วิทยาศาสตร์กายภาพ เป็นอีกหนึ่งวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในการใช้ประกอบการอธิบายทั้ง หลักการทางชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี โลกดาราศาสตร์ที่ทำให้เราสามารถตอบคำถามต่าง ๆ ในธรรมชาติได้ ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ซึ่งพี่ ๆ ATHOME ได้ทำการรวมเนื้อหาทั้งหมดของชั้นม.ปลาย พร้อมแบบฝึกหัดมาให้น้อง ๆ ที่อยากเตรียมตัวสอบได้ศึกษาเพื่อเพิ่มความเข้าใจนะคะ
วิทยาศาสตร์กายภาพ คือ
วิทยาศาสตร์กายภาพ คือ วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาล ในส่วนของสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เคมี ธรณีวิทยา และคณิตศาสตร์ ฯลฯ
วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.4 เรียนอะไรบ้าง
เนื้อหา วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.4
บทที่ 1 การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
- การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
บทที่ 2 การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์
- การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารในร่างกาย
- การรักษาดุลยภาพของกรด-เบสของเลือด
- การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิภายในร่างกาย
- ระบบภูมิคุ้มกัน
บทที่ 3 การดำรงชีวิตของพืช
- สารอินทรีย์ในพืช
- สารอินทรีย์ที่ไม่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
- ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
- การตอบสนอของพืชต่อสิ่งเร้า
บทที่ 4 พันธุกรรมและวิวัฒนาการ
- การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
- ยีนกับการควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม
- การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
- เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
- วิวัฒนาการและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
บทที่ 5 ชีวิตในสิ่งแวดล้อม
- ระบบนิเวศ
- มนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างแบบทดสอบ วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.4
- การที่โปรตีนลำเลียงในเยื่อหุ้มเซลล์มีความจำเพาะกับชนิดของสารที่ลำเลียงมีประโยชน์ต่อเซลล์อย่างไร
ตอบ การที่โปรตีนลำเลียงในเยื่อหุ้มเซลล์มีความจำเพาะกับชนิดของสารทำให้เซลล์สามารถ ควบคุมชนิดและปริมาณสารที่ผ่านเข้าออกได้อย่างเป็นระบบ เซลล์จึงรักษาความเข้มข้น ของสารแต่ละชนิดได้ตามความเหมาะสม
- จากการทดลองแช่ชิ้นมันฝรั่งขนาดเท่ากันในน้ำ กลั่นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นนำ ไปแช่ในสารละลายซูโครสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง โดยชั่งน้ำ หนักของชิ้นมันฝรั่งทุก ๆ 5 นาทีตั้งแต่เริ่มต้นการทดลอง เส้นกราฟ A หรือ B มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้เพราะเหตุใด
