น้อง ๆ ชั้นประถมที่เพิ่งขึ้นม.1 อาจจะรู้สึกว่าเรื่องพหุนามเป็นเรื่องที่ทั้งแปลกใหม่ และเข้าใจยากใช่ไหมล่ะคะ แต่พี่ ๆ ATHOME อยากให้น้อง ๆ ลองเปิดใจไว้ก่อนน้า เพราะความจริงแล้วเรื่องพหุนามถือเป็นบทพื้นฐานที่จะนำไปประยุกต์กับอีกหลายบทของเลขม.ปลายเลย เรื่องนิยามต่าง ๆ อาจจะน่างง ๆ แต่พอน้อง ๆ หัดทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ แล้วล่ะก็บอกเลยว่าเก่งขึ้นแน่นอน!
เอกนาม คือ อะไร
เอกนาม คือ จำนวนที่สามารถเขียนในรูปการคูณของค่าคงตัว กับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยที่เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นจำนวนเต็มบวกหรือศูนย์ เช่น 3, 3xy3, 5x + 3x เป็นต้น
สัมประสิทธิ์ของเอกนาม หมายถึง ค่าคงตัวที่คูณอยู่กับตัวแปรของเอกนามนั้น
เช่น 5x2 มีสัมประสิทธิ์เป็น 5
6x9 มีสัมประสิทธิ์เป็น 6
ดีกรีของเอกนาม หมายถึง ผลบวกของเลขชี้กำลังของตัวแปรของเอกนามนั้น เช่น
5x2 y3 z4 จะมีดีกรีเท่ากับ 2 + 3 + 4 = 9
การบวก-ลบ เอกนาม คือ อะไร
เอกนาม 2 เอกนามจะคล้ายกันก็ต่อเมื่อมีสมบัติดังนี้
- มีตัวแปรชุดเดียวกัน
- เลขชี้กำลังของตัวแปร ตัวเดียวกันของแต่ละเอกนามเท่ากัน เอกนามที่คล้ายกันสามารถหาผลบวก
ผลลบในรูปผลสำเร็จได้ - ผลบวกของเอกนามที่คล้ายกัน = (ผลบวกของสัมประสิทธิ์) x (ส่วนที่อยู่ในรูปการคูณของตัวแปร)
เช่น 7x2 y + 8x2 y = 15x2 y
ผลลบของเอกนามที่คล้ายกัน = (ผลลบของสัมประสิทธิ์) x (ส่วนที่อยู่ในรูปการคูณของตัวแปร)
เช่น 7x2 y – 8x2 y = -x2 y
พหุนาม คือ อะไร
พหุนาม คือ เอกนามหรือจำนวนที่เขียนอยู่ในรูปการบวก ของเอกนาม ตั้งแต่สองเอกนามขึ้นไป
เอกนามในพหุนาม เรียกว่า พจน์
เช่น 5x3 -4x2 + 6 หรือ 5x3 +( -4x2 ) + 6
เป็นพหุนาม
พจน์ที่ 1 คือ 5x3
พจน์ที่ 2 คือ -4x2
พจน์ที่ 3 คือ 6
ข้อสังเกต
1. 8x ก็เป็นพหุนามด้วย ดังนั้น 8x เป็นเอกนาม
2. เอกนามทุกเอกนามจะเป็นพหุนามเสมอ แต่พหุนามบางพหุนามไม่เป็นเอกนาม เช่น 5 + 3x เป็นพหุนาม แต่ไม่เป็นเอกนาม
พหุนามในรูปผลสำเร็จ
พหุนามในรูปผลสำเร็จ คือ พหุนามที่ไม่มีพจน์คล้ายกันปรากฏอยู่
เช่น 5x2 + 3x2 – 4x เป็นพหุนามไม่อยู่ในรูปผลสำเร็จ
แต่ 8x2 – 4x เป็นพหุนามในรูปผลสำเร็จ
