Search
Close this search box.

ตะลุยแนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.1 พร้อมเฉลยละเอียดยิบ

Home > วิทยาศาสตร์ทั่วไป > ตะลุยแนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.1 พร้อมเฉลยละเอียดยิบ
เขียนโดย :
โพสต์เมื่อ :

อ่านสรุปตรงนี้ได้เลย

เนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์ในชั้นม.ต้น ส่วนใหญ่จะถูกนำไปต่อยอดในวิชาฟิสิกส์ เคมีและชีววิทยาที่น้องๆจะได้เรียนกันตอนม.ปลายด้วย เพราะฉะนั้นถ้าน้องๆเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ การเรียนตอนม.ปลายก็จะไม่ยากจนเกินไปนัก เรามาดูกันว่าแนวข้อสอบวิชาวิทยาศาตร์ ม.1 ทั้งเทอม 1 และเทอม จะเป็นยังไง

แนวข้อสอบวิทยาศาตร์ ม.1 เทอม 1

วิชาวิทยาศาสตร์ม.1 เทอม 1 เราจะได้เริ่มปูพื้นฐานตั้งแต่กระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กันเลยทีเดียว แม้ว่าข้อสอบไม่ได้เน้นบทนี้มากนัก แต่ก็ทำให้เราได้เห็นถึงทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ว่ามีมีการสร้างองค์ความรู้ต่างๆขึ้นมาได้อย่างไร นอกจากนี้ยังได้มาทำความรู้จักกับสารบริสุทธิ์ ซึ่งในบทนี้เริ่มมีการคำนวณเข้ามาแล้ว อาศับความเข้าใจแต่ยังไม่ซับซ้อน และเรายังได้เรียนเรื่องหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงการดำรงชีวิตของพืชอีกด้วย 

ตัวอย่างแนวข้อสอบ “เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร”พร้อมเฉลย

  1. วิทยาศาสตร์มีความหมายว่าอย่างไร

ตอบ วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ที่ได้จากการสังเกต ค้นคว้า ศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าถูกต้องเป็นความจริง จนได้เป็นหลักฐานและเหตุผล และนำข้อมูลต่างๆเหล่านั้น มาจัดอย่างเป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่


  1. การสังเกตของนักวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดสิ่งใดเป็นอันดับแรก

ตอบ ปัญหา 


  1. กระบวนการวิทยาศาตร์มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ตอบ 1. การสังเกตและระบุปัญหา

2. การตั้งสมมติฐาน

3. วางแผนและการสำรวจหรือการทดลองและการเก็บข้อมูล

4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างคำอธิบาย

5. การสรุปผลและสื่อสาร 


  1. ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีอะไรบ้าง

ตอบ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย


  1. สมมติฐานทางวิทยาศาสตร์จะเปลี่ยนเป็นทฤษฎีเมื่อใด

ตอบ เมื่อสมมติฐานนั้นมีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงทุกครั้ง


ตัวอย่างแนวข้อสอบ “สารบริสุทธิ์”พร้อมเฉลย

  1. นำของเหลว 3 ชนิดไปให้ความร้อนและบันทึกผลอุณหภูมิทุกๆ หนึ่งนาที จากนั้นนำข้อมูลมาเขียนกราฟความสัมพันธ์ ระหว่างการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสารกับเวลา ได้ดังนี้

( ใส่รูป 1 ) 

ข้อใดสรุปถูกต้อง 

ก. สาร A เป็นสารผสม ส่วนสาร B และ C เป็นสารบริสุทธิ์

ข. สาร C เป็นสารบริสุทธิ์ ส่วนสาร A และ B เป็นสารผสม

ค. สารทั้งสามชนิดเป็นสารบริสุทธิ์

ง.  สารทั้งสามชนิดเป็นสารผสม 

ตอบ ตอบ ข.  สาร C เป็นสารบริสุทธิ์ ส่วนสาร A และ B เป็นสารผสม

เพราะการทดลองนี้นำสารทั้งสามชนิดไปให้ความร้อน เพื่อสังเกตอุณหภูมิและจุดเดือด จากบทเรียน เรารู้แล้วว่าสารบริสุทธิ์นั้น เมื่อถึงจุดเดือดอุณหภูมิจะคงที่ ซึ่งแตกต่างจากสารผสม ถึงแม้ว่าจะถึงจุดเดือดแล้วก็ตาม อุณหภูมิก็จะยังไม่คงที่ จากกราฟจะเห็นว่า 

