Search
Close this search box.

รีวิวเตรียมสอบแพทย์และเคล็ดลับเลือกคณะยังไงไม่ให้พลาด ฉบับคิตตี้ แพย์ศิริราช | AT HOME

Home > Uncategorized > รีวิวเตรียมสอบแพทย์และเคล็ดลับเลือกคณะยังไงไม่ให้พลาด ฉบับคิตตี้ แพย์ศิริราช | AT HOME
เขียนโดย :
โพสต์เมื่อ :

อ่านสรุปตรงนี้ได้เลย

วิภาดี คุณานพรัตน์ หรือคิตตี้ นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของรางวัลเหรียญเงินคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ WYMIC และรางวัลเหรียญทองแดงคณิตศาสตร์โอลิมปิก ITMO วันนี้เราจะมาซึมซับเทคนิคการเรียน มุมมองการเรียนของว่าที่คุณหมอคนนี้ พร้อมเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนมุมมองต่อวิชาที่ไม่ชอบและการเลือกคณะยังไงไม่ให้พลาด พร้อมแล้วตามไปอ่านบทสัมภาษณ์นี้กันเลย! 

เล่าประวัติแบบคร่าว ๆ

ตอนประถมอยู่เซนต์โยเซฟคอนแวนต์ ตอน ม.ต้น อยู่สามเสนวิทยาลัยได้ที่ 1 MSEP ตอน ม.ปลาย อยู่เตรียมอุดมฯ 

อยู่ดี ๆ กลายมาเป็นเด็กแข่งได้ยังไง

ตอนประถมก็เป็นเด็กที่ตั้งใจเรียน เก็บเล็กเก็บน้อยเก็บรายละเอียด แล้วพอ ม.1 ไปสอบมันก็ได้ที่ 1 มันก็เลยทำให้อาจารย์ในโรงเรียนจับตาค่ะ เขาก็พยายามดึงเราให้ไปแข่ง เป็นเด็กแข่งในโรงเรียน

คิดตี้เรียนเก่งทุกวิชาเลยไหม?

ส่วนตัวเป็นคนถนัดวิชาคณิตศาสตร์ค่ะ วิชาอื่นมีความไม่ชอบอยู่ แต่พอเป็นคณิตศาสตร์อ่ะจะชอบมาก  แม่ไม่ให้เรียนบางอย่างก็จะไปดั้นด้นไปเรียน ขอแม่เรียนเองค่ะถ้าเป็นคณิตศาสตร์ ก็เลยมีความสนใจในวิชานี้ แต่ว่าเรียนดีมันเป็นผลพลอยได้มาเอง ไม่ได้คาดหวัง

ทำไมถึงขอคุณพ่อคุณแม่เรียนพิเศษเพื่อสอบ สอวน.?

จริง ๆ ไม่ได้อยากได้คะแนน 90 นะ หนูรู้สึกว่าคะแนนทำอะไรไม่ได้ แต่ว่าการที่เราได้ไปแข่งต่างประเทศ เราได้ประสบการณ์ ได้เดินทางไปต่างประเทศ หนูรู้สึกว่าตรงนี้เป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่ากว่าตัวเลขเกรด 4 หรือว่าคะแนน 90 หนูก็เลยตั้งเป้าแล้วว่าหนูต้องได้ไปแข่ง

สอวน. เลข ปรับตัวยังไง?

เรียนเนื้อหาจากโจทย์ เหมือนหนูปรับว่ามันทำอย่างนี้แหละ แล้วหนูไปศึกษาเอาเอง คือหนูไม่ชอบรู้อะไรโดยที่ไม่รู้สาเหตุ การที่เราทำโจทย์ข้อนี้ ที่ต้องทำแบบนี้มันมาจากอะไร หนูก็จะไปศึกษาเอาเอง แล้วยิ่งเข้า สอวน. มันเกินไปกว่านั้นแล้ว

มีวิชาที่ไม่ชอบไหม แล้วเราจัดการวิชาที่ไม่ชอบยังไง?

