Search
Close this search box.

 วิทยาศาสตร์ ม.5 สายวิทย์ – สายศิลป์ 

Home > วิทยาศาสตร์ทั่วไป >  วิทยาศาสตร์ ม.5 สายวิทย์ – สายศิลป์ 
เขียนโดย :
โพสต์เมื่อ :

อ่านสรุปตรงนี้ได้เลย

สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเตรียมตัวก่อนจะเปิดเทอมในการเก็บเนื้อหาต่าง ๆ เกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาอื่น ๆ บอกเลยว่าการเตรียมตัวก่อนย่อมได้เปรียบแน่นอน และน้อง ๆ ม.6 ที่กำลังจะเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย การเก็บเนื้อหาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เลยล่ะ ยิ่งไปกว่านั้นการเก็บตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญมาก ๆ เลยล่ะ จะทำให้เราไม่เครียดมากเกินไปตอนใกล้ ๆ สอบวันจริง แนะนำเลยสำหรับคนที่ตั้งใจจะเก็บเนื้อหาม.5 ให้แม่นยำมากขึ้น

วิทยาศาสตร์ ม.5 เรียนอะไรบ้าง (สายวิทย์)

วิทยาศาสตร์ ม.5 เทอม 1 

เป็นเนื้อหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจากระดับม.4 ค่อนข้างมากพอสมควร หากน้อง ๆ สามารถเตรียมตัวพร้อมก่อนจะเปิดเทอมแล้วล่ะก็ พี่ ๆ อยากแนะนำให้น้อง ๆ พยายามตามเก็บเนื้อหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง หรือจะไปลงคอร์สเรียนพิเศษเอาไว้ เพื่อทำความเข้าใจก่อนก็ดีเช่นกันน้า เพราะจะทำให้เรารู้ว่าเราควรโฟกัสตรงไหนบ้างในบทนั้น ๆ

ม.5 เรียน อะไรบ้าง สายวิทย์

วิชาชีววิทยา

วิชาขวัญใจน้อง ๆ สายนักจำ ใครชอบชีวะเรามาเตรียมตัวไปกับบทเรียนเหล่านี้กันก่อนดีกว่า ไหนมาดูซิว่าวิชานี้เขาเรียนอะไรกันบ้าง

  1. การสืบพันธุ์ของพืชดอก
  • โครงสร้างของดอกและชนิดของผล
  • วัฏจักรชีวิตแบบสลับของพืชดอก
  • การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก
  • การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างต่าง ๆ ของผลและเมล็ด
  1. โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก
  •  เนื้อเยื่อพืช
  • โครงสร้างและการเจริญเติบโตของราก
  • โครงสร้างและการเจริญเติบโตของลำต้น
  • โครงสร้างและการเจริญเติบโตของใบ
  1. การลำเลียงของพืช
  • การลำเลียงน้ำ
  • การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำ
  • การลำเลียงธาตุอาหาร
  • การลำเลียงอาหาร
  1. การสังเคราะห์ด้วยแสง
  • การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
  • กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
  • Photo Respiration
  • การเพิ่มความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
  • ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง

5. การควบคุมการเจริญเติบโตและตอบสนองของพืช

  • ฮอร์โมนพืช
  • ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด
  • การตอบสนองของพืชในลักษณะการเคลื่อนไหว
  • การตอบสนองต่อภาวะเครียด

วิชาเคมี

วิชาอีกหนึ่งวิชาที่เป็นขวัญใจสายวิทยาศาสตร์ตัวจริง ใครที่ต้องการสอบสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ควรเก็บวิชานี้ให้ดี เพราะเป็นวิชาที่ต้องแม่นทั้งการคำนวณและความจำ ที่สำคัญคือต้องคิดเลขไวมาก ๆ 

  1. แก๊สและสมบัติของแก๊ส
  • ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตร ความดัน อุณหภูมิ และจำนวนโมลของแก๊ส
  • กฎแก๊สอุดมคติ และความดันย่อย
  • ทฤษฎีจลน์และการแพร่ของแก๊ส
  • การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส
  1. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
  • ความหมายและการคำนวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
  • แนวคิดเกี่ยวกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
  • ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
  1. สมดุลเคมี
  • สภาวะสมดุล
  • ค่าคงที่สมดุล
  • ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุล
  • สมดุลเคมีในสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรม

