ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ตารางธาตุ ที่เด็กม.ต้นและม.ปลาย ที่เรียนเคมีต้องเจอนั้นเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่หากจำได้จะช่วยให้การเรียนเคมีนั้นกลายเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยากอย่างที่คิดได้ น้อง ๆ หลายคนอาจเห็นแค่หน้าตาตารางก็เกิดถอดใจแล้ว แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะพี่ ๆ ATHOME ของเราได้รวบรวมเทคนิคการท่องตารางธาตุแบบง่าย ๆ ท่องแล้วจำได้ติดหัวไปตลอด แถมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับตารางธาตุที่มีประโยชน์มาก ๆ ในการเรียนวิชาเคมีอีกด้วยน้า
ตารางธาตุ 8 หมู่ ในปัจจุบัน
- จัดเรียงตามเลขอะตอม (จำนวน p+) จากน้อยไปมาก แบ่งธาตุออกเป็น 8 หมู่
ในแนวนอน และ 7 คาบ ในแนวดิ่ง เรียกว่า “กฎพีรีออดิก” - ตารางธาตุ แบ่งธาตุออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
ธาตุกลุ่ม A : เรียกว่าธาตุเรพรีเซนเตทีฟ (Representative Elements)
ธาตุกลุ่ม B : เรียกว่าธาตุทรานซิชัน (Transition Elements)
( ใส่รูป 1 )
สรุปประเด็นสำคัญ ตารางธาตุมีอะไรบ้าง
- ตารางธาตุแบ่งออกเป็น 8 หมู่ 7 คาบ
- เลขหมู่ของธาตุแสดงจำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุดและเลขคาบแสดงจำนวนระดับพลังงานของอิเล็กตรอน
- ธาตุอโลหะอยู่ด้านซ้าย อโลหะอยู่ด้านขวาและกึ่งโลหะอยู่ตรงขั้นบันได
- ไฮโดรเจนไม่จัดอยู่ในหมู่ใดของตารางธาตุ
- ธาตุหมู่ 1 เรียกว่า โลหะแอลคาไล หมู่ 2 เรียกว่า โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท หมู่ 6 เรียกว่า ชาลโคเจน หมู่ 7 เรียกว่า ฮาโลเจน หมู่ 8 เรียกว่า แก๊สเฉื่อย
- ธาตุโลหะทุกธาตุเป็นของแข็งที่ RTP (Room Temperature and Pressure : 25 ํ c 1 ATM) ยกเว้น ปรอท (มีสถานะเป็นของเหลว)
- โลหะหมู่ IA IIA ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีมากวางในอากาศไม่ได้การเก็บรักษาต้องวางไว้ในน้ำมัน
- โลหะหมู่ IIA มีชื่อว่าแอลคาไลน์เอิร์ทเพราะพบมากบนพื้นโลก
- หมู่ IB เป็นโลหะมีตระกูลคือไม่ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนในอากาศ(ไม่เกิดสนิม)
- ธาตุคาร์บอนเป็นอโลหะที่มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงมากเพราะยึดเหนี่ยวกันแบบโครงผลึกร่างตาข่าย
- โลหะทรานซิชันส่วนใหญ่มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง
วิวัฒนาการมาจนถึง ตารางธาตุในปัจจุบัน
- ตารางธาตุและกฎชุดสามของเดอเบอไรเนอร์ (Dobereiner’s Law of Triads)
ปี ค.ศ. 1789 อองตวน ลาวัวซิเยร์ (Antoine Lavoisier) นักเคมีชาวฝรั่งเศส ทำการจัดกลุ่มธาตุโดยจำแนกระหว่างธาตุโลหะ กับธาตุอโลหะ
ต่อมา โยฮันน์ วูลฟ์กัง เดอเบอไรเนอร์ (Johann Wolfang Döbereiner) นักเคมีชาวเยอรมันได้จัดกลุ่มธาตุเป็นชุดละ 3 ชนิด โดยเลขมวลเรียงจากน้อยไปมาก
