น้อง ๆ ม.ต้น ที่ความตั้งใจอยากจะสอบเข้าโรงเรียนที่ใฝ่ฝัน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนในวมว. หรือโรงเรียนชื่อดังต่าง ๆ ก็ตาม น้อง ๆ อย่าลดทอนความสามารถของตัวเองด้วยการไม่ยอมพยายามทำเพื่อความฝันของตัวเองน้า ส่วนใครที่อยากเริ่มศึกษาแนวข้อสอบพี่ ๆ ATHOME ก็ได้ทำการร่วมกันวิเคราะห์ข้อสอบ และนำแนวข้อสอบเก่า ๆ ที่เคยออกสอบมาฝากน้อง ๆ กันแล้วค่า มาดูกันเลย!
ข้อสอบวิทย์ ม.3 แบ่งย่อยเป็นสาระอะไรบ้าง
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ระดับม.ต้น นั้นจะแบ่งแยกออกเป็น 4 สาระ ได้แก่
ชีววิทยา / เคมี / ฟิสิกส์ / วิทยาศาสตร์กายภาพ
สรุปหัวข้อสำคัญ วิชา ชีวะ ม.ต้น
- ระบบนิเวศ
- เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
- อาหาร
- ระบบร่างกาย
- การเจริญเติบโตของสัตว์
- เทคโนโลยีชีวภาพ
- พืช
- พลังงานในสิ่งมีชีวิต
- พันธุศาสตร์
สรุปหัวข้อสำคัญ วิชา ฟิสิกส์ ม.ต้น
- กลศาสตร์
- ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
- แสงและการมองเห็น
- ความร้อนและของไหล
สรุปหัวข้อสำคัญ วิชา เคมี ม.ต้น
- สารและสมบัติของสาร
- การแยกสาร
- ธาตุและสารประกอบ
- การเปลี่ยนแปลงของสาร
- สารละลายกรด-เบส
- เคมีในชีวิตประจำวัน
สรุปหัวข้อสำคัญ วิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.ต้น
- โลกและการเปลี่ยนแปลง
- ดิน หิน แร่
- น้ำในชีวิตประจำวัน
- บรรยากาศ
- ดาราศาสตร์
เก็บเกรดที่โรงเรียน : ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.3 เทอม 1
การเก็บเกรดที่โรงเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กับการฝึกโจทย์ข้อสอบเข้าเลย เพราะหลายโรงเรียนมีการกำหนดเกรดของผู้สมัคร หากน้อง ๆ ทำเกรดได้ไม่ดี จะทำให้เสียโอกาสนั้นไปอย่างน่าเสียดาย พี่ ๆ
จึงอยากแนะนำการเก็บเกรดวิทยาศาสตร์สำหรับ ม.3 เทอม 1 ให้น้อง ๆ ไปปรับใช้นะคะ
1.ตั้งเป้าหมายให้แน่ชัด อยากได้เกรดวิชาไหนเท่าไร เช่น อยากได้วิทย์ 3.5 ขึ้นไป หรืออยากได้ 4 เราควรระบุให้แน่ชัดเพื่อจะทำวิธีการให้เหมาะสมกับเป้าหมาย |
2.ตั้งใจเรียนในห้องสำคัญมาก น้อง ๆ คนไหนที่คิดว่าไม่ต้องฟังครูก็ได้ ไปฟังติวเตอร์เรียนพิเศษอย่างเดียว พี่ไม่ค่อยแนะนำนะ ถ้าน้องมีโอกาสเรียนในห้องควรทำมันให้ดี พยายามทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ จะช่วยให้การไปเรียนพิเศษ รวมถึงการทบทวนด้วยตัวเองมีประสิทธิภาพมากขึ้น |
3.ทบทวนหลังเรียนทุกครั้ง ถึงแม้ว่าเราจะตั้งใจเรียนแค่ไหนแต่ถ้าไม่ทบทวนยังไงก็ลืมแน่นอน พี่แนะนำให้หมั่นทบทวนบ่อย ๆ และไม่ทิ้งห่างเกินไป จะช่วยให้จดจำเนื้อหาต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น |