คือ passion ของหนูอาจจะแปลกค่ะ หนูไม่ชอบชีวะ เลยตัดสินใจจะเข้า สอวน. ชีวะ ตอนก่อนที่จะเข้าหนูเครียดมาก หนูอ่านหนังสือชีวะทั้งที่ไม่ชอบ ต้องพยายามอ่านแต่ว่าสุดท้ายหนูติด สอวน. มันเป็นความภูมิใจ ดีใจว่านี่คือวิชาที่เราไม่ชอบแต่เรายังติดเลยอ่ะ แล้วชีวะนี่เป็นวิชาของหมอด้วย ถ้าเป้าหมายของหนูคือหมอ แต่หนูไม่ชอบชีวะ ม.ปลาย ต้องคิดแล้วว่าจะเข้า สอวน. ชีวะ พอไปเรียนเรื่อย ๆ เราก็ toxic กับมันบ้างค่ะ ต่าสุดท้ายแล้วเราก็มีเพื่อนที่ toxic ไปด้วยกัน สนุกด้วย สนุกมาก ๆ พอค่าย 2 ก็ไม่คิดว่าหนูจะติดนะเพราะไม่ชอบ ไม่เก่ง แต่ว่าหนูก็ติดค่าย 2 พอติดค่าย 2 มันก็ยังมี lab ที่หนูยังไม่เคยรู้เลย ผ่ากบ ผ่าอะไรเยอะแยะไปหมด สนุกมาก 

จากไม่ชอบชีวะ?

สรุปก็คือตอนนี้เปลี่ยน mind set จากที่ไม่ชอบชีวะ ตอนนี้ชอบแล้ว คือเราต้องหาอะไรบางอย่างให้ตัวเองทำแล้วรู้สึกว่ามันจะเปลี่ยน mind set เราได้ สำหรับหนูคือการ go for it

มาอยู่เตรียมอุดมฯ แล้วเป็นยังไงบ้าง?

พอมาอยู่แล้วก็ดีนะคะ คิดถูกที่เลือกห้องธรรมดาของเตรียมฯ เพื่อนแต่ละคนจะมีหลากหลายมาก คือถ้าเราอยู่ห้องกิ๊ฟ เราจะต้องอยู่ 3 ปี ห้องกิ๊ฟห้องเดียว แต่ว่าห้องคละจะมีเพื่อนหลากหลาย เพื่อนที่ตั้งใจเรียนมาก เพื่อนที่เก่งรอบด้าน คือเราก็เจอสังคมที่มันหลากหลาย เจอคนที่ทำกิจกรรม แสดงละครเวที ร้องเพลง เต้น 1 เราได้สังคมเพื่อนเยอะ 2 เราเห็นอะไรมากกว่าที่การเรียนมันบอกเรา เราเห็นทุกอย่าง เห็นกิจกรรม เห็นว่าคนเรามีศักยภาพมากกว่าการเรียน 

เกรดสำคัญไหม?
พอคละห้องก็จะมีการแบ่งห้องคิง ควีน แล้วก็ห้องสายคิงวิทย์คุณ (คุณภาพชีวิต) คิงวิทย์คอมใช่ไหมคะ ตอนที่จะประกาศผลว่าได้ห้องคิง ห้องควีน ทุกอย่างมันตัดสินที่เกรด เราต้องเก็บเกรดมาตลอด ถ้าอยู่ห้องกิ๊ฟเราจะเทเกรดก็ได้ยังไงเราก็อยู่ห้องเดิม แต่พอมีการคละห้องแบ่งห้องคิง เราก็จะเป็นคนตั้งใจเรียน ทำเกรดให้ได้สูง ๆ ม.4 ทุกคนก็จะเข้ามาอยู่ห้องคละหมด เป็นวิทย์ – ภาษา หนูก็อยู่วิทย์ – เยอรมัน ม.5 ก็ได้อยู่ห้องคิง คิงวิทย์คุณ ม.6 ก็ได้อยู่ห้องคิงรวม คิงสายวิทย์ ก็อยู่ห้องคิงตอน ม.5 กับ ม.6

ตอนอยู่เตรียมอุดมฯ ทำกิจกรรมอะไร?

หนูเป็นคอรัส ร้องเพลงประสานเสียง แล้วก็เป็นนักบาส นักวิ่ง ร้องคอนเสิร์ตงานโฮม ทำวงกับเพื่อนแต่ว่าร้องแค่งานโฮม เป็นนักร้องนำ

เทเกรดไหม? บาลานซ์ยังไง?