วิชาฟิสิกส์

วิชาสายคำนวณที่ไม่ใช่แค่แม่นสูตรก็จะทำได้อย่างถูกต้อง แต่น้อง ๆ
ต้องทำความเข้าใจในตัวบทนิยามต่าง ๆ ด้วย

  1. การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
  • ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
  • ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฮาร์มอนิกอย่างง่าย
  • แรงกับการสั่นของมวลติดปลายสปริงและลูกตุ้มอย่างง่าย
  • ความถี่ธรรมชาติและการสั่นพ้อง
  1. คลื่น
  • ธรรมชาติของคลื่น
  • อัตราเร็วของคลื่น
  • หลักการที่เกี่ยวกับคลื่น
  • พฤติกรรมของคลื่น
  1. แสงเชิงคลื่น
  • แนวคิดเกี่ยวกับแสงเชิงคลื่น
  • การแทรกสอดของแสงผ่านสลิตคู่
  • การแทรกสอดของแสงผ่านสลิตเดี่ยว
  • การเลี้ยวเบนของแสงผ่านเกรตติง
  1. แสงเชิงรังสี
  • การสะท้อนและการหักเหของแสง
  • การมองเห็นและการเกิดภาพ
  • ภาพจากเลนส์บางและกระจกเงาทรงกลม
  • แสงสีและการมองเห็นแสงสี
  • การอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ

วิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศ

วิชานี้แม้จะไม่ได้ออกเป็นวิชาสามัญ แต่ออกในวิชาความถนัดทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีส่วนช่วยอย่างมากในการเก็บคะแนนเพราะส่วนมากเป็นวิชาที่ต้องอาศัยความจำผสมกับความเข้าใจ หากใครที่ต้องการไปสอบความถนัดวิทยาศาสตร์ห้ามทิ้งวิชานี้เด็ดขาดเลย

  1. สมดุลพลังงานของโลก
  • ปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลต่อการรับรังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลก
  1. การหมุนเวียนของอากาศบนโลก
  • การเคลื่อนที่และการหมุนเวียนอากาศบนโลก
  • การหมุนเวียนของอากาศบนโลก
  • ความสัมพันธ์ของการหมุนเวียนอากาศกับภูมิอากาศ
  1. การหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทร
  • อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทร
  • การหมุนเวียนน้ำในมหาสมุทร
  • การหมุนเวียนน้ำในมหาสมุทรกับลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ

วิทยาศาสตร์ ม.5 เทอม 2

วิชาชีววิทยา

  1. ระบบย่อยอาหาร
  • การย่อยอาหารของสัตว์
  • การย่อยอาหารของมนุษย์
  1. ระบบหายใจ
  • การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์
  • อวัยวะและโครงสร้างในระบบหายใจของมนุษย์
  • การแลกเปลี่ยนแก๊สและการลำเลียงแก๊ส
  • การหายใจ
  1. ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง
  • การลำเลียงสารในร่างกายสัตว์
  • การลำเลียงสารในร่างกายมนุษย์
  • ระบบน้ำเหลือง
  1. ระบบภูมิคุ้มกัน
  • กลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแวดล้อม
  • การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
  1. ระบบขับถ่าย
  • การขับถ่ายของสัตว์
  • การขับถ่ายของมนุษย์
  • การทำงานของหน่วยไต
  • ไตกับการรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่าง ๆ ในร่างกาย
  • ความผิดปกติของระบบขับถ่าย

วิชาเคมี

  1. กรด-เบส
  • ทฤษฎีกรดเบส
  • คู่กรดเบส
  • การแตกตัวของ กรด เบส น้ำ
  • สมบัติกรดเบสของเกลือ
  • pH ของสารละลายกรด เบส และเกลือ
  • ปฏิกิริยาเคมีของกรดเบส
  • การไทเทรต กรด เบส
  • สารละลายบัฟเฟอร์
  • การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับกรด เบส
  1. เคมีไฟฟ้า
  • เลขออกซิเดชันและปฏิกิริยารีดอกซ์
  • การดุลสมการรีดอกซ์
  • เซลล์เคมีไฟฟ้า
  • ประโยชน์ของเซลล์เคมีไฟฟ้า
  • เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเคมีไฟฟ้า