4.ฝึกทำโจทย์ในหนังสือเรียน และโจทย์เสริมข้างนอกอยู่เสมอ เมื่อเข้าใจเนื้อหาแล้วแต่ยังไม่กล้าทำโจทย์ก็เหมือนเรามีดาบที่ไม่ถูกลับให้คม การทำโจทย์จะช่วยให้กระบวนการคิดของน้อง ๆ แม่นยำและรู้จักการประยุกต์เนื้อหากับการทำโจทย์ได้ดี นอกจากนี้ยังเสริมให้น้องจำเรื่องนั้น ๆ ได้ดีขึ้นด้วยล่ะ |
5.เก็งแนวข้อสอบด้วยตัวเองบ้าง เมื่อทำโจทย์เยอะมากพอ น้องจะเห็นภาพรวมของบทนั้น ๆ ชัดเจนขึ้น จากนั้นให้ลองเก็งข้อสอบที่น่าออกหรือนำความรู้ที่ได้ไปติวให้เพื่อน ๆ จะช่วยให้จำบทนั้นได้แม่นยำมากขึ้น |
6.ทำคะแนนเก็บให้ดี ข้อนี้สำคัญเหมือนกันนะ เพราะสัดส่วนคะแนนของคุณครูเขามีทั้งคะแนนเก็บและคะแนนสอบ ใครที่อยากได้เกรด ดี ๆ เรื่องงานต่าง ๆ ควรเก็บให้เรียบร้อยเสมอ |
เก็บเกรดที่โรงเรียน : ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.3 เทอม 2
แม้เกรดเทอมสุดท้ายของม.ต้น อาจจะไม่ได้ใช้สำหรับหลายคน แต่พี่แนะนำให้เก็บเกรดให้ดีที่สุดนะคะ เพราะนอกจากเราจะได้ผลการเรียนที่ดีแล้วนั้นวิชาความรู้ที่เราได้เรียนยังจะต้องใช้ต่อในระดับม.ปลายอีกด้วย เทคนิคดี ๆ ที่ช่วยให้เก็บเกรดม.3 เทอม 2 ได้ดีแม้จะเป็นช่วงที่มีสอบเข้าโรงเรียนดังต่าง ๆ จนน้อง ๆ เสียเวลาในการเรียนไปมากก็ตาม ทำได้ดังนี้
1.ตั้งเป้าหมายตามที่ตัวเองต้องการเสมอ เป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญมาก น้องต้องถามตัวเองก่อนว่าอยากได้เกรดเท่าไร ถ้าอยากได้เกรด 3 หรือ 3.5 ก็ควรตั้งเป้าหมายเอาไว้ตั้งแต่แรก จะช่วยให้สำเร็จได้ง่ายขึ้น |
2.ตั้งใจทำงานส่งครูทุกชิ้น โรงเรียนหลายโรงเรียนอาจจะอยากช่วยให้เกรดนักเรียนสูงขึ้นด้วยการเพิ่มสัดส่วนคะแนนเก็บให้มากขึ้น ดังนั้นแล้วอย่าหลีกเลี่ยงการส่งงานเด็ดขาด เพราะมันจะทำให้เราได้คะแนนที่สูงขึ้นและแน่นอนว่าเกรดสูงขึ้นแน่นอน |
3.พยายามจับใจความสำคัญของบทต่าง ๆ หากน้อง ๆ รู้สึกว่าเนื้อหาในแต่ละบทมันเยอะมาก ๆ ให้ลองตั้งใจฟังที่ครูเขาอธิบาย ครูส่วนใหญ่จะบอกให้เราเน้นหัวข้อสำคัญต่าง ๆ ซึ่งนั่นก็เหมือนเป็นการบอกใบ้ว่าเราจะต้องไปดูเนื้อหาไหนสำหรับการสอบด้วยเช่นเดียวกัน |
4.ทำสรุปโน้ตย่อบทเรียนแต่ละบทเอาไว้ การที่เรียนเนื้อหาต่าง ๆ เราอาจจะคิดว่ามันยากเกินไป อ่านเท่าไรก็จับใจความไม่ได้สักที แนะนำให้น้อง ๆ ลองทำเป็น Shortnote หรือ Mindmap ดูนะคะ จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นภาพรวม และเข้าใจบทเรียนนั้น ๆ ได้มากขึ้นด้วยนะ |
