป 6 )
ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่อง “กรด-เบส”
ข้อที่ 1.สารละลายเมทิลเอมีน (CH3NH2) 0.50 โมลต่อลิตร จะมีความเข้มข้นของเมทิลแอมโมเนียมไอออน (CH3NH3⁺) เท่าใด และร้อยละการแตกตัวของเมทิลเอมีนเป็นเท่าใด
( ใส่รูป 7 )
ข้อที 2. เมื่อเติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) pH 3.00 ปริมาตร 100 มิลลิลิตร ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก pH 2.00 ปริมาตร 100 มิลลิลิตร สารละลายที่ได้จะมี pH เป็นเท่าใด
( ใส่รูป 8 )
น้องๆสามารถตะลุยโจทย์กับครูเอ้กันต่อได้ที่คลิปตะลุยโจทย์ กรดเบส เคมีม.5
และฝึกทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมต่อเองได้ที่ Quizizz แบบฝึกหัดเรื่อง “กรด-เบส”
เคมีไฟฟ้า
สำหรับบทเรียนเรื่อง เคมีไฟฟ้า น้องๆจะได้เรียนตั้งแต่เลขออกซิเดชัน การดุลสมการรีดอกซ์ เซลล์กัลวานิก ตั้งแต่แผนภาพเซลล์ การเลือกสารละลายและภาชนะที่เหมาะสม รวมไปถึงการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า การเขียนสมการแสดงปฏิกิริยาของเซลล์ปฐมภูมิและเซลล์ทุติยภูมิ บทนี้เน้นที่ความเข้าใจ คำนวณไม่เยอะ แต่สัดส่วนในการออกสอบนั้นก็ไม่น้อย ดังนั้นถ้าน้องๆทำความเข้าใจให้ดีก็สามารถเก็บคะแนนจากบทนี้ได้มากเช่นกัน
ตัวอย่างแบบฝึกหัดเรื่อง “เคมีไฟฟ้า”
จงเขียนแยกปฏิกิริยาออกซิเดชัน และรีดักชัน พร้อมทั้งระบุตัวออกซิไดซ์และตัวรีดิวซ์จากสมการต่อไปนี้
ข้อที่ 1. Zn + Cu2+ → Zn2+ + Cu
( ใส่รูป 9 )
ข้อที่ 2. Mg + 2H+ → Mg2++ H2
( ใส่รูป 10 )
น้องๆสามารถตะลุยโจทย์กับครูเอ้กันต่อได้ที่คลิปเคมีไฟฟ้า เคมี ม.5 และฝึกทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมต่อเองได้ที่ Quizizz แบบฝึกหัดเรื่อง “เคมีไฟฟ้า”
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับวิชาเคมี ม.5 ถือว่าไม่ง่ายเลย แต่เชื่อว่าไม่ยากเกินความตั้งใจของพวกเราแน่นอน แต่ถ้าน้องๆ เรียนแล้วยังไม่เข้าใจ ทำแบบฝึกหัดไม่รู้เรื่อง ทำข้อสอบก็ไม่ได้ ให้คอร์สเรียนเคมี ม.5 เทอม 2 หลักสูตรใหม่ จากอาจารย์บิ๊ก ที่เนื้อหาจัดเต็มทั้งเรื่องกรด-เบสและเคมีไฟฟ้า กว่า 38 ชั่วโมงเรียน เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย รับประกันว่าสนุก เข้าใจง่าย อัพคะแนนกันได้รัวๆแน่นอน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
เฉลยแบบฝึกหัดวิชาเคมี ม.5 สามารถหาได้จากที่ไหน
เราสามารถดูเฉลยหรือตรวจคำตอบของแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนของสสวท.
วิชาเคมีม.5 เทอม 1 เล่ม 3 ได้ที่
คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี เล่ม 3
และดูเฉลยแบบฝึกหัดวิชาเคมี ม.5 เทอม 2 เล่ม 4 ได้ที่
คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี เล่ม 4
เนื้อหาเคมี ม.5 เทอม 1 เรียนเรื่องอะไรบ้าง
วิชาเคมี ม.5 เทอม 1 ประกอบด้วย 3 บทเรียนต่อเนื่องจากชั้นม.4 มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
บทที่ 7 แก๊สและสมบัติของแก๊ส
ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตร ความดัน อุณหภูมิและจำนวนโมลของแก๊ส
กฎแก๊สอุดมคติและความดันย่อย
ทฤษฎีจลน์และการแพร่ของแก๊ส
การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊ส และสมบัติของแก๊ส
บทที่ 8 อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ความหมายและการคำนวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แนวคิดเกี่ยวกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
บทที่ 9 สมดุลเคมี
สภาวะสมดุล
ค่าคงที่สมดุล
ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุล
สมดุลเคมีในสิ่งสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม
เนื้อหาเคมี ม.5 เทอม 2 เรียนเรื่องอะไรบ้าง
เนื้อหาในวิชาเคมี ม.5 เทอม 2 ประกอบด้วย 2 บทเรียน หลัก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
บทที่ 10 กรด-เบส
ทฤษฎีกฎกรด-เบส
คู่กรด-เบส
การแตกตัวของกรด เบสและน้ำ
สมบัติกรด-เบสของเกลือ
pH ของสารละลายกรดและเบส
ปฏิกิริยาเคมีระหว่างกรดและเบส
การไทเทรตกรด-เบส
สารละลายบัฟเฟอร์
การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับกรด-เบส
บทที่ 11 เคมีไฟฟ้า
เลขออกซิเดชันและปฏิกิริยารีดอกซ์
การดุลสมการรีดอกซ์
เซลล์เคมีไฟฟ้า
ประโยชน์ของเซลล์เคมีไฟฟ้า
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเคมีไฟฟ้า