สาร A อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นสารผสม

สาร B อุณหภูมิก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่คงที่ จึงจัดเป็นสารผสมเช่นกัน

สาร C อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวินาทีที่ 14 เป็นต้นไปอุณหภูมิหยุดและคงที่ที่  60 องศาเซลเซียส 

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สาร C เป็นสารบริสุทธิ์ ส่วนสาร A และ B เป็นสารผสม 


  1. พิจารณาข้อมูลจากกราฟแล้วตอบคำถาม 

( ใส่รูป 2 ) 

ถ้านำวัตถุทั้งสามชนิดหย่อนลงในน้ำมันพืชที่มีความหนาแน่น 0.90 g/cm3 วัตถุชนิดใดลอยในน้ำมันพืชได้ 

ก. A และ B 

ข. A และ C

ค. B และ C

ง. A B และ C

ตอบ ข้อ B และ C 

จากข้อมูลที่โจทย์ให้ ความหนาแน่นของน้ำมันพืช คือ 0.90 g/cm3 ถ้าความหนาแน่นของวัตถุมีมากกว่าน้ำมันพืชจะจมน้ำมัน แต่ถ้าความหนาแน่นของวัตถุน้อยกว่าจะลอยน้ำมัน จากกราฟเราสามารถคำนวณความหนาแน่นของวัตถุได้โดยใช้สูตร D=MV  ซึ่งความหมายของตัวย่อแต่ละตัว คือ 

D หมายถึง ความหนาแน่น

M หมายถึง มวล (กรัม)

V หมายถึง ปริมาตร (ลูกบาศก์เซนติเมตร)

( ใส่รูป 3 ) 

ความหนาแน่นของสาร A =  1g.0.8 cm3= 1.25 g/cm3 

ดังนั้น ความหนาแน่นของสาร A มากกว่าน้ำมัน จึงจมน้ำมัน

ความหนาแน่นของสาร B =  2g.2.8 cm3= 0.71 g/cm3

ดังนั้น ความหนาแน่นของสาร B น้อยกว่าน้ำมัน จึงลอยในน้ำมัน

ความหนาแน่นของสาร C =  3g.3.8 cm3=0.79 g/cm3

ดังนั้น ความหนาแน่นของสาร C น้อยกว่าน้ำมัน จึงลอยในน้ำมัน

สรุปจากกราฟจึงได้ว่า สาร B และ C  ลอยในน้ำมันได้


  1. จากตารางต่อไปนี้ สารตัวใดเป็นสารประกอบและสารตัวใดเป็นธาตุ
    ( ใส่รูป 4 ) 

ตอบ ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยธาตุหรือสารชนิดเดียว ส่วนสารประกอบ คือ สารที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ ๒ ธาตุขึ้นไปมารวมตัวกันโดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี และมีอัตราส่วนผสมคงที่เสมอ

จากตารางจึงสรุปได้ว่า 

สารประกอบ ได้แก่ กรดน้ำส้ม, แมกนีเซียมคลอไรด์, ปูนขาวหรือแคลเซียมออกไซด์

ธาตุ ได้แก่ โอโซน, แก๊สคลอรีน, แก๊สฮีเลียม, เงิน


  1. ธาตุในแต่ละกลุ่มมีสมบัติทางกายภาพเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร จงเขียนอธิบายโดยใช้แผนภาพเวนน์ 

ตอบ สมบัติของโลหะ อโลหะและกึ่งโลหะเป็นดังแผนภาพ
( ใส่รูป 5 ) 


  1. การผลิตกระป๋องน้ำอัดลมโดยการรีไซเคิลอลูมิเนียม ใช้พลังงานน้อยกว่าการผลิตกระป๋องจากแร่ที่สกัดใหม่ถึง 20 เท่า แนวทางการนำธาตุอลูมิเนียมโดยการใช้วัสดุรีไซเคิล เป็นผลดีต่อมนุษยชาติอย่างไร 