ตอบ กราฟ A มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้เนื่องจากน้ำ กลั่นมีความเข้มข้นต่ำกว่าสารละลาย ภายในเซลล์น้ำ จึงออสโมซิสเข้าสู่เซลล์ทำ ให้ชิ้นมันฝรั่งมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เมื่อย้ายชิ้น มันฝรั่งไปแช่ในสารละลายซูโครส ชิ้นมันฝรั่งมีน้ำ หนักลดลง แสดงว่าเซลล์สูญเสียน้ำ ซึ่งจะเป็นไปได้ในกรณีที่ความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายภายนอกเซลล์มีค่าสูงกว่า ภายในเซลล์
กราฟ B เป็นไปไม่ได้เนื่องจากกราฟแสดงน้ำ หนักของชิ้นมันฝรั่งลดลงตลอดเมื่อ แช่ในน้ำ กลั่น แต่ความเข้มข้นของสารละลายในเซลล์มันฝรั่งสูงกว่าน้ำ กลั่น เมื่อแช่ใน น้ำ กลั่นน้ำ จึงควรออสโมซิสเข้าสู่เซลล์และน้ำ หนักของชิ้นมันฝรั่งควรเพิ่มขึ้น
- จากภาพถ่ายเซลล์เม็ดเลือดขาวของหนูซึ่งถ่ายหลังจากหยดยีสต์ที่ย้อมด้วยสีนิวทรัลเรด ลงไป นักเรียนคิดว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวนำ ยีสต์เข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีใด ให้เหตุผลพร้อมทั้งวาด ภาพแสดงกลไกการลำเลียงที่เกิดขึ้น
ตอบ เซลล์เม็ดเลือดขาวนำ ยีสต์เข้าสู่เซลล์โดยเอนโดไซโทซิส เพราะยีสต์มีขนาดใหญ่
- เพราะเหตุใดผู้มีอาการท้องเสียแพทย์จะแนะนำ ให้ดื่มน้ำ ผสมผงละลายเกลือแร่ ORS (Oral Rehydration Salt) แทนการดื่มน้ำ สะอาด
ตอบ อาการท้องเสียทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และแร่ธาตุที่สำ คัญ เช่น โซเดียมคลอไรด์ โพแทสเซียมคลอไรด์ออกไปเป็นจำ นวนมาก ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุ ได้จากการดื่มน้ำ เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการดื่มน้ำ ผสมผงละลายเกลือแร่ ORS ที่มี ส่วนผสมของแร่ธาตุที่สำ คัญดังกล่าวจะเข้าไปชดเชยน้ำ และแร่ธาตุที่สูญเสียออกไปร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัวเข้าสู่สมดุลอีกครั้ง
- การใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืช มีผลดีและผลเสียอย่างไร
ตอบ
ผลดีคือ สามารถนำ ไปควบคุมการเจริญเติบโตของส่วนต่างๆ ของพืช เช่น เร่งราก เร่งยอด เร่งการสุกของผลไม้เป็นต้น และสามารถควบคุมผลผลิตได้ตามต้องการ
ผลเสีย คือ สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืชเหล่านี้มีต้นทุนในการผลิต หากนำ มาใช้ในการเกษตรต้องมีการวางแผนและคำ นวณความคุ้มค่าต่อการลงทุน มิฉะนั้นอาจทำ ให้ไม่คุ้มทุน
วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.5 เรียนอะไรบ้าง
เนื้อหา วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.5 เทอม 1
บทที่ 1 อากาศ
- องค์ประกอบในอาหาร
- องค์ประกอบในอะตอม
- ธาตุ
- การใช้ประโยชน์จากอากาศ
- มลพิษทางอากาศ
บทที่ 2 น้ำ
- โมเลกุลของน้ำ
- สารในแหล่งน้ำธรรมชาติ
- การละลายของสารในน้ำ
บทที่ 3 อาหาร
- ไขมันและน้ำมัน
- คาร์โบไฮเดรต
- โปรตีน
- วิตามินและเกลือแร่
- บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร
บทที่ 4 พลังงาน
- เชื้อเพลิง
- แบตเตอรี่
- สารกัมมันตรังสี