ดีกรีของพหุนาม
ดีกรีของพหุนาม หมายถึง ดีกรีสูงสุดของพจน์ของพหุนามในรูปผลสำเร็จ
เช่น 8x3y + 4xy4 – 3x2y2 มีดีกรีเท่ากับ 5
7x5 + 4x 3 – 7x5 + 2x2 มีดีกรีเท่ากับ 3
การบวก-ลบ พหุนาม ทำได้อย่างไร
- การบวกพหุนามทำได้ 2 วิธี คือ
1.การบวกในแนวนอน
โดยการนำพหุนามทั้งสองมาเขียนในรูปการบวก แล้วจัดพหุนามทั้งหมดให้อยู่ในรูปผลสำเร็จ ก็จะได้ผลบวกของพหุนามตามต้องการ
2.การบวกในแนวดิ่ง
โดยจัดพจน์ของพหุนามที่คล้ายกันในตรงกัน แล้วบวกพจน์ต่อพจน์ แล้วนำผลบวกที่ได้มาบวกกัน
- การลบพหุนามทำได้ 2 วิธี คือ
1.การลบแนวนอน
ทำโดยใช้หลัก a – b = a +(-b) โดยเปลี่ยนการลบเป็นการบวก แล้วจัดพหุนามทั้งหมดให้เป็นพหุนามเป็นรูปผลสำเร็จ
2.การลบแนวดิ่ง
ทำได้จัดพจน์ที่คล้ายกันกับตรงกัน แล้วลบพจน์ต่อพจน์ (การลบพจน์ต่อพจน์ใช้หลัก a – b = a +(-b) แล้วนำผลลบที่ได้บวกกัน
การคูณพหุนาม
สรุปสูตรการคูณพหุนาม
การหาร เอกนาม-พหุนาม
แบบฝึกหัดการ การบวก-ลบ เอกนาม
แบบฝึกหัดการ การบวก-ลบ พหุนาม
แบบฝึกหัดการ คูณ-หาร พหุนาม เอกนาม
สรุปสูตรพหุนามที่นักเรียนม.ปลายควรรู้ก่อนเข้าห้องสอบ
เก็งโจทย์ตัวอย่าง เรื่อง พหุนาม เอกนาม
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
พหุนามมีอะไรบ้าง
การบวก-ลบพหุนาม ทำได้อย่างไร
ทำได้ด้วยการนำสัมประสิทธิ์ของตัวแปรใด ๆ ที่ดีกรีเท่ากันมาบวกกัน ทำได้ทั้งแบบแนวนอนและแนวดิ่ง
การคูณ-หารพหุนาม ทำได้อย่างไร
คูณหารเอกนามสามารถทำได้กับพหุนามทุกดีกรี ส่วนพหุนามกับพหุนามสามารถหาได้ จากการหารยาว หารสังเคราะห์
พจน์ คือ อะไร
พจน์ คือสัญลักษณ์แทนจำนวนจริง หรือจำนวนเชิงซ้อน อาจเป็นจำนวนเดียว หรือหลายจำนวนคูณ หรือหารกันก็ได้
พหุนามกําลัง3 คือ อะไร
เอกนามจำเป็นต้องเป็นพหุนามหรือไม่
เอกนามทุกตัวเป็นพหุนามเสมอ
พหุนามจำเป็นต้องเป็นเอกนามหรือไม่
พหุนามบางตัวก็ไม่ใช่เอกนามเสมอไป
การที่เราจะทำเรื่องนี้จนคล่องได้นั้น ไม่ได้เน้นไปที่การจดจำรายละเอียดต่าง ๆ เหมือนกับเลขบทอื่น แน่นอนว่าบทเรื่องพหุนามเองก็มีสูตรที่เราต้องจำ แต่หากน้อง ๆ หมั่นฝึกฝนแบบฝึกหัดต่าง ๆ รับรองได้เลยว่าน้องจะทำเรื่องนี้ได้คล่อง และไม่ต้องอาศัยการจำแล้วเพราะสมองของน้องจะบันทึกเรื่องนี้ได้อย่างอัตโนมัติเลยล่ะค่ะ