วิชาฟิสิกส์

  1. เสียง
  • ธรรมชาติของเสียง
  • การได้ยินเสียง
  • ปรากฏการณ์เกี่ยวกับเสียง
  • การประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องเสียง
  1. ไฟฟ้าสถิต
  • ธรรมชาติของไฟฟ้าสถิต
  • กฎของคูลอมบ์
  • สนามไฟฟ้า
  • ศักย์ไฟฟ้าและความต่างศักย์
  • ตัวเก็บประจุ
  • การนำความรู้เกี่ยวกับการนำไฟฟ้าสถิตไปใช้ประโยชน์
  1. ไฟฟ้ากระแส
  • กระแสไฟฟ้า
  • ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้ากับความต่างศักย์
  • พลังงานในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง
  • แบตเตอรี่และวงจรไฟฟ้ากระแสตรงเบื้องต้น
  • พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีด้านพลังงาน

วิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศ

  1. เอกภพและกาแล็กซี่
  • กำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ
  • หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีบิ๊กแบง
  • กาแล็กซีและกาแล็กซี่ทางช้างเผือก
  1. ดาวฤกษ์
  • สมบัติของดาวฤกษ์
  • กำเนิดและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์
  1. ระบบสุริยะ
  • กำเนิดระบบสุริยะและการแบ่งเขตบริวารของดวงอาทิตย์
  • การโคจรของดาวเคราะห์
  • โครงสร้างและปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์
  1. เทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้
  • เทคโนโลยีอวกาศกับการสำรวจอวกาศ
  • เทคโนโลยีอวกาศกับการประยุกต์ใช้

วิทยาศาสตร์ ม5 เรียน อะไรบ้าง สาย ศิลป์

วิทยาศาสตร์ ม.5 เทอม 1

  1. อากาศ
  • องค์ประกอบในอากาศ
  • ธาตุ
  • การใช้ประโยชน์ทางอากาศ
  • มลพิษทางอากาศ
  1. น้ำ
  • โมเลกุลของน้ำ
  • สารในแหล่งน้ำธรรมชาติ
  • การละลายของสารในน้ำ
  1. อาหาร
  • ไขมันและน้ำมัน
  • คาร์โบไฮเดรต
  • โปรตีน
  • วิตามินและเกลือแร่
  • บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร
  1. พลังงาน
  • เชื้อเพลิง
  • แบตเตอรี่
  • สารกัมมันตรังสี

วิทยาศาสตร์ ม.5 เทอม 2

  1. การเคลื่อนที่และแรง
  • การเคลื่อนที่แนวตรง
  • แรงและการเคลื่อนที่
  • การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ 
  1. แรงในธรรมชาติ
  • แรงโน้มถ่วงกับการเคลื่อนที่วัตถุต่าง ๆ รอบโลก
  • สนามแม่เหล็กจากเส้นลวดที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน
  • แรงแม่เหล็กที่กระทำกับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า
  • การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า
  • แรงอ่อนและแรงเข้ม
  1. พลังงาน
  • เซลล์สุริยะ
  • พลังงานนิวเคลียร์
  • เทคโนโลยีด้านพลังงาน
  1. ปรากฏการณ์ของคลื่นกล
  • คลื่นกล
  • พฤติกรรมของคลื่น
  • ความถี่ธรรมชาติและการสั่นพ้อง
  1. เสียง
  • พฤติกรรมของเสียง
  • การได้ยินเสียง
  • ปรากฏการณ์อื่น ๆ ของเสียง
  • ประโยชน์ของเสียงในด้านต่าง ๆ 
  1. แสงสี
  • การมองเห็นสีของวัตถุ
  • ตากับการมองเห็นสี
  • การบอดสี
  • แผ่นกรองแสงสี
  • การผสมแสงสี
  • การผสมสารสี
  • การมองเห็นสีของวัตถุภายใต้แสงสีต่าง ๆ 
  • การนำประโยชน์ของสารสีและแสงสี
  1. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • ส่วนประกอบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • หลักการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • การสื่อสารโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ม.5 เรียนอะไรบ้าง หลักสูตรใหม่วิทย์พื้นฐาน

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ม.4

เป็นเนื้อหาพื้นฐานสำหรับน้องๆ สายศิลป์ จะใช้เนื้อหานี้สำหรับการสอบวิชาสามัญวิทยาศาสตร์ 2 โดย หลักสูตรใหม่ สสวท จะนำเอาเนื้อหาส่วนทั้งหมดที่เด็กสายวิทย์เองก็ต้องเรียน แต่ไม่ได้เจาะลึกเท่าชีววิทยาของสายวิทย์นั่นเอง มาดูกันดีกว่าว่าวิทย์สายศิลป์เขาเรียนอะไรกันบ้าง 

  • การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
  • การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์
  • การดำรงชีวิตของพืช
  • พันธุกรรมและวิวัฒนาการ
  • ชีวิตในสิ่งแวดล้อม

วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.5

สำหรับสายศิลป์นั้นจะเรียนวิทย์กายภาพที่เป็นเนื้อหาพื้นฐาน แต่ว่าจะเรียนในชั้น ม.5 โดยจะใช้เนื้อหานี้สำหรับการสอบการสอบวิชาสามัญวิทยาศาสตร์ประยุกต์ หลักสูตรใหม่ สสวท โดยวิชานี้จะนำเนื้อหามาจากวิทย์ของสายวิทย์ที่มีวิชาเคมีและฟิสิกส์มาเลย แต่เนื้อหาจะไม่ได้ละเอียดเท่า หรือลึกเท่ามากเกินไป ซึ่งเนื้อหาในวิชานี้ประกอบไปด้วย 

  • อากาศ
  • น้ำ
  • อาหาร
  • พลังงาน (เชื้อเพลิง แบตเตอรี่ กัมมันตรังสี)
  • การเคลื่อนที่แนวตรง
  • แรงในธรรมชาติ
  • พลังงาน (เซลล์สุริยะ พลังงานนิวเคลียร์)
  • ปรากฏการณ์ของคลื่นกล
  • เสียง
  • แสงสี
  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

เนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงจากหลักสูตรเก่าเดิม

  • ตรรกศาสตร์ จะทำการตัดตัวบ่งปริมาณ 2 ชั้นออก
  • จำนวนจริง มีการเพิ่มเนื้อหาเศษส่วนพหุนาม แก้สมการพหุนามที่ดีกรีไม่เกิน 4
  • เมทริกซ์ ตัดเนื้อหาเหล่านี้ออกไป คือ  ไมเนอร์ โคแฟกเตอร์, adj, หาเมทริซ์ผกผันขนาด 3×3, กฎของคราเมอร์

เนื้อหาที่ตัดออกไปจากหลักสูตรเก่าเดิม

  • ทฤษฎีจำนวน
  • กำหนดการเชิงเส้น
  • ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล
  • ทฤษฎีกราฟ

วิชาฟิสิกส์

เนื้อหาที่เพิ่มเข้ามาในหลักสูตร 2560

  • การประยุกต์ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • ฟิสิกส์อนุภาค หรือฟิสิกส์แบบใหม่

เนื้อหาที่เรียบเรียงใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นพาร์ทบรรยาย

  • มีการตีความ กฎข้อที่ 1 ของนิวตันใหม่ ตรงนี้น้อง ๆ ต้องกลับไปอ่านใหม่และทำความเข้าใจใหม่นะคะ
  • งานและพลังงาน มีการเพิ่มเรื่องแรงอนุรักษ์เข้ามาเพิ่ม
  • แสงและทัศนอุปกรณ์ เพิ่มทางเดินแสง

เนื้อหาที่ตัดออกไปจากหลักสูตรเก่าเดิม

  • การเคลื่อนที่แบบหมุน ตัดออกทั้งหมดเลย
  • เสียง ปรากฎการณ์ดอพเพอร์ ตัดสูตรการคำนวณออก แต่พาร์ททฤษฎีต่าง ๆ ยังมี ซึ่งตรงนี้ยังออกข้อสอบอยู่นะ ต้องอ่านเข้าห้องสอบไปด้วยนะคะ
  • ไฟฟ้ากระแสตรง ตัดการดัดแปลงกัลวานอมิเตอร์
  • ไฟฟ้ากระแสสลับ ตัดการคำนวณตัวเก็บประจุ เหลือแต่พาร์ทบรรยาย ที่ไม่ยากมากเกินไป
  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตัดทิ้งเรื่องการสร้างแสงโพลาร์ไรซ์
  • ฟิสิกส์อะตอม ตัดเรื่องแบบจำลองอะตอม, ตัดเรื่องความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก

วิชาเคมี

เนื้อหาที่เพิ่มเข้ามาในหลักสูตร 2560

  • ความปลอดภัยและทักษะในปฏบัติการเคมี
  • เคมีกับการแก้ปัญหา

เนื้อหาที่ตัดออกไปจากหลักสูตรเก่า

  • ธาตุและสารประกอบ ตัดออกเพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะอยู่ในอะตอมและสมบัติของธาตุ
  • ของเหลว ของแข็ง ตัดออกหมดเลยทั้งบท 
  • ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม ตัดออกหมดทั้งบท แต่บางทีก็มีโจทย์เรื่องนี้เช่นกัน แต่ไม่ต้องอาศัยเนื้อหาจากบทนี้ แต่อาจจะยังมีชื่อธาตุและสารประกอบต่าง ๆ อยู่บ้าง
  • เชื้อเพลิงและชากดึกดำบรรพ์ ตัดออกบางส่วน ที่เหลือจะแทรกอยู่ในเรื่องเคมีอินทรีย์เป็นหลัก
  • สารชีวโมเลกุล ตัดออกหมดทั้งบท เพราะเป็นส่วนเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีววิทยา ตรงนี้ไปอ่านที่ชีววิทยาได้เลย

วิชาชีววิทยา 

เป็นวิชาที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง แต่มีการสลับพันธุศาสตร์จากอยู่ ม.6 ไปอยู่ ม.4

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ม.4

เป็นเนื้อหาพื้นฐานสำหรับน้องๆ สายศิลป์ จะใช้เนื้อหานี้สำหรับการสอบวิชาสามัญวิทยาศาสตร์ประยุกต์โดย หลักสูตรใหม่ สสวท จะหยิบเอาเนื้อหาส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยามาเลย แต่เนื้อหาจะไม่ได้ละเอียดเท่า เนื้อหาในวิชานี้ประกอบไปด้วย 

  • การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
  • การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์
  • การดำรงชีวิตของพืช
  • พันธุกรรมและวิวัฒนาการ
  • ชีวิตในสิ่งแวดล้อม

วิทยาศาสตร์กายภาพ ม.5

วิชานี้จัดเป็นเนื้อหาพื้นฐานเช่นกัน แต่จะเรียนในชั้น ม.5 ใช้เนื้อหานี้สำหรับการสอบการสอบวิชาสามัญวิทยาศาสตร์ประยุกต์ หลักสูตรใหม่ สสวท จะหยิบเอาเนื้อหาส่วนนึงของวิชาเคมีและฟิสิกส์มาเลย แต่เนื้อหาจะไม่ได้ละเอียดเท่า เนื้อหาในวิชานี้ประกอบไปด้วย 

  • อากาศ
  • น้ำ
  • อาหาร
  • พลังงาน (เชื้อเพลิง แบตเตอรี่ กัมมันตรังสี)
  • การเคลื่อนที่แนวตรง
  • แรงในธรรมชาติ
  • พลังงาน (เซลล์สุริยะ พลังงานนิวเคลียร์)
  • ปรากฏการณ์ของคลื่นกล
  • เสียง
  • แสงสี
  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ตัวอย่างแบบฝึกหัด วิทย์ ม.5

วิชาชีววิทยา

  1. นักเรียนคนหนึ่งดูละครเกี่ยวกับการฆาตกรรม เรื่องมีอยู่ว่า นาย ก.หายออกจากบ้านไปตอนกลางวันของวันที่ 1 จนกระทั่งเช้าวันที่ 3 มีผู้พบศพในห้องเย็นสำหรับแช่ปลาซึ่งถ้าดูจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของศพไม่สามารถบอกได้ว่าเสียชีวิตเมื่อใด เนื่องจากศพอยู่ในห้องเย็นจึงดูจากการแข็งของกล้ามเนื้อและลดลงของอุณหภูมิไม่ได้ แต่การผ่าศพพบว่าอาหารส่วนใหญ่อยู่ในกระเพาะอาหาร มีเส้นก๋วยเตี๋ยว ชิ้นผัก และชิ้นเนื้อ อีกหลายชิ้น รวมปริมาณอาหารประมาณครึ่งกระเพาะอาหาร และภรรยาของนาย ก. แจ้งว่า นาย ก. รับประทานอาหารกลางวัน เป็นก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่เสร็จเมื่อเวลาประมาณ 12.00 น. นักสืบจึงสันนิษฐานว่า นาย ก. เสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 24.00 น. ของวันที่หายไป นักเรียนเห็นด้วยกับนักสืบหรือไม่ เพราะเหตุใด 