เนื้อหา วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.5 เทอม 2
บทที่ 1 การเคลื่อนที่และแรง
- การเคลื่อนที่แนวตรง
- แรงและการเคลื่อนที่
- การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ
บทที่ 2 แรงในธรรมชาติ
- แรงโน้มถ่วงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ รอบโลก
- สนามแม่เหล็กจากเส้นลวดที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน
- แรงแม่เหล็กที่กระทำ กับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าและเส้นลวดตัวนำ ที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน
- การเหนี่ยวนำ แม่เหล็กไฟฟ้า
- แรงอ่อนและแรงเข้ม
บทที่ 3 พลังงาน
- เซลล์สุริยะ
- พลังงานนิวเคลียร์
- เทคโนโลยีด้านพลังงาน
บทที่ 4 ปรากฏการณ์ของคลื่นกล
- คลื่นกล
- พฤติกรรมของคลื่น
- ความถี่ธรรมชาติ และการสั่นพ้อง
บทที่ 5 เสียง
- พฤติกรรมของเสียง
- การได้ยินเสียง
- ปรากฏการณ์อื่น ๆ ของเสียง
- ประโยชน์ของเสียงในด้านต่าง ๆ
บทที่ 6 แสงสี
- การมองเห็นสีของวัตถุ
- ตากับการเห็นสี
- การบอดสี
- แผ่นกรองแสงสี
- การผสมแสงสี
- การผสมสารสี
- การมองเห็นสีของวัตถุภายใต้แสงสีต่าง ๆ
- การนำ ไปใช้ประโยชน์ของสารสีและแสงสี
บทที่ 7 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- ส่วนประกอบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- หลักการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- การสื่อสารโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ตัวอย่างแบบทดสอบ วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.5
- เมื่อนำ กล่องโฟมบรรจุอาหารมาใส่อาหารผัดหรือทอด พบว่ามีรูรั่วเกิดขึ้น นักเรียนคิดว่า กล่องโฟมผลิตขึ้นมาจากสารมีขั้วหรือไม่มีขั้ว และจะอธิบายเหตุการณ์ดังกล่าวโดยใช้ หลักการ like dissolves like ได้อย่างไร
ตอบ กล่องโฟมผลิตขึ้นมาจากสารไม่มีขั้ว และรูรั่วที่เกิดขึ้นเกิดจากน้ำ มันซึ่งเป็นสารไม่มีขั้ว
ละลายกล่องโฟม
- ในกระบวนการทำมาการีนมีการใช้โลหะนิกเกิล เพื่อทำ ให้เกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนไขมัน ไม่อิ่มตัวของน้ำ มันพืชให้เป็นไขมันอิ่มตัวซึ่งเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง นักเรียนคิดว่า โลหะนิกเกิลทำ หน้าที่ใด
ตอบ โลหะนิกเกิลทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพราะนิกเกิลไม่ได้เป็นองค์ประกอบของไขมัน
อิ่มตัวซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์
- ถ้าเริ่มต้นมีสารกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งอยู่ 32 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 1 วัน จะเหลือสารนี้ 2 กรัม สารกัมมันตรังสีชนิดนี้มีครึ่งชีวิตเป็นเท่าใด
ตอบ สารนี้เหลือ 2 กรัม จากเริ่มต้น 32 กรัม แสดงว่า เวลาผ่านไป 4 ครึ่งชีวิต ซึ่งเป็นเวลา 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง ดังนั้นสารกัมมันตรังสีชนิดนี้จึงมีครึ่งชีวิต 6 ชั่วโมง