ตอบ เป็นผลดี เพราะใช้พลังงานน้อยกว่า จึงเป็นการประหยัดพลังงาน ต้นทุนและทรัพยากรธรรมชาติ และยังลดการเกิดขยะจากการผลิตกระป๋องอลูมิเนียมสกัดใหม่ 


ตัวอย่างแนวข้อสอบ “หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต” และ “การดำรงชีวิตของพืช”พร้อมเฉลย

( ใส่รูป 6 ) 

  1. ส่วนประกอบใดของเซลล์ที่พบทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

ก. นิวเคลียส

ข. ผนังเซลล์

ค. คลอโรฟิลล์

ง. คลอโรพลาสต์

ตอบ  ข้อ ก. นิวเคลียส เพราะพบได้ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ส่วนผนังเซลล์, คลอโรฟิลล์และคลอโรพลาสต์พบได้เฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้น


  1. การลำเลียงน้ำของพืช เรียงลำดับขั้นตอนอย่างไร

ตอบ น้ำ —> ขนราก —> ไซเล็ม(ท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ) —> เส้นใบ —> ปากใบ (คายน้ำ)


  1. พิจารณาสมการการสังเคราะห์ด้วยแสง
    ( ใส่รูป 7 ) 

ข้อใดกล่าวถึงแก๊ส A และ B ได้ถูกต้อง

ก. แก๊ส A ทำให้ติดไฟ, แก๊ส B ทำให้น้ำปูนใสขุ่น

ข. แก๊ส A ทำให้น้ำปูนใสขุ่น, แก๊ส B ได้จากการหายใจของสัตว์

ค. แก๊ส A ทำให้น้ำปูนใสขุ่น, แก๊ส B ใช้การหายใจของพืช

ง. แก๊ส A ทำให้ติดไฟ, แก๊ส B ใช้การหายใจของสัตว์

ตอบ ข้อ 3 แก๊ส A ทำให้น้ำปูนใสขุ่น, แก๊ส B ใช้การหายใจของพืช

เพราะในกระบวนการสังเคราะห์แสง แก๊สที่เกี่ยวข้องคือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (แก๊ส A) และแก๊สออกซิเจน (แก๊ส B) ซึ่งคุณสมบัติของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คือ ทำให้น้ำปูนใสขุ่น, ได้จากการหายใจของสัตว์ ส่วนคุณสมบัติของออกซิเจน คือ ทำให้ติดไฟ, ใช้ในกระบวนการหายใจของพืชและสัตว์


  1. ออร์แกเนลล์ในข้อใดทำหน้าที่ควบคุมปริมาณและชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ 

ก. ผนังเซลล์

ข. นิวเคลียส

ค. เยื่อหุ้มเซลล์

ง. เยื่อหุ้มนิวเคลียส

ตอบ ค. เยื่อหุ้มเซลล์ 

  • ผนังเซลล์มีประโยชน์ คือ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์ 
  • นิวเคลียสเป็นส่วนเก็บสารพันธุกรรม ได้แก่ DNA และ RNA 
  • เยื่อหุ้มนิวเคลียส ใช้สำหรับส่งออกสารจำพวก DNA และ RNA ออกนอกเซล์

  1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช

ก. การตอบสนองจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เสมอ

ข. การบานของดอกยังไม่เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

ค.การตอบสนองของพืชบางครั้งอาจไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต

ง. กลไกการตอบสนองจะต้องเกิดการเพิ่มจำนวนของเซลล์เสมอ

ตอบ ข้อ ค. การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตและการคงอยู่ ไม่เสมอไปที่การตอบสนองจะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต

ข้ออื่นผิดเนื่องจาก

ก. การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช เช่น ทันทีที่เราสัมผัสต้นไมยราบ มันจะรีบหุบใบทันที เป็นการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว 

ข. ดอกบัวมีการบานตอนกลางวันและหุบตอนกลางคืน ถือเป็นการตอบสนองต่อแสงที่ได้รับ

ง. ถึงแม้ว่าในบางครั้งเซลล์ไม่มีการเพิ่มจำนวนก็ตาม แต่เมื่อได้รับสิ่งเร้าก็จะทำให้พืชนั้นมีกลไกการตอบสนองเกิดขึ้น