5.ทำโจทย์จากง่ายไปยาก เทคนิคนี้ดีมาก ๆ สำหรับน้อง ๆ ที่อยากทำข้อสอบต่าง ๆ ได้ พี่แนะนำให้เลือกทำข้อสอบง่ายไปก่อนนั้นหมายความว่าน้อง ๆ จะสามารถเข้าใจบทเรียนและจำสูตรต่าง ๆ ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น การเริ่มที่ข้อสอบยาก ๆ เลยจะทำให้รู้สึกว่าบทเรียนนั้นยากและน้อง ๆ ก็อาจจะไม่ได้ทบทวนความเข้าใจของตัวเองด้วย |
วิเคราะห์ ข้อสอบวิทย์ ม.3 เตรียมอุดมศึกษา
ถ้าน้อง ๆ เป็นคนที่อยากสอบติดเตรียมอุดมศึกษา พี่ ๆ จะมาบอกแนวข้อสอบ บทเรียนสำคัญที่น้อง ๆ ต้องให้เวลากับมันเยอะ ๆ ห้ามทิ้งเด็ดขาด
วิชาฟิสิกส์ <วิดีโอแนะนำ>
ข้อสอบวิชาฟิสิกส์ มีทั้งพาร์ทคำนวณ และ พาร์ททฤษฏีซึ่งอาศัยความจำ เนื้อหานั้นไม่ออกเกินหลักสูตร ซึ่งในวิชาของฟิสิกส์จะผนวกเนื้อหาของโลก ดวงดาว และดาราศาสตร์เอาไว้ด้วย
วิชาฟิสิกส์ออกบทไหนเยอะ
- กลศาสตร์การเคลื่อนที่แนวราบ : การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ, วงกลม, โพรเจกไทล
- กฎการเคลื่อนที่นิวตัน
- คลื่น แสง เสียง : คลื่นกล, คลื่นเสียง, คลื่นแสง
วิชาเคมี <วิดีโอแนะนำ>
ข้อสอบเคมีนั้นส่วนใหญ่จะไม่เกินหลักสูตร แต่สามารถมีเกินหลักสูตรไปบ้าง แต่จะออกเป็นเรื่องซ้ำ ๆ น้อง ๆ สามารถไปดูไว้ได้
วิชาเคมีออกบทไหนเยอะ
- สสารและการแยกสาร
- สมบัติของธาตุหมู่ต่าง ๆ
- เปรียบเทียบแนวโน้มความเป็นโลหะ อโลหะ
- สมบัติของสารประกอบไอออนิก โคเวเลนต์
- อินดิเคเตอร์ (ออกทุกปี)
- การคำนวณความเข้มข้น
- แก๊สโซฮอล์ LPG NGV
วิชาชีวะ <วิดีโอแนะนำ>
วิชานี้ถือว่ามีความยากพอสมควรเลย มีบางข้อที่ออกเกินหลักสูตร แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะเรายังสามารถเตรียมเก็บบทที่ออกเยอะ ๆ ได้เช่นกัน
วิชาชีวะออกบทไหนเยอะ
- ระบบย่อยอาหาร
- อวัยวะรับสัมผัส
- ระบบการไหลเวียนโลหิต
- ระบบหายใจ
- โภชนาการ
- สิ่งแวดล้อม
- ดอกและผล
วิชาโลกและอวกาศ <วิดีโอแนะนำ>
- ดิน หิน แร่
- ดวงดาว และการดูดาว
วิชาภาษาไทย <วิดีโอแนะนำ>
วิชาภาษาไทยออกบทไหนเยอะ
- เสียงและอักษรแทนเสียง
- คำและความหมาย
- การสร้างคำ
- ถ้อยคำและสำนวน
- ประโยค
- ราชาศัพท์
- ฉันทลักษณ์
- คุณค่าด้านภาษา
- คุณค่าด้านความรู้
- คุณค่าด้านข้อคิด
- การอ่านจับใจความสำคัญ
- การอ่านตีความ
- การอ่านออกเสียง
- โวหารการเขียน
- ข้อบกพร่องในงานเขียน
- การเขียนสะกดคำ
วิชาภาษาอังกฤษ
- Conversation
- Cloze Passage
- Reading Comprehension
- Error Identification
- Sentence Completion
วิชาสังคมศึกษา <วิดีโอแนะนำ>
- ศาสนา
- หน้าที่พลเมือง
- เศรษฐศาสตร์
- ประวัติศาสตร์
- ภูมิศาสตร์
- ข่าวสารในชีวิตประจำวัน
วิเคราะห์ ข้อสอบวิทย์ ม.3 สอบเข้า MWIT และ วมว.