- เมื่อสาร A ทำ ปฏิกิริยากับสาร B เกิดเป็นสาร C และ D พบว่า ปฏิกิริยาเกิดขึ้นโดย สาร A ให้อิเล็กตรอนกับสาร B นักเรียนคิดว่าปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์หรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์ เพราะมีการถ่ายโอนอิเล็กตรอนระหว่างสารเคมีใน ปฏิกิริยา
- การทำ ให้แป้งขนมปังขึ้นฟู พบว่าการหมักแป้งขนมปังในหน้าหนาวใช้เวลามากกว่าใน หน้าร้อน เพราะเหตุใด
ตอบ ในหน้าหนาวมีอุณหภูมิต่ำ กว่า ปฏิกิริยาเคมีจึงเกิดช้ากว่า จึงต้องใช้เวลาในการหมักแป้ง
ขนมปังนานกว่า
วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.6 เรียนอะไรบ้าง
เนื้อหา วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.6
บทที่ 1 เอกภพ
- การกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ
- หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฏีบิกแบง
- กาแล็กซีและกาแล็กซีทางช้างเผือก
บทที่ 2 ดาวฤกษ์
- สมบัติของดาวฤกษ์
- กำเนิดและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์
บทที่ 3 ระบบสุริยะ
- กำเนิดระบบสุริยะและการแบ่งเขตบริวารรอบดวงอาทิตย์
- โครงสร้างและปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์
บทที่ 4 เทคโนโลยีอวกาศ
- เทคโนโลยีอวกาศกับการสำรวจอวกาศ
- เทคโนโลยีอวกาศกับการประยุกต์ใช้
บทที่ 5 โครงสร้างโลก
- ข้อมูลในการศึกษาและแบ่งชั้นโครงสร้างโลก
- การแบ่งชั้นโครงสร้างโลก
บทที่ 6 การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
- แนวคิดของทฤษฎีทวีปเลื่อนและหลักฐานสนับสนุน
- แนวคิดของทฤษฎีการแผ่ขยายพื้นสมุทรและหลักฐานสนับสนุน
- การแปรสัณฐานของแผ่นธรณ
- ธรณีสัณฐานและโครงสร้างทางธรณีที่เกิดจากการ
บทที่ 7 ธรณีพิบัติภัย
- ภูเขาไฟระเบิด
- แผ่นดินไหว
- สึนาม
ตัวอย่างแบบทดสอบ วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.6
- นักเรียนคนหนึ่งกล่าวว่า ดาวฤกษ์ทั้งหมดที่เห็นบนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ ในกาแล็กซีทางช้างเผือก นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ เห็นด้วย เพราะกาแล็กซีทางช้างเผือกมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับตัวเรา ดังนั้น ดาวฤกษ์ทั้งหมดที่เห็นบนท้องฟ้าจึงเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือก เรา ไม่สามารถมองเห็นดาวฤกษ์ในกาแล็กซีอื่นด้วยตาเปล่าได้เพราะดาวฤกษ์เหล่านั้นอยู่ไกล มาก เห็นได้เฉพาะกาแล็กซีเพื่อนบ้านได้แก่ กาแล็กซีแอนดรอเมดา กาแล็กซีแมเจลแลน ใหญ่ และกาแล็กซีแมเจลแลนเล็ก
- โชติมาตรปรากฏและค่าโชติมาตรสัมบูรณ์ของดาวมีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ โชติมาตรปรากฏของดาวเป็นตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กับความส่องสว่างของดาว ที่มองเห็นได้จากโลก แต่โชติมาตรปรากฏไม่สามารถนำ มาเปรียบเทียบกำ ลังส่องสว่างของ ดาวฤกษ์ได้เนื่องจากดาวแต่ละดวงอยู่ห่างจากโลกแตกต่างกัน เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกำ ลัง ส่องสว่างของดาวฤกษ์ได้จึงได้มีการกำ หนดค่า โชติมาตรสัมบูรณ์เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกำ ลัง ส่องสว่างของดาวฤกษ์ที่ระยะห่างจากโลกเท่ากัน โดยเปรียบเทียบกำ ลังส่องสว่างของดาวฤกษ์ เมื่อกำ หนดให้ดาวฤกษ์อยู่ห่างจากโลกเท่ากับ 10 พาร์เซก หรือประมาณ 32.6 ปีแสง