ก็ไม่ได้เทเท่าไหร่ แต่ก็ทำกิจกรรมด้วย ถามว่าเกรดดี 4 เลยไหม? ก็ไม่ 3.85 – 3.94 ค่ะ

ช่วงม.ปลาย เราเตรียมตัวสอบยังไงบ้าง?

ม.ปลาย หนูไม่ได้เรียนพิเศษเยอะ เพราะหนูเอาเวลาไปทำกิจกรรม ม.4 ทำเยอะ กลับบ้านแล้วหนูทำ ทำทั้งเล่ม ไม่เชิงทำเล่มง่าย หนูทำเล่มขาว (หนังสือโจทย์เลขที่จัดทำโดยโรงเรียนเตรียมอุดมฯ) หนูก็ต้องได้อะไรจากการทำบ้าง สำหรับหนู หนูรู้สึกว่าเกรดไม่ได้ทำยาก ไม่ต้องไปเรียนทุกครูเพื่อทำเกรด ตอนจะสอบเขามีวันให้หยุดอ่านหนังสือ 3 – 4 วัน ถ้าเป็นวิชาเลขจะทำโจทย์เล่มขาว เลขก็จะ 90 ไม่จำเป็นว่าต้องไปติวแยกครู ติวเอ็นทรานส์ด้วย ติวที่โรงเรียนด้วย เพราะหนูรู้สึกว่าถ้าเราอ่านหนังสือที่โรงเรียน สมมติอ่านชีวะหน้า 1 – 100 สอบทีละบท ๆ ไปในโรงเรียน มันซึมซับเข้าไปเองแน่นอน

เรามองว่าการเตรียมตัวสอบในโรงเรียนเพียงพอกับการสอบเอ็นทรานส์?

เอ็นทรานส์เราไม่ต้องไปเริ่มใหม่ มันคือเนื้อหาเดียวกันอยู่ดี แล้วยิ่งเตรียมอุดมฯ เป็นเนื้อหาที่ยากอยู่แล้ว ในการสอบหนังสือก็จะค่อนข้างลึก ก็เป็นข้อดีของเตรียมอุดมฯ ด้วยความที่หนังสือยาก สอบยาก ไม่ได้ใช้หนังสือ สสวท. เรียน ใช้หนังสือที่ครูเขาแต่งขึ้น แล้วเป็นครูจาก สอวน. ก็ลงลึกไปอีก ไม่เสียหายที่เราอ่านหนังสือเตรียมเกรดที่โรงเรียน ก็ช่วยทำให้เรามีพื้นฐาน 

เตรียมตัวสอบเข้าหมอตั้งแต่ตอนไหน?

ถ้าจริงจังเลยนะหนูว่าตอน ม.6 เทอม 2 เพราะหนูรู้สึกว่าที่ผ่านมาหนูไม่จริงจังขนาดนั้น มันไม่มีไฟค่ะ จากสังคมเพื่อนของหนูที่เขาจะอ่านหนังสือตามคาเฟ่ ตาม Starbucks หนูก็ไปกับเขานี่แหละค่ะ ก็ถือว่าจริงจัง ก็คือฟิต แต่ว่าเริ่มมาทำข้อสอบเก่า เริ่มต้องดูแล้วว่ามันออกอะไรก็คือตอน ม.6 เทอม 2 ก่อนหน้านี้อย่างที่บอกว่าเก็บสิ่งที่อยากจะรู้มาเรื่อย ๆ อยู่แล้ว แล้วก็ทำเกรดที่โรงเรียน 

เรียนล่วงหน้าหรือเก็บตามเทอม?

วิธีการเก็บของแต่ละคนต่างกันไป ยังไงก็ต้องตั้งใจเรียน ต้องรู้แล้ว สมมติ ม.4 กำลังขึ้น ม.5 เทอม 1 ตอนอยู่ ม.4 เทอม 2 ยังไม่รู้ไม่ได้นะ ต้องรู้อยู่แล้ว ขึ้น ม.5 เทอม 1 แล้วแต่ว่าเนื้อหา ม.4 เทอม 2 ยังไม่แม่นไม่ได้ ของหนูคือต้องแม่นอันเก่าก่อน ของอันเก่าคือต้องรู้หมดแล้ว

เลข ม.ปลาย เรียนพิเศษไหม?