ตอบ  ไม่เห็นด้วย เพราะอาหารอยู่ในกระเพาะประมาณ 1-4 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอาหาร จากการชันสูตรพบอาหารที่คาดว่าเป็นชนิดเดียวกับที่รับประทานไปเมื่อตอนกลางวัน ดังนั้น นาย ก. น่าจะเสียชีวิต หลังจากรับประทานอาหารได้ไม่นาน  คือประมาณ 1-2 ชั่วโมง ดังนั้นนาย ก. น่าจะเสียชีวิตในช่วงบ่ายของวันที่ 1 ถ้าเสียชีวิตเวลาประมาณ 24.00 น. ของวันที่หายไปตามที่นักสืบสันนิษฐาน อาหารที่รับประทานไปตอนกลางวันจะผ่านกระเพาะอาหารไปหมดแล้ว หรือถ้านาย ก. ได้รับอาหารไปทีหลัง อาหารที่พบควรเป็นอาหารชนิดอื่นที่ไม่ใช่อาหารกลางวัน


  1. ถ้าตัดส่วนเทนทาเคิลของไฮดราออก จะส่งผลต่อระบบย่อยอาหารหรือไม่ อย่างไร

ตอบ จะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบย่อยอาหาร แต่จะส่งผลต่อการนำอาหารเข้าสู่เซลล์


วิชาฟิสิกส์

  1. เสียงความถี่ 1000 เฮริตซ์ และความยาวคลื่น 1.5 เมตร เคลื่อนที่ผ่านน้ำ อัตราเร็วเสียงในน้ำ มีค่าเท่าใด

วิธีทำ    จาก v = f

= 1000(1.5)

= 1500 m/s


  1. กำลังเสียงและความเข้มเสียงมีความสัมพันธ์กันอย่างไรและเกี่ยวข้องความดังของเสียงที่เราได้ยินหรือไม่ 

ตอบ  กำลังเสียงที่แหล่งกำเนิดเสียงส่งออกไปตั้งฉากกับหน่วยพื้นที่เรียกว่า ความเข้มเสียง และปริมาณทาง 2 มีผลต่อความดังของเสียงที่เราได้ยินถ้ากำลังเสี่ยงและความเข้มเสียงเพิ่มมากขึ้น มีผลต่อความดังของเสียงที่เราได้ยิน ถ้ากำลังเสี่ยงและความเข้มเสียงเพิ่มมากขึ้นเสียงที่มีผลต่อความดังของเสียงที่เราได้ยินถ้ากำลังเสียงและความเข้มเสียงเพิ่มมากขึ้นเสียงที่เราได้ยินก็จะดังขึ้นทั้ง ขึ้นอยู่กับความถี่เสียงด้วย 


วิชาเคมี

  1. สารละลายกรดซัลฟิวริก (H2SO4 ) 1 โมลต่อลิตร ที่สมดุลมีความเข้มข้นของไฮโดรเนียม ไอออน (H3O+ ) เท่ากับ 2 โมลต่อลิตร ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด 

ตอบ   ไม่ใช่ เพราะค่าคงที่การแตกตัวของกรดในขั้นที่ 2 (Ka2 ) น้อยกว่า 1 มาก ดังนั้นความเข้ม ข้นของ H3 O+ ที่เกิดขึ้นในขั้นนี้จึงน้อยกว่า 1 mol/L แต่เนื่องจากความเข้มข้นของ H3 O+ ที่ได้ จากการแตกตัวในขั้นที่ 1 เป็น 1 mol/L ดังนั้นที่สมดุลมีความเข้มข้นของ H3O+ มากกว่า 1 mol/L แต่ไม่ถึง 2 mol/L


  1.  โลหะใดทำใดทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าที่ไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีและโลหะใดทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้า
    ที่เกิดปฏิกิริยาเคมีด้วย 

ตอบ  โลหะทองแดง (Cu) เป็นขั้วไฟฟ้าที่ไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีส่วนโลหะสังกะสี(Zn) เป็นขั้วไฟฟ้า ที่เกิดปฏิกิริยาเคมีด้วย


วิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศ

  1. เพราะเหตุใด เมื่อเกิดการควบแน่นของไอน้ำ อัตราการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของก้อนอากาศ จึงลดลงจาก 10 องศาเซลเซียสต่อกิโลเมตร เหลือเพียง 6 องศาเซลเซียสต่อกิโลเมตร 