- ความส่องสว่างของดาวฤกษ์ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน อย่างไร
ตอบ ความส่องสว่างของดาวฤกษ์ขึ้นอยู่กับกำ ลังส่องสว่างของดาวฤกษ์และระยะ ห่างของดาวฤกษ์กับผู้สังเกต โดยดาวที่มีกำ ลังส่องสว่างมากจะมีความส่องสว่างมากกว่า ดาวฤกษ์ที่มีกำ ลังส่องสว่างน้อยเมื่อห่างจากผู้สังเกตในระยะทางที่เท่ากัน นอกจากนี้ ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับผู้สังเกตจะมีความส่องสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ที่อยู่ไกล
- เพราะเหตุใดเมื่อมองจากโลกนักเรียนจึงเห็นดวงอาทิตย์สว่างกว่าดาวซิริอัสทั้งที่ดาวซิริอัส มีกำลังส่องสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์
ตอบ เมื่อเปรียบเทียบโชติมาตรปรากฏของดวงอาทิตย์และดาวซิริอัส พบว่า ดวงอาทิตย์มีค่าโชติมาตรปรากฏ -26.7 ส่วนดาวซิริอัสมีค่าโชติมาตรปรากฏ -1.46 ดังนั้น ผู้สังเกตบนโลกจะเห็นดวงอาทิตย์มีความส่องสว่างมากกว่าดาวซิริอัส
- เนบิวลามีความสัมพันธ์กับดาวฤกษ์อย่างไร
ตอบ เนบิวลา คือ กลุ่มแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียมที่เกิดจากบิกแบง เรียกว่า เนบิวลา ดั้งเดิมและเกิดจากซูเปอร์โนวาหรือเกิดจากดาวฤกษ์ขนาดใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ที่ เป็นต้นกำ เนิดเนบิวลาดาวเคราะห์ที่สาดกระจายออกสู่อวกาศไปรวมกับเนบิวลาดั้งเดิม กลายเป็นเนบิวลารุ่นใหม่ซึ่งจะมีองค์ประกอบเป็นฝุ่นและแก๊สต่าง ๆ รวมตัวกันเป็น ดาวฤกษ์ เนบิวลาเกี่ยวข้องกับดาวฤกษ์เพราะแรงโน้มถ่วงทำ ให้เนบิวลากลายเป็น ดาวฤกษ์และบั้นปลายชีวิตของดาวฤกษ์จะมีซากเป็นเนบิวลาด้วย
เก็งข้อสอบวิทยาศาสตร์กายภาพ ม.ปลาย ออกเรื่องไหนบ้าง
- พันธุกรรม
- สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
- อยู่ดีมีสุข
- อยู่อย่างปลอดภัย
- ธาตุและสารประกอบ
- ปฏิกิริยาเคมี
- สารชีวโมเลกุล
- ปิโตรเลียม
- พอลิเมอร์
- การเคลื่อนที่
- แรงในธรรมชาติ
- คลื่นกล
- เสียง
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- พลังงานนิวเคลียร์
- โครงสร้างโลก
- การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
- แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด
- ธรณีประวัติ
- กำเนิดเอกภพ
- ดาวฤกษ์
- ระบบสุริยะ
- เทคโนโลยีอวกาศ
ข้อสอบ : 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ จำนวน 50 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
ตัวอย่างแบบทดสอบ วิทยาศาสตร์กายภาพ เข้ามหาวิทยาลัย
- ลักษณะใดต่อไปนี้ ที่เป็นการแปรผันแบบต่อเนื่อง
- การมีลักยิ้ม การมีติ่งหู
- สีผิว ความสูง
- ความถนัดซ้ายขวา ความห่างของคิ้ว
- การห่อลิ้น สีผิว