การจัดกลุ่มธาตุเป็นชุดละ 3 แบบนี้เรียกว่า “กฎชุดสาม (Law of Triads)” แต่อย่างไรก็ตาม กฎชุดสามยังมีข้อจำกัดเนื่องจากสามารถใช้ได้กับธาตุเพียงบางกลุ่มเท่านั้น
ตัวอย่างการใช้กฎชุดสาม
( ใส่รูป 2 )
ตัวอย่างประกอบด้วย ลิเทียม (Li) โซเดียม (Na) และโพแทสเซียม (K) โดยมวลอะตอมของบนและล่างจะเท่ากับมวลอะตอมของธาตุที่อยู่ตรงกลาง
นอกจากนี้ เดอเบอไรเนอร์ สังเกตว่าคุณสมบัติของธาตุกับมวลอะตอมอาจมีความสัมพันธ์กันด้วย เนื่องจากลิเทียม โซเดียม และโพแทสเซียมต่างทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำได้ทั้งหมด
- ตารางธาตุของนิวแลนด์และกฎแปด (Newland’s Periodic* Table and Law of Octaves)
( ใส่รูป 3 )
จอห์น นิวแลนด์ (John Newlands) นักเคมีชาวอังกฤษจัดตารางธาตุขึ้นใหม่ โดยเพิ่ม ‘มวลอะตอม (Atomic Masses)’ เข้าไป โดยจะเรียงธาตุทีละ 8 ธาตุ จากมวลอะตอมน้อย→มากลงในตาราง
ตารางธาตุของนิวแลนด์ จะไม่มี ไฮโดรเจนกับแก๊สมีสกุล และธาตุตัวที่ 8 จะมีสมบัติคล้ายกับธาตุตัวที่ 1 ลักษณะการเรียงธาตุแบบนี้เรียกว่า “กฎแปด (Law of Octaves)”
ข้อจำกัดของตารางธาตุของนิวแลนด์ คือ ไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมวลอะตอมของธาตุกับสมบัติที่คล้ายกัน รวมถึงกฎแปดสามารถใช้พิจารณาถึงธาตุที่มีมวลอะตอม 40 คือ Ca เท่านั้น
- ตารางธาตุของดิมิทรี เมนเดเลเยฟ และโลทาร์ ไมเออร์ (Dmitri Mendeleev and Lothar Meyer’s Periodic Table)
( ใส่รูป 4 )
ดิมิทรี อิวาโนวิค เมนเดเลเยฟ (Dmitri Ivanovich Mendeleev) นักเคมีชาวรัสเซียจึงเริ่มบุกเบิกตารางธาตุสมัยใหม่ด้วยการเรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมาก จะพบว่าธาตุมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วง ๆ
การที่ธาตุต่าง ๆ มีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วงแบบนี้ เมนเดเลเยฟตั้งเป็นกฏเรียกว่า ‘กฎพิริออดิก (periodic law)’
- ตารางธาตุของเฮนรี โมสลีย์และตารางธาตุในปัจจุบัน
( ใส่รูป 5 )
ปีค.ศ. 1913 เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ทำการทดลองโดยใช้รังสีเอ็กซ์มาวัดความยาวคลื่นของธาตุต่าง ๆ จากนั้นหาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นกับเลขอะตอม
การทดลองนี้ทำให้โมสลีย์พบว่า “สมบัติของธาตุสัมพันธ์กับเลขอะตอมมากกว่ามวลอะตอม”
โมสลีย์ จึงเริ่มจัดเรียงตารางธาตุใหม่ ตามเลขอะตอมหรือประจุบวกในนิวเคลียส
เทคนิคท่องตารางธาตุ ท่องแบบนี้ไม่มีวันลืม
หมู่ 1A
สัญลักษณ์ | วิธีท่อง | ชื่อธาตุ |
Li | ไร | ลิเทียม |
Na | นะ | โซเดียม |
K | คะ | โพแทสเซียม |
Rb | รู | รูบิเดียม |
Cs | ซิ | ซิเซียม |
Fr | แฟรน | แฟรนเซียม |
หมู่ IIA
สัญลักษณ์ | วิธีท่อง | ชื่อธาตุ |
Be | บี้ | เบริลเลียม |
Mg | แมง | แมกนีเซียม |