มาเรียนคอร์สเอ็นทรานส์ คอร์สใหญ่ของพี่แม็กค่ะ หนูลองเรียนดูแต่ปรากฏว่าหนูชอบทำเอง หนูชอบทำเองมาตลอด ม.ปลายนะ แต่ ม.ต้น หนูเรียนบ้าง พี่ตุ้ยหนูมาเรียนคอร์สเดียวตอนคอร์สที่เขาฮิตกัน คอร์ส กสพท. มันอยู่ใน AT HOME ก็คือเรียนที่ไหนก็ได้ ออนไลน์มาแทน ไม่จำเป็นต้องเรียนคอร์สสดแล้ว หนูรู้สึกว่ามันง่ายสุดแล้ว เป็นแอปที่เรียนง่ายกว่าที่อื่น เข้าแล้วชิล เร่งความเร็วได้ เรียนในร้านกาแฟหนูก็ฟังไปด้วยจดไปด้วย นั่งเม้ากับเพื่อนหนูก็ดูไปด้วย 

มีเรียนพิเศษวิชาวิทย์ไหม?

เรียนฟิสิกส์กับ อ.ธวัชชัย เขาเป็นคนที่สอนยาก เขาสอนแบบ concept จริง ๆ เขาค่อนข้างพูดเร็ว คือเขารู้จริง เขาเป็นคนเก่งมาก โจทย์เขายากที่สุดแล้ว 

ทำไมถึงอยากเข้าหมอ?

เห็นเพื่อนเข้าหมอ แล้วก็เรียนรู้อะไรหลายอย่างค่ะ ระหว่างตอน ม.ปลาย หนูศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับว่า อืม…การเป็นหปมอ ชีวิตตอนเป็นหมอ ตอนจบ 6 ปี ตอน Extern ทุกอย่างคือหนูจะรู้หมดแล้ว กว่าหนูจะตัดสินใจว่าหนูพร้อมที่จะเป็นหมอแล้วนะ ก็เกิดจากว่าทำไมอาชีพนี้คนถึงอยากเป็นเยอะทำไมเด็กถึงอยากเข้ากันเยอะ หนูก็ศึกษามาเรื่อย ๆ ค่ะ ญาติที่เป็นหมอเขาก็ให้คำแนะนำตลอด ถือว่าเรารู้ข้อมูลบางอย่าง แต่ว่าเราไม่รู้ว่าชอบหรือเปล่า เรายังไม่เคยไปทำมันเลย ตอนนี้ก็คือพร้อมว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าเราจะเจอกับอะไร อันนี้คือรู้! เรื่องรับไหวหรือรับไม่ไหวเราจะต้องไปสู้ข้างหน้าเองค่ะ 

เคยคิดอยากเข้าคณะอื่นไหม?
หนูก็เคยมีอยากเข้าบัญชีนะคะ อยากเข้านิเทศ เคยมีทุกคณะค่ะ แต่ว่าพอมาคิดดูแล้วปัจจัยหลาย ๆ อย่างก็เลยเลือกเป็นหมอมากกว่า อย่างน้อยมีความมั่นคงหนึ่ง แต่เราชอบหรือเปล่าชอบกับการรักษารึเปล่ายังไม่รู้ 

ถ้าได้เรียนจริง ๆ กลัวตัวเองไม่ชอบไหม?
หมอเป็นอาชีพหนึ่งที่ถ้าเราไม่ชอบจริง ๆ สุดท้ายมันดิ้นได้ มันมีหลายแขนง อย่างหมอฟันสุดท้ายเราก็ต้องทำฟัน แต่คำว่าหมอดิ้นไปผิวหนังไปอะไรแบบนี้ได้ ก็เลยรู้สึกว่าลองไปก่อนแล้วถ้าไม่ชอบยังไงค่อยคิดอีกที พยายามทนไปก่อน แต่หนูว่า หนูเกลียดชีวะใช่ไหมคะ ยังเปลี่ยนเป็นชอบได้เลย เป็นหมอหนูก็อาจจะชอบก็ได้

ช่วงนั้นมีสับสนลังเลบ้างไหม?