- การมีติ่งหู การห่อลิ้น
เฉลย (2) สีผิว ความสูง
2. การผสมกันระหว่าง AaBbCc x AaBbCc จะมีโอกาสที่จะได้ลูกผสมที่เป็นโฮโมไซกัสจากยีนด้อยเท่ากับเท่าใด
- 1/64
- 1/32
- 1/16
- ⅛
- 1/4
เฉลย (1) 1/64
3. ข้อใดไม่ใช่การรักษาสิ่งแวดล้อม
- ไบรอันทำการแยกขยะทุกครั้งก่อนทิ้งในถังขยะ
- น้ำตาลนำขวดพลาสติกใสมาใส่น้ำดื่มอีกหลาย ๆ ครั้ง
- นิ้งใช้ถุงผ้าในการช้อปปิ้งในตลาดแทนการใช้ถุงพลาสติก
- หยาดฟ้านิยมซื้อขนมที่ห่อด้วยใบตองแทนการห่อด้วยถาดโฟม
- แนทมักปิดไฟทุกครั้งตอนที่ไม่ได้ใช้
เฉลย (2) น้ำตาลนำขวดพลาสติกใสมาใส่น้ำดื่มอีกหลาย ๆ ครั้ง
4. ข้อใดเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนมากที่สุด
- สิธาใช้ทรัพยากรตามที่กฎหมายกำหนด
- ชัยวุฒิใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
- จอมขวัญใช้ทรัพยากรตามที่อินเทอร์เน็ตสอน
- วีณาใช้ทรัพยากรหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน
- ชัชชัยใช้ทรัพยากรเพื่อการเกษตรเพียงอย่างเดียว
เฉลย (2) ชัยวุฒิใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
5. อาหารประเภทหมักดองนั้นจะมีการสูญเสียคุณค่าสารอาหารในข้อใดมากที่สุด
- ไขมัน
- คาร์โบไฮเดรต
- โปรตีน
- น้ำ
- วิตามิน
เฉลย (5) วิตามิน
รีวิวข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป วิทยาศาสตร์กายภาพ
PART เคมี
ธาตุและสารประกอบ
จากสถิติข้อสอบเก่าแล้วนั้น บทนี้เป็นบทที่ออกบ่อย และค่อนข้างออกเยอะ อย่างน้อยก็ 3 ข้อขึ้นไป รายละเอียดที่ออกคือ การหาจำนวนนิวตรอน จำนวนอิเล็กตรอน จากเลขมวลหรือเลขอะตอมที่โจทย์ให้มา
วาเลนซ์อิเล็กตรอน
อิเล็กตรอนวงนอกสุดที่สามารถทำนายหมู่ของธาตุได้ เป็นหัวข้อที่สำคัญมาก แนะนำให้ทำความเข้าใจและเก็บหัวข้อนี้ให้แม่น ๆ
พันธะเคมี
ส่วนใหญ่จะออกเป็นเนื้อหาเรื่อง พันธะโคเวนต์คืออะไร มีลักษณะอย่างไร เกิดขึ้นยังไง สมบัติของสารประกอบโคเวเลนต์เป็นยังไง แน่นอนว่าน้อง ๆ ต้องจำของพันธะไออนิกและพันธะโลหะควบคู่ไปด้วยนะคะ
กรด-เบส
อ่านทำความเข้าใจพื้นฐานของกรดและเบส แนะนำให้จำตัวอย่างต่าง ๆ ที่ในหนังสือสสวท.แนะนำเอาไว้เลย มีเปอร์เซ็นต์ที่ข้อสอบจะออกตามหนังสือเยอะมาก ๆ
ปฏิกิริยาเคมี
แนะนำให้น้อง ๆ ทำความเข้าใจหัวข้อใหญ่ ๆ และเลือกจำปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญในเรื่องนี้จากในหนังสือสสวท.เป็นหลัก รวมถึงในแบบฝึกหัดท้ายบทด้วย
การหาค่าครึ่งชีวิต
หัวข้อนี้ยังไงก็ห้ามทิ้งเด็ดขาดเลยเพราะมันไม่ซับซ้อนและสูตรไม่ได้ยาก บางข้อแค่วาดแผนภาพการสลายตัวอออกมาก็สามารถหาคำตอบได้เช่นเดียวกัน แนะนำเก็บหัวข้อนี้ไปด้วยนะคะ
พอลิเมอร์
บทนี้น้อง ๆ หลายคนอาจจะรู้สึกว่าพอลิเมอร์มีหลายชนิดมาก จำยังไงก็จำได้ไม่หมด พี่ขอแนะนำให้เลือกจำเฉพาะชนิดที่สำคัญกรณีที่น้องเป็นคนที่เหลือเวลาเตรียมตัวไม่มาก และควรแยกประเภทของเทอร์โมพลาสติก กับ เทอร์โมเซตพลาสติกให้ได้
การทดสอบสารอาหาร