  1. พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ ข้อใดเป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

ก. ดำ นำหน่อกล้วยมาปลูก

ข. แดง นำไหลบัวมาปลูก

ค. โด่ง นำต้นมะม่วงที่ไม่มีรากแก้วมาปลูก

ง. ดี นำเม็ดพริกขี้หนูที่เหลือจากการรับประทานมาปลูก 

ตอบ  ข้อ ง. การนำเม็ดพริกมาปลูก เป็นการเพาะเมล็ด ซึ่งถือเป็นการขยายพันธ์ุแบบอาศัยเพศนั่นเอง 

  • การนำหน่อกล้วยมาปลูก เป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 
  • การนำไหลบัวมาปลูก คือ การนำหน่อหรือต้นอ่อนจากต้นเดิมมาปลูก จึงเป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
  • การนำต้นมะม่วงที่ไม่มีรากแก้วมาปลูก เป็นการตอนกิ่ง ซึ่งเป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเช่นกัน

  1. ข้อใดต่อไปนี้เป็นผลจากกระบวนการออสโมซิส

ก. การเติมน้ำตาลลงไปในนม ทำให้นมมีรสหวาน

ข. การแช่ถุงชาในน้ำร้อน ทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ค. การแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนระหว่างหลอดเลือดฝอยและอวัยวะ

ง. การแช่เนื้อเยื่อของเซลล์ผักกาดในสารละลายกลูโคส ทำให้เซลล์เหี่ยว

ตอบ ข้อ ง. การแช่เนื้อเยื่อของเซลล์ผักกาดในสารละลายกลูโคส ทำให้เซลล์เหี่ยว 

ออสโมซิส (osmosis) คือ การแพร่ของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน จากบริเวณที่มีปริมาณอนุภาคน้ำมาก ไปสู่บริเวณที่มีปริมาณอนุภาคน้ำน้อยกว่า หรือการแพร่ของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน จากสารละลายที่มีความเข้มข้นน้อย ไปสู่สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่า ดังนั้นการแช่เนื้อเยื่อของเซลล์ผักกาดในสารละลายกลูโคส ทำให้เซลล์เหี่ยว จึงถือเป็นกระบวนการออสโมซิส เพราะมีการแพร่กระจายของน้ำจากภายในสู่ภายนอกเซลล์ 


  1. เมื่อนำชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตหนึ่งมาศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่าเซลล์มีส่วนประกอบดังนี้ ผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม คลอโรพลาสต์และนิวเคลียส เพราะฉะนั้นชิ้นส่วนที่นำมาศึกษานี้ควรเป็นเซลล์ใด

ก. เซลล์ของไฮดรา

ข. เซลล์ของอะมีบา

ค. เซลล์ของเยื่อบุข้างแก้ม

ง. เซลล์ของสาหร่ายหางกระรอก

ตอบ ข้อ ง.เซลล์ของสาหร่ายหางกระรอก เพราะเป็นเซลล์ของพืช

เพราะส่วนประกอบที่พบ มีผนังเซลล์อยู่ด้วย ซึ่งผนังเซลล์จะพบเฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้น ดังนั้น เซลล์ของไฮดรา อะมีบาและเยื่อบุข้างแก้มของมนุษย์ ถือเป็นเซลล์สัตว์ จึงไม่มีผนังเซลล์อยู่ด้วย 


แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.1 เทอม 2

วิทยาศาสตร์ ม.1 เทอม 2 ก็จะเข้าสู่เรื่องพลังงานความร้อน ซึ่งในบทนี้ น้องๆจะได้ใช้ทักษะการคำนวณค่อนข้างเยอะเลยนะ ต้องพยายามทำความเข้าใจไปทีละสเต็ป และยังมีเรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ เนื้อหาบทนี้ค่อนข้างเยอะ และอาศัยความเข้าใจพอสมควร แต่รับรองว่าถ้าทุกคนตั้งใจ ไม่เกินความสามารถแน่นอน 

ตัวอย่างแนวข้อสอบ “พลังงานความร้อน”พร้อมเฉลย

  1. ต้องให้ปริมาณความร้อนแก่น้ำกี่แคลอรี เพื่อทำให้น้ำที่มีมวล 100 กรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก  20 องศาเซลเซียสเป็น  60 องศาเซลเซียส