หนู toxic ตอนนั้นอยู่นะ เรียกว่าโรค senior ตอน ม.6 กำลังจะขึ้นปี 1 มันจะเป็นโรคที่เราจะเดินไปทิศทางไหนดี เราจะทำตามสิ่งที่ชอบหรือเราจะทำตามความฝันของพ่อแม่ หรือจะทำตามค่านิยมของคนไทย มันมีหมดเลย แต่หนูผ่านตรงนั้นมา ค่อนข้างที่จะเครียดนะว่าจริง ๆ แล้ว หนูอยากเป็นอะไรกันแน่ คนรอบข้างก็สำคัญค่ะ ทุกคนในกลุ่มหนูอย่างนี้ก็เป็นหมอกันหมดเลย หนูก็รู้สึกว่า เออ…ถ้าเราสอบติดเราก็เลือกหมอเถอะ

แล้วจัดการยังไง?

คุยกับพ่อแม่เยอะค่ะ ว่าจริง ๆ แล้วหนูอยากจะเป็นอะไร แต่พ่อแม่เขาก็บอกว่าเอาที่หนูชอบ พ่อแม่หนูเขา open เขาบอกว่า หนูคิดว่าหนูจะเป็นอะไร ทำอะไรแล้วหนูจะไม่รู้สึกว่าเสียโอกาสนั้นไป ปีนี้หนูจะเลือกคณะอะไรที่พอเลือกแล้วจะไม่กลับมาเสียใจทีหลัง หนูก็เลยตัดสินใจเลือกหมอไป 

ถ้าเรียนแล้วไม่ใช่ เรามองการซิ่วยังไง?
มีรุ่นพี่หนูหลายคนไปเรียนจริง ๆ ไม่ชอบก็ซิ่วออกมา การซิ่วไม่ใช่ปัญหาของหนูอยู่แล้ว เพราะมันคือทั้งชีวิต ปัญหาของหนูคือการเลือก ณ ตอนนั้น เลือกอะไรไปแล้วเราไม่เสียใจอยากลองก่อนลองว่าเรียนหมอแล้วเรา
ชอบไหม

อยากเข้าหมอต้องเก่งมาก ๆ จริงไหม?

เข้าหมอจริง ๆ แล้วคนไม่เก่งก็ติดได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับความพยายาม ความที่เราไม่ละทิ้งมัน ความที่เราสู้กับมันแล้วก็ไม่ชิลเกินไป เรารู้ตัวว่าไม่ได้อะไรแล้วเรียนตรงนั้น อันนั้นคือสิ่งที่คนที่ไม่เก่งอะไรเลยจะติด เพราะว่าเรารู้ตัวไงคะ คนทีคิดว่าตัวเองเก่งอาจจะไม่ติดก็ได้นะ เพราะว่าเขาไม่รู้ข้อบกพร่องของตัวเอง หนูรู้สึกว่าคนเราอาจจะวัดกันที่ข้อบกพร่อง ว่าคนนั้นเขารู้หรือเปล่า คนขยันยังไงก็ได้อยู่แล้ว

เคล็ดลับในการทำข้อสอบฉบับคิตตี้

ในห้องสอบค่อนข้างจะตื่นเต้น อย่างแรกเลยเราต้องฝึกการทำข้อสอบบ่อย ๆ เพื่อลดความตื่นเต้น ความเร็วในการทำข้อสอบสำคัญมาก บางคนทำไม่ทันน่าเสียดายกว่าที่ทำไม่ได้อีกใช่ไหมคะ? ทำไม่ทันคือเราไม่ได้อ่านโจทย์ข้อนั้นเลย เราเสียคะแนนไปเลยฟรี ๆ เพราะฉะนั้นความเร็วสำคัญมาก ในห้องสอบพอได้ข้อสอบมาปุ๊บ ทำยังไงก็ได้ให้เร็วที่สุดและห้ามตื่นเต้น เพราะถ้าเราเร็วแล้วเราตื่นเต้นเราจะทำผิด พยายามฝึกบ่อย ๆ ฝึกควบคุมสติแล้วก็ฝึกในการทำให้เร็วค่ะ