เรื่องนี้ไม่ต้องจำรายละเอียดเยอะ เพียงเลือกจำคอนเซปต์ต่าง ๆ แนะนำให้จำไปทุกสารอาหารเพราะมีโอกาสเท่า ๆ กันในการเลือกออก ยิ่งไปกว่านั้นแนะนำให้จำข้อจำกัดของสารอาหารแต่ละชนิดด้วยจะได้ไม่โดนโจทย์หลอกง่าย ๆ
PART ชีวะ
โจทย์ UNSEEN
พาร์ทนี้จะออกเยอะมากกว่าทุกปี เน้นไปที่การอ่านจับใจความ แนะนำว่าน้อง ๆ ควรทำความเข้าใจคำว่า ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุมให้ละเอียดนะคะ เพราะส่วนใหญ่ข้อสอบแนวบทความมักจะเป็นการทดลองมา แล้วถามเกี่ยวกับการทดลองนั้น ๆ บางบทความสามารถออกนอกเหนือบทเรียนได้เพราะข้อมูลต่าง ๆ ได้ให้มาในบทความนั่นเอง ตรงนี้ถ้าน้อง ๆ อยากรักษาเวลาในการทำข้อสอบ พี่ ๆ แนะนำให้อ่านโจทย์ก่อน แล้วค่อยกลับไปอ่านในบทความจะช่วยให้เราจับใจความได้ว่าต้องตามหาข้อมูลส่วนไหน
การเปลี่ยนแปลงปฐมภูมิ ทุติยภูมิ
ออกทุกปี ควรเก็บให้ได้ ควรทำความเข้าใจ
การแบ่งเซลล์และการบอกระยะของการแบ่งเซลล์
บทนี้อาจจะต้องจำอย่างละเอียดและเข้าใจ แนะนำให้จำแล้ววาดออกมาเป็นภาพเลยว่าการแบ่งเซลล์แต่ละระยะเกิดอะไรขึ้นภายในเซลล์ ภายในนิวเคลียส รวมถึงจำได้ว่าโครโมโซมเกิดปรากฏการณ์สำคัญอะไรบ้าง และจำนวนโครโมโซมเท่ากับเท่าใด
การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์
บทนี้จะเน้นไปที่การมองภาพเป็นหลัก แนะนำว่าน้อง ๆ ควรอ่านและทำความเข้าใจเรื่องการส่งออกสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ของทั้งสารขนาดเล็กและขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังควรจำว่าตัวอย่างการลำเลียงสารประเภทนั้น ๆ เกิดขึ้นบริเวณใดของเซลล์ด้วย
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
เน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงและตอบสนองเพื่อรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์และสัตว์ เช่น ของปีก่อนออกเป็นการที่คนเราเกิดอาการขาดน้ำ ต้องการน้ำเพิ่มขึ้นจะเกิดกลไกในร่างกายอะไรได้บ้าง
การจับคู่แอลลีนลักษณะทางพันธุกรรม และกรุ๊ปเลือด
เรื่องนี้เป็นพันธุศาสตร์พาร์ทคำนวณที่เก็บไม่ยาก แนะนำให้ทำให้ได้ก่อนเข้าห้องสอบเลยจริง ๆ เพราะเตรียมแล้วค่อนข้างคุ้มค่าเนื่องจากออกสอบทุกปีเลยก็ว่าได้
PART ฟิสิกส์
แรงและการเคลื่อนที่
เรื่องของความเร่งและความเร็ว ขอให้อ่านให้เข้าใจถึงความแตกต่างและจำสูตรให้ได้ ซ้อมคำนวณก็สามารถทำได้
กฎของนิวตันเกี่ยวกับแรง
แรงในกฎของนิวตันนั้นมีอยู่สามข้อ ตรงนี้เราควรทำความเข้าใจในนิยามของแต่ละกฎให้เข้าใจ รวมถึงต้องระวังจุดที่หลายคนมักเข้าใจผิด ปีนี้เน้นออกไปที่แรงกิริยากับแรงปฏิกิริยาเป็นหลัก ขอให้น้องทำความเข้าใจถึงตัวนิยามให้แม่น ๆ และฝึกทำโจทย์เพื่อเพิ่มความเข้าใจ
สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า
การเคลื่อนที่ของโปรตอนและอิเล็กตรอนว่าจะไปในทิศทางใด อาจใช้กฎมือขวามาช่วยได้เช่นกัน
ปฏิกิริยานิวเคลียร์
สูตร E=mc2 รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากในหนังสือสสวท.ได้เลย
สเปกตรัม แสงสีปฐมภูมิ
เป็นพาร์ททั่วไปที่ออกเป็นประจำทุกปีเดิม ๆ เลยอ่านไปเลยค่ะออกแน่นอน
เซลล์สุริยะ