วิชาคณิตศาสตร์
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) คือ การวัดผลที่ครอบคลุมการนำสาระคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถประเมินผลลัพธ์มาตอบได้ในชีวิตประจำวัน
วิชาวิทยาศาสตร์
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) คือ การประเมินครอบคลุม ใน 3 ด้าน คือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์
ลักษณะข้อสอบ MWIT
วิชาคณิตศาสตร์ มี 40 ข้อ แบ่งเป็น 3 พาร์ท
พาร์ท 1 – ทั้งหมด20ข้อ 4 choice เลือกตอบ ข้อละ 2 คะแนน
เนื้อหาจะออกตั้งแต่ระดับประถม มัธยมที่เรียนทั้งหมด ไม่ต้องวิเคราะห์เยอะ เน้นไปทาง คิดเลข มีเรื่องความน่าจะเป็น และสถิติเล็กน้อย
พาร์ท 2 – 10 ข้อ ข้อละ 6 คะแนน เป็นอัตนัย ไม่มีตัวเลือก
พาร์ท3 – 10 ข้อประยุกต์ น้องไม่ต้องกังวลไปเพราะข้อสอบแนวนี้แม้จะเป็นอะไรที่เราไม่คุ้นเคยหรือเคยเรียนมาก่อน แต่เราสามารถใช้ข้อมูลที่เขาให้มาได้เลย ขอให้อ่านโจทย์ให้เข้าใจพอ
วิชาวิทยาศาสตร์ 40 ข้อ 3พาร์ท
พาร์ท1– 20ข้อ ข้อละ 2 คะแนนเป็นปรนัย เนื้อหาที่ออกจะอยู่ในหนังสือเรียนปกติ รวมถึงเรื่องในชีวิตประจำวันเป็นหลัก
พาร์ท2 – 10ข้อ ข้อละ 6 คะแนน? แต่ละข้อมีคำตอบที่ถูก 2 ข้อ ถ้าถูก 1 ข้อผิด 1 ข้อได้3คะแนน ส่วนมากจะมีตารางข้อมูลมาให้แล้วต้องวิเคราะห์
พาร์ท3 – 10ข้อ ข้อละ 10 คะแนน มีข้อมูลมาให้อ่าน วิเคราะห์แล้วเลือกคำตอบที่ถูก 2 ข้อ ถูก 1 ข้อ ผิด 1 ข้อ ได้5คะแนน ลักษณะการคิดคะแนนจะคล้ายพาร์ท 2 แต่ข้อมูลมาให้ยาวและเยอะกว่า เนื้อเรื่องที่เอามาจะเป็นปัญหาที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
ลักษณะข้อสอบ วมว.
การสอบเข้าโครงการวมว. ข้อสอบชุดแรกจะเป็นชุดเดียวกับ MWIT ซึ่งเนื้อหาวิทย์คณิตที่ต้องเตรียม น้อง ๆ ไปดูได้ที่ลักษณะข้อสอบ MWIT ที่พี่อธิบายไว้ได้เลย
ข้อสอบคณิตศาสตร์ อัตนัย+ ปรนัย รสม 12 ข้อ 60 คะแนน
ตัวอย่างการออกข้อสอบเก่า
- เน้นไปที่เรื่องเรขาคณิต ลำดับเลขคณิต ลำดับอนุกรม จำนวนสุภาพ จำนวนเป็นกันเอง
ข้อสอบวิทยาศาสตร์
ข้อ 1-30 มี 5 ตัวเลือก
ข้อ1-120 ตัวเลือก 2 ข้อ (คือตอบ ถูก หรือ ผิด)
ถูกได้ 1 คะแนน
ผิด -0.5 คะแนน
ไม่ตอบ 0 คะแนน
ข้อสอบโครงการ วมว. รอบ 2 (ศูนย์นั้น ๆ จะเป็นคนออกเองร่วมด้วย)
-ข้อสอบคณิตศาสตร์
-ข้อสอบอังกฤษ
-วิทย์จากส่วนกลาง 1 ชุด
-.วิทย์จากศูนย์นั้น ๆ
แจกแนว ข้อสอบเข้า ม.4 เตรียมอุดม
- ข้อสอบเก่า เตรียม วิชาคณิตศาสตร์ <ลิงก์>
- ข้อสอบเก่า เตรียม วิชาวิทยาศาสตร์ <ลิงก์>
- ข้อสอบเก่า เตรียม วิชาภาษาอังกฤษ <ลิงก์>
- ข้อสอบเก่า เตรียม วิชาภาษาไทย <ลิงก์>
- ข้อสอบเก่า เตรียม วิชาสังคมศึกษา <ลิงก์>
แจกแนว วิทยาศาสตร์ ม.3 สอบเข้าม.4 โรงเรียน MWIT และ วมว.
- ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 1 <ลิงก์>
- ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 2 <ลิงก์>
- ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 3 <ลิงก์>
- ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 4 <ลิงก์>
- ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 5 <ลิงก์>
- ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 6 <ลิงก์>
- ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 7 <ลิงก์>
- ข้อสอบเก่า MWIT/วมว. ชุดที่ 8 <ลิงก์>
เก็บเกรดที่โรงเรียน : ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.3 เทอม 1
เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ม.3 เทอม 1
หน่วยที่ 1 วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา
หน่วยที่ 2 พันธุศาสตร์
บทที่ 1. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
- โครโมโซมและการค้นพบของเมนเดล
- โครโมโซมของมนุษย์และความผิดปกติทางพันธุกรรม
- สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
หน่วยที่ 3 คลื่นและแสง
บทที่ 1 คลื่น
- คลื่นกล
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
บทที่ 2 แสง
- การสะท้อนของแสง
- การหักเหของแสง
- ความสว่าง
หน่วยที่ 4 ระบบสุริยะของเรา
บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
- แรงโน้มถ่วงระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวบริวาร
- ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์
- ปรากฏการณ์ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์
- เทคโนโลยีอวกาศ
เก็บเกรดที่โรงเรียน : ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.3 เทอม 2
บทที่ 1 วงจรไฟฟ้า
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า
- การต่อวงจรไฟฟ้า
บทที่ 2 กำลังไฟฟ้า
บทที่ 3 แนวหลอดไฟ
บทที่ 4 การคิดค่าไฟและจำนวนยูนิต
บทที่ 5 ฟิวส์ไฟฟ้า
บทที่ 6 หม้อแปลงไฟฟ้า
บทที่ 7 ทฤษฎีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
2. ระบบนิเวศ
บทที่ 1 นิเวศวิทยา
- คำศัพท์พื้นฐานและประเภทของระบบนิเวศ
- ประชากร
- องค์ประกอบของระบบนิเวศ
- ความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ
- ห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหาร
- กระบวนการถ่ายทอดพลังงานและหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ
- วัฏจักรของสารในระบบนิเวศ
3. ปฏิกิริยาเคมีและวัสดุในชีวิตประจำวัน
บทที่ 1 พอลิเมอร์ เซรามิกและวัสดุผสม
- พอลิเมอร์
- พลาสติก
- เส้นใย
บทที่ 2 เซรามิกและวัสดุผสม
บทที่ 3 พื้นฐานสมการเคมี
- สมการเคมีพื้นฐาน
- ทฤษฎีการชน
- มวลกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
- การเปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อนจากปฏิกิริยาดูดและคายความร้อน
เทคนิคการตั้งเป้าหมายและการอ่านหนังสือให้ได้คะแนนเยอะ
- กำหนดเป้าหมาย อยากเข้าโรงเรียนไหน สายไหน
การตั้งเป้าหมายคือหัวใจหลักของความสำเร็จในชีวิต รวมถึงการสอบเข้าโรงเรียนดังตอน ม.4 ด้วยนะ น้อง ๆ อยากเข้าโรงเรียนไหนก็ตามอย่าลืมตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนกับตัวเองก่อน
- จัดตารางอ่านหนังสือให้เหมาะกับตัวเอง