เรามองว่าต้องเก็บเนื้อหาต้องแม่นทุกวิชาไหม?
เนื้อหาต้องแม่นทุกวิชา แล้วตอนนั้นหนูยังเก็บเนื้อหาไม่หมด คำว่าเก็บหมดคือไม่ใช่แค่รู้ แต่คือต้องแม่นแล้ว ตอนนั้นหนูยังไม่แม่น หนูก็เลยกลัวว่าถ้าหนูไปจับเวลาทำข้อสอบมันจะเสียข้อสอบชุดนั้นไป แทนที่เราจะไปจับเวลาทำใกล้ ๆ แล้วข้อสอบชุด 55 – 57 มันมีไม่กี่ชุดนะ แต่ว่าถ้าเราไปทำตอนที่เรายังไม่แม่นมันก็เสียข้อสอบชุดนั้นไปฟรี ๆ เราต้องเอาข้อสอบชุดนั้นไปทำตอนเราจับเวลาด้วยในตอนที่เราแม่นทุกอย่างแล้ว 

สังคม 9 วิชาสามัญเปลี่ยนแนว เรียนกับครูป๊อปช่วยได้ไหม?

ครูป๊อป ถามว่าตอนหนูสอบออกมาได้ใช้ไหม ปีนี้ยอมรับจริงว่าสังคมค่อนข้างยากแล้วไม่รู้ว่าออกอะไรเลย ทุกคนพูดหมดเลยว่า “สังคมมันออกอะไร?” ซึ่งครูป๊อปเป็นคนที่สรุปเนื้อหาตั้งแต่ปี 55 ตั้งแต่มี 9 วิชาสามัญ เขาเอาโจทย์ทุกโจทย์มาทำเป็นเนื้อหาของเขาเอง ด้วยความที่เขาทำจากโจทย์ทำให้เวลาเราไปทำโจทย์อะไรก็ตาม โจทย์ 9 วิชาฯย้อนหลังอ่ะ เราทำได้ทุกข้อละ เพราะเขาสอนหมดแล้ว สังคมเป็นวิชาที่กว้างมากค่ะ ถ้ามสมมติเรียนกับครูที่ไปสอนอะไรก็ไม่รู้ เราจะไม่มีทางทำข้อสอบได้ ต้องเรียนจากครูที่เขามีประสบการณ์จริง ๆ 

รีวิวข้อสอบสังคมหน่อย

หนูว่าเป็นความรู้รอบตัวของเด็กคนนั้นเอง ถามว่าข้อใดต่อไปนี้มีผู้หญิงคนแรกเป็นประธานศาลฎีกา? อย่างนี้ใครจะรู้ ครูป๊อปในเรื่องพุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์ ที่เป็น Demand กับ Supply เขาสอนดีแล้วหนูได้ใช้จริง ๆ แต่ว่าประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ แล้วก็กฎหมายก็อย่างที่บอกว่าข้อสอบออกเปลี่ยนแนว มี 5 ส่วน ต้องแยกส่วนค่ะ สังคมไม่ใช่แค่สังคม แต่มี 5 วิชา พุทธศาสนา เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ แล้วก็กฎหมาย หน้าที่พลเมือง แต่ว่า 3ส่วนหลังข้อสอบออกอะไรไม่รู้ ส่วนที่พอเก็บได้คือพระพุทธศาสนากับเศรษฐศาสตร์ 

ในมุมมองของเรา คิดว่าตัวเองเป็นสายชิลไหม?