ตอบ เนื่องจากไอน้ำที่เกิดการควบแน่นคายความร้อนแฝงออกมาทำให้อุณหภูมิของ ก้อนอากาศลดลงด้วยอัตราที่ต่ำลง


  1. ที่ระดับความสูง 1 กิโลเมตร จนถึงยอดเขา อากาศที่กำลังยกตัวขึ้น มีอัตราการเปลี่ยแปลง ของอุณหภูมิเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น 

ตอบ อุณหภูมิอากาศลดลง 6 องศาเซลเซียสต่อกิโลเมตร ตามอัตราแอเดียแบติกของ อากาศอิ่มตัว เนื่องจากเกิดการควบแน่นของไอน้ำ


วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

  1.  อัตราเร็วเฉลี่ยกับอัตราเร็วขณะหนึ่งของวัตถุมีค่าเท่ากันหรือไม่ อย่างไร 

ตอบ  อัตราเร็วเฉลี่ยกับอัตราเร็วขณะหนึ่งของวัตถุมีค่าเท่ากันในกรณีที่วัตถุ มีอัตราเร็วคงตัวตลอดช่วงเวลาในการเคลื่อนที่   และมีค่าไม่เท่ากันในกรณีที่วัตถุมี การเปลี่ยนแปลงความเร็วในช่วงเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที


  1. การดีดเหรียญสองเหรียญที่เหมือนกันทุกประการให้เคลื่อนที่ออกจากขอบโต๊ะในแนว ระดับพร้อมกัน   โดยแรงที่ใช้ในการดีดเหรียญที่  1   มากกว่าแรงที่ใช้ในการดีดเหรียญที่ 2 เหรียญทั้งสองจะตกถึงพื้นพร้อมกันหรือไม่  อย่างไร  และเหรียญทั้งสองตกถึงพื้น โดยมีระยะห่างจากโต๊ะเท่ากันหรือไม่ อย่างไร 

ตอบ   เหรียญทั้งสองตกถึงพื้นพร้อมกัน แต่ตกถึงพื้นคนละตำ แหน่ง โดยเหรียญที่ 1 ตกไกลจากโต๊ะมากกว่าเหรียญที่ 2


  1. ถ้าอนุภาคมีประจุลบเคลื่อนที่เข้าไปในสนามแม่เหล็กแล้วพบว่าทิศการเคลื่อนที่ เบนขึ้น ถ้าเปลี่ยนจากอนุภาคมีประจุลบเป็นอนุภาคมีประจุบวก แนวการเคลื่อนที่ จะเปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร

ตอบ เปลี่ยน โดยอนุภาคมีประจุบวกจะเคลื่อนที่ในทิศตรงข้ามกับประจุลบ นั่นคือ มีทิศการเคลื่อนที่เบนลง


  1. ถ้ามีเส้นลวดตัวนำ สองเส้นวางขนานกัน แล้วผ่านกระแสไฟฟ้าในเส้นลวดทั้งสอง จะ เกิดแรงกระทำ กับลวดแต่ละเส้นหรือไม่ อย่างไร 

ตอบ เกิดแรงกระทำ โดยเป็นแรงแม่เหล็กกระทำ ซึ่งกันและกันระหว่างเส้น ลวดทั้งสอง

ความต่าง ระหว่าง วิทย์ ม.5 สายวิทย์ กับ สายศิลป์

วิทยาศาสตร์สายวิทย์จะมีความละเอียดมากกว่าวิทยาศาสตร์สายศิลป์มากกว่า จะมีหลากหลายบทมากกว่า ส่วนวิทย์สายศิลป์จะเน้นไปที่เรื่องพื้นฐานมากกว่า ทำให้ความยากง่ายแตกต่างกันพอสมควร แนะนำว่าถ้าเลือกจะเรียนสายวิทย์ควรจะมีความสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์ จะช่วยให้น้อง ๆ เรียนได้อย่างไม่เครียดมากเกินไป

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

วิทย์ สายศิลป์ กับ วิทย์ สายวิทย์ ต่างกันยังไง

วิทยาศาสตร์สายวิทย์จะมีความยากมากกว่า เนื่องจากบทเรียนหลายบทมากกว่า และมีความลึกมากกว่า ส่วนสายศิลป์จะเน้นไปที่สังคมศึกษาและภาษาไทยมากกว่า 

เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย ต้องทำยังไงถึงไม่พลาด

ต้องรู้จักการเตรียมเนื้อหาที่ต้องสอบทั้งหมด รวมไปถึงการออกแบบตารางอ่านหนังสือที่เหมาะสมกับตัวเอง

อีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำ  คืออะไร

  แรงเคลื่อนไฟฟ้า เหนี่ยวนำ มีหน่วยเช่นเดียวกับความ ต่างศักย์คือ โวลต์

สนามแม่เหล็กและขดลวดทำ ให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้อย่างไร

เมื่อสนามแม่เหล็กที่ผ่านขดลวดเกิดการเปลี่ยนแปลงจะทำ ให้เกิด อีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำ และถ้าต้องการทำ ให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ   จะต้องต่อ ขดลวดให้ครบวงจร

กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นบนลวดตัวนำ จากการเหนี่ยวนำ แม่เหล็กไฟฟ้าจะคงอยู่ตลอด ไปหรือไม่ อย่างไร

กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ที่เกิดขึ้นจะคงอยู่ตลอดไปก็ต่อเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่ผ่านขดลวดตลอดเวลาและต่อขดลวดให้ครบวงจร กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ที่เกิดขึ้นจะหายไป   เมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสนาม แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดหรือต่อขดลวดไม่ครบวงจร

แรงอ่อนเกี่ยวข้องกับการสลายของนิวเคลียสกัมมันตรังสีอย่างไร

แรงอ่อนอธิบายการสลายให้อนุภาคบีตาที่เกิดขึ้นในนิวเคลียสกัมมันตรังสี

แรงเข้มเกี่ยวข้องกับแรงยึดเหนี่ยวของอนุภาคที่เล็กกว่านิวคลีออนอย่างไร

อนุภาคที่เล็กกว่านิวคลีออนเรียกว่า ควาร์ก ซึ่งอนุภาคควาร์กถูกยึดเหนี่ยวกัน ไว้ในนิวคลีออนด้วยแรงที่มีความเข้มสูงมาก และเรียกแรงนี้ว่า แรงเข้ม แรงเข้มจึงเป็นแรง พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับแรงนิวเคลียร์

ในนิวเคลียส โปรตอนและนิวตรอนอยู่รวมกันได้ด้วยแรงชนิดใด

แรงนิวเคลียร์ซึ่งเป็นผลมาจากแรงเข้ม

การที่นิวเคลียสของสารกัมมันตรังสีสลายให้อนุภาคบีตาแล้วเปลี่ยนไปเป็นนิวเคลียส ใหม่ที่มีความเสถียรมากขึ้น เกี่ยวข้องกับแรงใด

 แรงอ่อน

อนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของโปรตอนและนิวตรอนคืออะไร   และแรงที่ยึดเหนี่ยว อนุภาคเหล่านี้ไว้คืออะไร

อนุภาคควาร์ก และแรงเข้ม

เป็นอย่างไรกันบ้างคะน้อง ๆ สำหรับเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ม.5 ทั้งเทอม 1 และ เทอม 2 ทั้งน้องสายวิทย์และน้องสายศิลป์แม้จะมีความแตกต่างกันบ้าง แต่ถ้าน้องเตรียมตัวเกี่ยวกับบทเรียนที่ต้องเจอในแต่ละชั้นปีจะช่วยให้น้อง ๆ สามารถตั้งใจเรียนในห้องเรียนได้มากกว่าเดิม และมีเป้าหมายในการเรียนมากขึ้นด้วยนะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
สรุปเนื้อหาตรรกศาสตร์ ม.4 
โพสต์เมื่อ :
รู้ก่อน เก่งก่อน สังคมศึกษา ม. 1 ต้องเรียนอะไร
โพสต์เมื่อ :
ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง
โพสต์เมื่อ :
พิชิตคะแนนฟิสิกส์แบบแม่นๆด้วย สูตรฟิสิกส์ ม 4
โพสต์เมื่อ :
สรุปย่อ “จำนวนจริง” พร้อมสูตรทั้งหมด ครบถ้วน เตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบ...
โพสต์เมื่อ :
สรุปเรื่อง พหุนาม เอกนาม ม.1 พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลย จัดเต็มพร้อมสอบ เกรดดีขึ้น...
โพสต์เมื่อ :