วิธีทำ จากโจทย์ทำให้เรารู้ว่า น้ำ 100 กรัม อุณหภูมิ 20℃ จะเปลี่ยนไปเป็นน้ำ 100 กรัม อุณหภูมิ 60℃

( ใส่รูป 8 )  


  1. จงหาปริมาณความร้อนที่น้ำมวล 100 กรัม สูญเสียไป เมื่ออุณหภูมิลดลงจาก 60 เป็น 20

วิธีทำ จากโจทย์ทำให้เรารู้ว่า น้ำ 100 กรัม อุณหภูมิ 60℃ เปลี่ยนเป็น น้ำ 100 กรัม อุณหภูมิ 20℃ 

( ใส่รูป 9 ) 


  1. เครื่องทำนำ้อุ่นให้ความร้อนวินาทีละ 1,000 แคลอรี เมื่อส่งน้ำมวล 2,000 กรัม อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เข้าไปในเครื่องทำน้ำอุ่นเป็นเวลา 20 วินาที น้ำที่ออกจากเครื่องทำน้ำอุ่นจะมีอุณหภูมิกี่องศาเซลเซียส

วิธีทำ ( ใส่รูป 10 ) 

จากโจทย์ทำให้เรารู้ว่า


  1. สารชนิดหนึ่งมีมวล 2 กิโลกรัม มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อนทั้งหมด 14,000 กิโลแคลอรี โดยที่ค่าความจุความร้อนจำเพาะของสารเท่ากับ 280 กิโลแคลอรีต่อกรัม อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงนี้มีค่าเท่าไหร่ 

วิธีทำ 

( ใส่รูป 11 ) 


  1. ถ้าต้องการผสมน้ำเพื่ออาบน้ำเด็กทารก โดยผสมน้ำเย็น มวล 3,500 กรัมที่ 30 องศาเซลเซียส เข้ากับน้ำร้อนมวล 1,000 กรัมที่ 70 องศาเซลเซียส จงหาอุณหภูมิผสมของน้ำอุ่น

วิธีทำ จากโจทย์เรารู้ว่า 

( ใส่รูป 12 ) 


ตัวอย่างแนวข้อสอบ “กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ”พร้อมเฉลย

  1. ความกดอากาศมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิอย่างไร 

ก. บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง จะมีความกดอากาศสูง

ข. บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง จะมีความกดอากาศต่ำ

ค. บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ จะมีความกดอากาศต่ำ

ง. บริเวณที่มีอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง จะมีความกดอากาศสูง

ตอบ ข้อ ข บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง จะมีความกดอากาศต่ำ

เนื่องจาก หย่อมความกดอากาศสูง อุณหภูมิจะต่ำ        

              หย่อมความกดอากาศต่ำ อุณหภูมิจะสูง


  1. กีฬาประเภทใดใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนที่ของอากาศ

ก. ยิงธนู

ข. วิ่งผลัด

ค. แบดมินตัน

ง. แข่งเรือใบ

ตอบ ง. แข่งเรือใบ

  • วิ่งผลัด ลมไม่มีผลกับการวิ่ง
  • ยิ่งธนูและแบดมินตัน ลมเป็นอุปสรรคในการเล่น ไม่ใช่ประโยชน์

  1. ถ้าต้องการทดสอบสมมติฐานว่า “อากาศในช่วงเวลา 12.00 – 13.00 น.ของแต่ละวันมอุณหภูมิสูงที่สุด” ข้อมูลในข้อใดสามารถใช้ทดสอบสมมติฐานได้ดีที่สุด 

ก. ช่วงเวลาในแต่ละวัน

ข. บริเวณต่างๆที่ใช้วัดอุณหภูมิ

ค. อุณหภูมิในแต่ละช่วงเวลาของวัน

ง. อุณหภูมิที่ระดับความสูงต่างๆจากผิวดิน

ตอบ ค. อุณหภูมิในแต่ละช่วงเวลาของวัน

เพราะโจทย์กล่าวถึงทั้งอุณหภูมิและช่วงเวลาของวัน เหมือนข้อ ค.