เอาจริง ๆ นะคะ คำว่าสายชิล มันไม่มีอยู่จริง หนูรู้สึกว่าตัวเองชิลนะ แต่ว่าถ้าไม่ได้ทำทุกอย่างให้เข้าใจหนูจะไม่ชิลของหนูเอง แต่ว่าคำว่าชิลคือเราไม่ได้บังคับให้ตัวเองไปเรียนพิเศษเยอะ ๆ ชิลในแบบของหนูคือเข้าใจนะเนื้อหาที่ต้องเรียนที่ต้องรู้ หนูไม่ปล่อยก็เก็บไม่ทิ้ง มันไม่ใช่ชิลแบบทิ้งนะ หนูรู้ตัวว่าไม่เก่งอะไร หนูจะพยายามไปแก้จุดที่ไม่เก่ง คือหนูมีเรื่องที่หนูเก่ง เช่น เลข หนูเคยแข่งตอน ม.ต้น พอ ม.ปลาย ก็พยายามไม่ลงเรียนเยอะ ประหยัดเงินพ่อแม่ หนูสามารถเรียนในห้องได้ โจทย์ที่หนูมาทำเองมันเวลาจำกัด ถ้าหนูไปนั่งเรียนที่สอนพิเศษบางที่มันไม่เร็วเท่าที่เรามาทำเอง เราก็พยายามทำเองมากกว่า ส่วนวิชาที่หนูไม่ได้ เช่น ชีวะ เป็นคนไม่ชอบเลยแหละ ไม่ชอบมานั่งอ่านชีวะ ไม่เก่งมาตั้งแต่แรก ไม่มีความรู้เลย หนูก็ไปเรียนพิเศษแล้วตั้งใจเรียน พอกลับบ้านมาก็อ่าน 

ฝากถึง #DEK65 ที่กำลังเตรียมตัวสอบหน่อย

น้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวอยู่ตอนนี้แล้วเริ่มท้อใช่ไหมคะ ก็อยากให้นึกถึงเป้าหมายของตัวเองว่าจริง ๆ แล้วเราอยากทำอะไรกันแน่ แล้วเราก็พยายามอย่าท้อให้ควบคุมสติ ให้พยายามคิดว่าการสอบมันไม่ได้แย่หรอก มันสนุก มันไม่ได้น่ากลัว คือจริง ๆ แล้วชีวิตมันมีหลายทางเลือกมาก ๆ เราสอบไปก่อนให้คะแนนออกมา แล้วคิดว่าเราไปทำข้อสอบให้ดีที่สุดตอนวันสอบก็พอค่ะ พยายามอย่ากดดันตัวเองเพราะว่าเมื่อเราเครียด เราจะไม่ได้ประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือเท่ากับตอนที่จิตใจเราปกติดี ก็พยายามคิดบวกไว้ค่ะ

ในเทปนี้คงทำให้หลาย ๆ คนได้เข้าใจว่าเกรดที่ยอดเยี่ยมเป็นสิ่งที่ดี แต่สำหรับบางคนเกรดอาจจะไม่ได้สำคัญขนาดนั้น เป้าหมายที่วางไว้ต่างหากที่สำคัญกว่า เราจะเห็นได้ว่าคิตตี้ไม่ได้ยึดติดว่าต้องได้เกรด 4 ต้องได้ที่ 1 แต่คิตตี้จะคอยคิดเสมอว่าสิ่งที่ทำนั้นตรงกับเป้าหมายของตัวเองหรือไม่ ตอบโจทย์ชีวิตไหม พี่ ๆ AT HOME เองก็อยากให้น้อง ๆ มีความสุขกับสิ่งที่ทำ ดังนั้นถ้ามีเป้าหมายก็อย่ารอช้า หาหนทางสร้างความเชื่อมั่นให้ตัวเอง แล้วฟันฝ่าไปด้วยความกล้าที่มีเลยค่ะ!

บทความที่เกี่ยวข้อง
สรุปเนื้อหาตรรกศาสตร์ ม.4 
โพสต์เมื่อ :
รู้ก่อน เก่งก่อน สังคมศึกษา ม. 1 ต้องเรียนอะไร
โพสต์เมื่อ :
ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง
โพสต์เมื่อ :
พิชิตคะแนนฟิสิกส์แบบแม่นๆด้วย สูตรฟิสิกส์ ม 4
โพสต์เมื่อ :
สรุปย่อ “จำนวนจริง” พร้อมสูตรทั้งหมด ครบถ้วน เตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบ...
โพสต์เมื่อ :
สรุปเรื่อง พหุนาม เอกนาม ม.1 พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลย จัดเต็มพร้อมสอบ เกรดดีขึ้น...
โพสต์เมื่อ :