บทนี้ค่อนข้างเน้นไปที่ความจำและความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำงานเป็นหลัก แนะนำให้ไปอ่านเนื้อหาเรื่องเซลล์สุริยะในหนังสือสสวท.ได้เลย ถ้าจำทั้งหมดนั้นได้เรื่องเซลล์สุริยะน้องเก็บแต้มได้แน่นอน
ปฏิบัพ บัพ
เรื่องเสียงและคลื่นแนะนำให้ทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบัพและปฏิบัพ รวมถึงการใช้สูตรให้คล่อง ถ้าน้อง ๆ ไม่มั่นใจว่าตัวอย่างจะทำโจทย์เพียงพอไหมอาจจะไปดูวิชาฟิสิกส์ของสายวิทย์ก็ได้เช่นกัน
PART โลกและอวกาศ
โครงสร้างโลก
เนื้อหาส่วนนี้ต้องอาศัยความจำเยอะหน่อย จำว่าโครงสร้างแต่ละชั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร มีคุณลักษณะพิเศษอย่างไรบ้าง
การแปรสัณฐาน
บทนี้ไม่ยากเท่าใดนัก แนะนำให้อ่านเรื่องสัญลักษณ์เกี่ยวกับการแปรสัณฐานที่มีในหนังสือสสวท.เป็นหลัก สามารถเก็บคะแนนได้ไม่ยาก
ดาวฤกษ์
บทนี้แอบโหดเหมือนกันนะ เพราะเรื่อง ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะออกเป็นบทความยาว ๆ ต้องอ่านเยอะหน่อย แนะนำให้อ่านโจทย์ก่อน จากนั้นค่อยกลับมาดูโจทย์ ใครไม่อยากคะแนนน้อยแนะนำอย่าพลาด บทดาวฤกษ์นี้เด็ดขาด ออกเยอะมากจริง ๆ
อุตุนิยมวิทยา
เป็นบทที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ความกดอากาศ ลักษณะภูมิอากาศ รวมถึงการเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางสภาพอากาศทั้งการเกิด ลม พายุ ฝน และหยาดน้ำฟ้าต่าง ๆ
กระแสน้ำอุ่น-เย็น
บทนี้แนะนำให้อ่านให้เข้าใจ เรื่อง การไหลเวียน ของกระแสน้ำ ทั้งกระแสน้ำอุ่น และกระแสน้ำเย็น แต่ข้อสอบค่อนข้างออกกว้าง ถ้ามีเวลาไม่มาก แนะนำให้อ่านคร่าว ๆ เพื่อให้เข้าใจ คอนเซปต์ก็เพียงพอแล้ว
ส่วนการอ่านแล้ววิเคราะห์เพื่อตอบคำถาม
พาร์ทนี้เน้นการอ่านบทความที่เขาให้มาจากโจทย์ จากนั้นเราต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ถึงความเชื่อมโยงกับสิ่งที่โจทย์ต้องการถาม จากนั้นก็นำไปตอบคำถามนั้น ๆ ทริคง่าย ๆ คือลองสแกนบทความคร่าว ๆ ก่อนอย่าเพิ่งอ่านทั้งหมด จากนั้นกลับไปอ่านคำถามที่โจทย์ต้องการจากนั้นค่อยอ่านบทความค่ะ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
วิทยาศาสตร์กายภาพ มีอะไรบ้าง
ชีววิทยา / เคมี / ฟิสิกส์ / โลกดาราศาสตร์และอวกาศ
วิทยาศาสตร์กายภาพ เรียนเกี่ยวกับอะไร
วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาล
วิธีเพิ่มคะแนน วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ
เน้นไปที่การทำแบบฝึกหัดท้ายบทในหนังสือสสวท. และทำสรุปโน้ตย่อแต่ละบทเอาไว้อ่านทบทวนช่วงใกล้สอบ
บทเรียนเรื่องต่าง ๆ ในวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตใกล้ตัวเรา อาศัยองค์ความรู้สำคัญ ทั้งชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์และโลกดาราศาสตร์ ดังนั้นแล้วเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ พี่ ๆ ATHOME ขอแนะนำให้น้อง ๆ เรียนและจินตนาการภาพตามไปด้วย จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจได้ดีมากขึ้นนะคะ