  1. ชาวประมงออกเรือหาปลาในเวลากลางคืนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างไร

ก. ความกดอากาศเหนือพื้นดินสูงกว่าเหนือพื้นน้ำ

ข. ความกดอากาศเหนือพื้นดินต่ำกว่าเหนือพื้นน้ำ

ค. อุณหภูมิอากาศเหนือพื้นดินสูงกว่าเหนือพื้นน้ำ

ง. อุณหภูมิและความกดอากาศเหนือพื้นดินต่ำกว่าเหนือพื้นน้ำ

ตอบ ก.ความกดอากาศเหนือพื้นดินสูงกว่าพื้นน้ำ 

ในตอนกลางคืนบริเวณพื้นดินจะคายความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ ลมจึงพัดจากฝั่งบกเข้าหาทะเลจึงเรียกว่า “ลมบก”

(พัดจากไหน ตั้งชื่อตามนั้น) แสดงว่าบนบกมีอุณหภูมิต่ำกว่า ดังนั้นกความกดอากาศเหนือพื้นดินจึงสูงกว่าพื้นน้ำ


  1. อาชีพใดที่ต้องอาศัยพลังงานลมมากที่สุด

ก. การเลี้ยงปลา

ข. การทำนากุ้ง

ค. การประมงนำ้จืด

ง. การทำสวนยางพารา

ตอบ ค. การประมงน้ำจืด

เนื่องจาก ในตอนกลางวัน พื้นดินดูดซับความร้อนได้มากกว่าพื้นน้ำ ดังนั้นอุณหภูมิพื้นดินจะสูงกว่าพื้นน้ำ และลมจะพัดจากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่ามายังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า เรียกว่า “ลมทะเล” 

ในตอนกลางคืนบริเวณพื้นดินจะคายความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ ลมจึงพัดจากฝั่งบกเข้าหาทะเลจึงเรียกว่า “ลมบก” แสดงว่าบนบกมีอุณหภูมิต่ำกว่า ดังนั้นกความกดอากาศเหนือพื้นดินจึงสูงกว่าพื้นน้ำ

ชาวประมง ใช้ลมดังกล่าวในการออกเรือ เพื่อประหยัดพลังงาน

การเลี้ยงปลาในกระชัง ต้องอาศัยน้ำที่มาจากแม่น้ำ

การทำนากุ้ง หากเจอพายุก็จะเสียหาย

การทำสวนยางพารา จะเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิ


เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับแนวข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ม.1 เทอม 1 และเทอม 2 ที่พี่เก็งมาแล้วว่าออกบ่อยแน่นอน ตอบถูกกันบ้างมั้ยคะ ใครทำไม่ได้อย่าเพิ่งท้อนะ อยากเรียนวิทยาศาสตร์ให้เก่ง ต้องทำความรู้จักรากศัพท์ หมั่นตั้งข้อสงสัย พยายามทำตามลำดับขั้นตอน ใช้จินตนาการและเวลาสรุปเนื้อหา ใช้ mind map ดูจะเข้าใจง่ายขึ้นเยอะเลย หรือถ้ามีตรงไหนไม่เข้าใจอีก ลองหาคอร์สเรียนวิทยาศาสตร์ ที่มีครูอธิบายเรื่องยากๆให้เราเข้าใจง่ายๆ ซึ่งมีเยอะแยะมากมาย รับรองว่าน้องๆจะเรียนวิทยาศาสตร์อย่างมีความสุขแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง
สรุปเนื้อหาตรรกศาสตร์ ม.4 
โพสต์เมื่อ :
รู้ก่อน เก่งก่อน สังคมศึกษา ม. 1 ต้องเรียนอะไร
โพสต์เมื่อ :
ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง
โพสต์เมื่อ :
พิชิตคะแนนฟิสิกส์แบบแม่นๆด้วย สูตรฟิสิกส์ ม 4
โพสต์เมื่อ :
สรุปย่อ “จำนวนจริง” พร้อมสูตรทั้งหมด ครบถ้วน เตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบ...
โพสต์เมื่อ :
สรุปเรื่อง พหุนาม เอกนาม ม.1 พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลย จัดเต็มพร้อมสอบ เกรดดีขึ้น...
โพสต์เมื่อ :