Ca | คา | แคลเซียม |
Sr | เสา | สตอรนเชียม |
Ba | บา | แบเรียม |
Ra | ละ | เรเดียม |
หมู่ IIIA
สัญลักษณ์ | วิธีท่อง | ชื่อธาตุ |
B | บอล | โบรอน |
Al | อลูมิเนียม | |
Ga | แก | แกลเลียม |
In | อิน | อินเดียม |
Tl | ไทย | แทลเลียม |
หมู่ IVA
สัญลักษณ์ | วิธีท่อง | ชื่อธาตุ |
C | ซี | คาร์บอน |
Si | สิ | ซิลิกอน |
Ge | เจอ | เจอร์เมเนียม |
Sn | เอสเอน | ดีบุก |
Pb | พีบี | ตะกั่ว |
หมู่ VA
สัญลักษณ์ | วิธีท่อง | ชื่อธาตุ |
N | นะ | ไนโตรเจน |
P | พาส | ฟอสฟอรัส |
As | Asenic / สารหนู | |
Sb | แอน | Antimony / พลวง |
Bi | บิส | บิสมัธ |
หมู่ VIA
สัญลักษณ์ | วิธีท่อง | ชื่อธาตุ |
O | ออส | ออกซิเจน |
S | ซัลเฟอร์ | |
Se | ซี | ซีลีเนียม |
Te | ที | เทลลูเรียม |
Po | โป | พอโลเนียม |
หมู่ VIIA
สัญลักษณ์ | วิธีท่อง | ชื่อธาตุ |
F | แฟน | ฟลูออรีน |
Cl | คลับ | คลอรีน |
Br | โบ | โบรมีน |
I | ไอ | ไอโอดีน |
At | แอท | แอททาทีน |
หมู่ VIIIA
สัญลักษณ์ | วิธีท่อง | ชื่อธาตุ |
He | ฮี | ฮีเลียม |
Ne | นี | นีออน |
Ar | แอร์ | อาร์กอน |
Kr | ครู | คริปตอน |
Xe | เซิร์น | ซีนอน |
Rn | เรดอน |
วิธีจำธาตุทรานซิชัน
สัญลักษณ์ | วิธีท่อง | ชื่อธาตุ |
Sc | สตรี | สแกนเดียม |
Ti | ไทเทเนียม | |
V | วิทย์ | วาเนเดียม |
Cr | ขาย | โครเมียม |
Mn | หม้อ | แมงกานีส |
Fe | เหล็ก | เหล็ก |
Co | โค | โคบอลต์ |
Ni | นิ | นิเกิล |
Cu | คอป | ทองแดง |
Zn | ซิงค์ | สังกะสี |
ชื่อธาตุและสัญลักษณ์ของธาตุ
( ใส่รูป 6 )
ยุคใหม่ : จะใช้เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นสัญลักษณ์บางถ้าจะมีตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ตัวเดียวบางธาตุมีมากกว่า 1 ตัวอักษร ถ้าธาตุใดมีมากกว่า 1 ตัวอักษรจะใช้ตัวอักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และที่เหลือเป็นตัวพิมพ์เล็ก
ตัวอย่าง
ธาตุไฮโดรเจน = H ธาตุลิเทียม = Li ธาตุโบรอน = B ธาตุไนโตรเจน = N ธาตุฟลูออรีน = F ธาตุโซเดียม = Na ธาตุอลูมิเนียม = Al ธาตุฟอสฟอรัส = P ธาตุคลอรีน = Cl ธาตุโพแทสเซียม = K |
รู้จัก ตารางธาตุ เลขมวล เลขอะตอม มวลอะต
การระบุของธาตุโดยแสดง จำนวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน สามารถแสดงผ่าน
“สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ”
( ใส่รูป 7 )
- เลขมวล (Mass Number)
หมายถึงเลขจำนวนเต็มที่แสดงจำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสของธาตุ - เลขอะตอม (Atomic Number)
หมายถึงเลขจำนวนเต็มที่แสดงจํานวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุ - มวลอะตอม (Atomic Mass / Atomic Weight)
หมายถึงเลขทศนิยมอย่างน้อย 4 ตำแหน่งบอกถึงจำนวนเท่าของน้ำหนักอะตอมน้ำเทียบกับค่ามาตรฐาน (ซึ่งไม่มีหน่วย)