การจัดตารางอ่านหนังสือควรจัดตามความเหมาะสมกับตัวเอง ทั้งวิชาที่ถนัด และเวลาที่เหมาะกับการอ่านหนังสือ เช่น เป็นคนที่ชอบอ่านตอนกลางคืน เพราะความสงบ แนะนำให้อ่านช่วง 1 ทุ่ม ถึง 4 ทุ่ม หรือจะตื่นมาอ่านตอนตี 4 ของรุ่งเช้าก็ได้
- เลือกอ่านวิชาที่ต้องทำความเข้าใจเยอะ ๆ ก่อน
การที่เลือกวิชาที่ต้องทำโจทย์เยอะ ๆ เพื่อทำความเข้าใจเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่น คณิต ฟิสิกส์ เคมี ภาษาอังกฤษ เพราะวิชาเหล่านี้เราต้องจำทั้งสูตรและการนำไปใช้ อย่าหาทำที่จะไปยัดเอาตอนใกล้สอบเพราะสูตรทั้งหมดจะตีกันในหัวน้อง แล้วก็จะไม่รู้ว่าควรทำยังไงกับสูตรเหล่านั้น หากในวิชาคำนวณ มีแต่วิชาที่เราไม่ชอบหรือไม่ถนัด ให้เราเลือกวิชาที่ยากที่สุดสำหรับเราเสริมไปกับวิชาที่คิดว่าทำได้ดี หรือคิดว่าเราเก็บได้แบบชิล ๆ หน่อย จะดีมาก โดยวิชาความจำควรเก็บไว้ท้าย ๆ แต่ถ้าน้อง ๆ ไม่ถนัดวิชานั้นก็อาจจะค่อย ๆ เก็บมาก็ได้ ไม่แนะนำให้อ่านทุ่มทีเดียวเพราะความจำจะไม่ได้จำได้ดีเท่าไรนัก
- การทำปรนัย ให้ได้คะแนนเยอะ
ถ้าน้อง ๆ รู้สึกว่าทำไม่ได้และต้องเดาจริง ๆ แนะนำว่าควรเลือกข้อที่แตกต่างที่สุด หรือมีความเชื่อมโยงกันในข้อสอบนั้น ๆ
- การทำอัตนัย ให้ได้คะแนนเยอะ
ย่อหน้าแรก ควรตอบอย่างตรงไปตรงมา ไม่ต้องน้ำเยอะ ส่วนเหตุผลรองค่อยนำมาใส่ในย่อหน้าต่อไป จากนั้นค่อยเสริมเหตุผลต่าง ๆ เข้าไปในย่อหน้าต่าง ๆ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
น้อง ๆ จะสอบเข้าแล้ว ควรเตรียมตัวยังไง ถึงจะไม่พลาด
ให้เน้นเก็บเนื้อหาที่ ม.1 และ ม.2 สำหรับวิชาคณิตศาสตร์ และเนื้อหาบางส่วนของ ม.3 ระดับความยากของแต่ละชั้นนั้นจะเฉลี่ยไปเท่า ๆ กัน ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์เน้นเก็บทุกบทและเน้นเจาะลึกบทสำคัญต่าง ๆ ที่บอกไว้ข้างต้น รวมถึงการติดตามข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวัน
เลข ม.1 -2 เรื่องไหนซับซ้อนสุด
ทุกเรื่องสามารถเพิ่มระดับความยากและซับซ้อนได้หมด ควรทำความเข้าใจแก่นของแต่ละเรื่องให้ดี เวลาเจอโจทย์ยากจะสามารถวิเคราะห์ได้ดีขึ้น
เก็บเนื้อหายังไงให้เวิร์ค ที่สุด
เรียนทฤษฎีให้แน่น จากนั้นฝึกโจทย์จากทฤษฎีนั้นให้มากที่สุดก่อนสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าเราเข้าใจเรื่องนั้นจริง ๆ
เรขาคณิต ม.1 ม.2 จะเน้นไปที่เรื่องไหนบ้าง
การสร้าง / วงกลม / เส้นขนาน / วงกลม / รูปทรงเรขาคณิต นอกจากนี้พี่ ๆ ขอแนะนำให้น้อง ๆ เก็บครอบคลุมไปถึงเนื้อหา ม.3 เพราะจากข้อสอบเก่าก็ยังออกมาให้เห็น เช่น เรื่องความคล้าย ที่ออกข้อสอบจริงไปเมื่อปีก่อนนั่นเอง
อยากสอบติด ต้องเก็งข้อสอบ จริงหรือ
อยากสอบติดควรแม่นเนื้อหา และตะลุยโจทย์ให้ครบจนเกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ แม้ว่าโจทย์จะพลิกมาอย่างไร น้อง ๆ ก็สามารถทำได้ การเก็งข้อสอบเพียงอย่างเดียว ทำให้น้องเห็นข้อสอบที่หลากหลายมากขึ้น แต่อาจทำให้ไม่เข้าใจเนื้อหานั้น ๆ ได้ดีพอ
การจะสอบติดโรงเรียนที่น้องต้องการนั้นไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หากน้อง ๆ มุ่งมั่นเพื่อเป้าหมายแล้วล่ะก็ ความสำเร็จก็คือผลงานอันเกิดจากความพยายามของตัวน้องเอง พี่ ๆ ATHOME ขอสนับสนุนทุกความฝันของน้อง ๆ ทุกคน ขอให้น้อง ๆ โชคดีกับการเตรียมตัวสอบที่ถูกทาง และเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างที่น้องต้องการนะคะ