แนวโน้มสมบัติของธาตุตามตารางธาตุพร้อมชื่อ
- พลังงานไอออไนเซชัน : พลังงานน้อยที่สุดที่ใช้ในการดึง 1 อิเล็กตรอนออกจากธาตุในสภาวะก๊าซ
- ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี : ตัวเลขสมมุติที่แสดงความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนจากธาตุคู่พันธะ
- ความเป็นโลหะ : ความสามารถในการให้อิเล็กตรอนกับธาตุอื่นให้ได้ง่ายเป็นโลหะมาก
- ขนาดอะตอม หรือ รัศมีอะตอม : ครึ่งหนึ่งของระยะห่างระหว่างนิวเคลียสอะตอมหนึ่งถึงอะตอมหนึ่ง
- สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน : พลังงานที่อะตอมในสถานะแก๊สกายออกมาเมื่อได้รับอิเล็กตรอนเข้าไป 1 อิเล็กตรอน
- จุดเดือด / จุดหลอมเหลว : อุณหภูมิที่ทำให้ความดันไอเหนือของเหลวเท่ากับความดันบรรยากาศ
ตารางสรุปแนวโน้มสมบัติของธาตุตามหมู่ตามคาบ
( ใส่รูป 8 )
โจทย์พร้อมแบบฝึก
- ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ กฎพิริออดิก
- การจัดเรียงธาตุโดยแบ่งเป็นโลหะกับอโลหะ
- การจัดธาตุเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 ธาตุตามสมบัติที่คล้ายคลึงกัน
- เรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากพบว่าธาตุมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วง ๆ
- เรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากพบว่าธาตุที่ 8 จะมีสมบัติเหมือน กับธาตุที่ 1 เสมอ
เฉลย (3) เรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากพบว่าธาตุมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วง ๆ
2. ตารางธาตุในปัจจุบันใช้หลักการอะไรในการจัดธาตุเป็นหมวดหมู่
- เรียงตามลำดับมวลอะตอมจากน้อยไปมาก
- เรียงตามลำดับมวลโมเลกุลจากน้อยไปมาก
- เรียงตามลำดับเลขอะตอมจากน้อยไปมาก
- เรียงตามลำดับความเป็นโลหะและอโลหะ
เฉลย (3) เรียงตามลำดับเลขอะตอมจากน้อยไปมาก
3. กลุ่มของธาตุในข้อใดมีสมบัติเป็นโลหะ อโลหะและกึ่งโลหะ ตามลำดับ
- Li , Ca , F
- Na , S , B
- Al , C , N
- Si , Mg , Ne
เฉลย (2) Na , S , B
4. ธาตุในข้อใดเป็นกลุ่มธาตุ f-block
- ธาตุแอกทิไนด์
- ธาตุแทรนซิชัน
- ธาตุกัมมันตรังสี
- ธาตุเรพรีเซนเททีฟ
เฉลย (1) ธาตุแอกทิไนด์
5. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกันในตารางธาตุได้ถูกต้อง
- เป็นแถวของธาตุในแนวตั้ง
- เป็นธาตุที่มีสมบัติคล้าย ๆ กัน
- เป็นธาตุที่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน
- เป็นธาตุที่มีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน
เฉลย (4) เป็นธาตุที่มีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน
6. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของตารางธาตุในปัจจุบัน
- ธาตุกลุ่ม B มีสมบัติเป็นโลหะ
- ธาตุที่อยู่หมู่เดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน
- ธาตุหมู่ VIIIA มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาน้อยที่สุด
- ธาตุที่มีความเป็นโลหะมากที่สุดจะอยู่ทางซ้ายมือสุดของตารางธาตุ
เฉลย (2) ธาตุที่อยู่หมู่เดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน
7. ธาตุในข้อใดเป็นธาตุแฮโลเจน
- Mg
- Cl
- O
- Cu
เฉลย (2) Cl
8. ธาตุ Ca , Mg , Sr จัดเป็นธาตุในข้อใด
- โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท
- โลหะแอลคาไล
- ธาตุคาลโคเจน
- แก๊สเฉื่อย
เฉลย (1) โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท
9. ธาตุที่มีชื่อว่า Ununpentium ควรมีเลขอะตอมเท่าใด
- 115
- 116
- 117
- 118
เฉลย (1) 115
10. กำหนดธาตุ 3A , 10B , 12C และ 19D ธาตุใดมีสมบัติทางเคมีคล้ายกันที่สุด
- ธาตุ A และ B
- ธาตุ B และ C
- ธาตุ C และ D
- ธาตุ A และ D
เฉลย (4) ธาตุ A และ D
แนะนำข้อสอบ เรื่องตารางธาตุ พร้อมเฉลย
- ตารางธาตุ ข้อสอบ ทรูปลูกปัญญา
- แบบทดสอบความรู้ ตารางธาตุ Quizizz พร้อมเฉลย
- แบบทดสอบความรู้ โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุ Quizizz พร้อมเฉลย
- แบบฝึกหัด เคมี ม4 อะตอมและตารางธาตุ ข้อสอบพร้อมเฉลย ทรูปลูกปัญญา
- ข้อสอบ Pretest เรื่อง ตารางธาตุ เคมี ม.5
- รวมโจทย์ อะตอมและตารางธาตุ พร้อมเฉลย
- E-book แบบฝึกหัดเคมี เรื่อง โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
การอ่านตารางธาตุ ทำยังไง
อ่านตารางธาตุโดยเริ่มจากด้านซ้ายบนจนไปจบที่แถวสุดท้ายในแนวนอนใกล้ด้านขวาล่าง
วิธีจำตารางธาตุทรานซิชัน
สตรี-วิทย์-ขาย-หม้อ-เหล็ก-โค-นิ-คอป-ซิงค์
Sc – Ti- V-Cr-Mn-Fe-Co-Ni-Cu-Zn
กลุ่มทรานซิชัน คืออะไร
แก๊สเฉื่อย คือ อะไร
แก๊สเฉื่อย คือ ธาตุที่มีสถานะเป็นแก๊ส มีจุดเดือดต่ำ มีสมบัติไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี พบในชั้นบรรยากาศเพียงเล็กน้อย ได้แก่ ธาตุหมู่ที่ ๘ ในตารางธาตุ
IE คือ อะไร
ค่าพลังงานที่น้อยที่สุด ที่ใช้ในการดึงให้อิเล็กตรอนวงนอกสุด (เวเลนซ์อิเล็กตรอน) หลุดออกจากอะตอมหรือโมเลกุลที่อยู่ในสถานะก๊าซ
EN คือ อะไร
ค่าที่แสดงความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนของอะตอมคู่ที่เกิดพันธะที่จะรวมกันเป็นโมเลกุล
การศึกษาเรื่องตารางธาตุนั้นเป็นหัวข้อที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้สามารถทำการจัดธาตุเป็นหมู่และคาบ ทำให้ทราบสมบัติของธาตุในหมู่เดียวกันได้ สามารถที่จะทราบสมบัติต่าง ๆ จากธาตุในหมู่เดียวกัน นำไปทำนายสมบัติของธาตุต่าง ๆ ที่ยังไม่ทราบในปัจจุบันไว้ล่วงหน้าได้ ดังนั้นแล้วหากน้อง ๆ สามารถท่องจำตารางธาตุได้ แน่นอนว่าเคมีจะกลายเป็นเรื่องสนุกไปเลยแน่นอน แต่ถ้าน้องคนไหนยังท่องไม่ได้ก็ไม่ต้องท้อใจไปนะ ฝึกท่องบ่อย ๆ ก็จะค่อย ๆ จำได้เองนะคะ พี่ ๆ ATHOME ทุกคนเป็นกำลังใจให้เสมอน้า