Search
Close this search box.

สูตรฟิสิกส์ การเคลื่อนที่ แนวตรง-แนวดิ่ง-วงกลม-โพรเจกต์ไทล์ 

Home > ฟิสิกส์ > สูตรฟิสิกส์ การเคลื่อนที่ แนวตรง-แนวดิ่ง-วงกลม-โพรเจกต์ไทล์ 
เขียนโดย :
โพสต์เมื่อ :

อ่านสรุปตรงนี้ได้เลย

น้อง ๆ ม.ปลาย ที่เรียนฟิสิกส์พาร์ทกลศาสตร์แล้วรู้สึกว่ายังไม่เข้าใจเลยเพราะสูตรตีกันในหัวเต็มไปหมด พี่ ๆ ATHOME ได้ทำการสรุปย่อและรวบรวมสูตรต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในแต่ละบทมาให้แล้วนะคะ น้อง ๆ สามารถอ่านแล้วทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง พร้อมตะลุยโจทย์ตัวอย่างที่พี่ ๆ นำฝากไปพร้อมกันได้เลย

การเคลื่อนที่แนวตรง แนวราบ สรุปสูตรทั้งหมด

สูตรฟิสิกส์ การเคลื่อนที่แนวตรง

( ใส่รูป 1  ) 

ตัวอย่างโจทย์ : การเคลื่อนที่กรณีความเร็วคงที่ (ไม่มีความเร่ง)

( ใส่รูป 2 )


ตัวอย่างโจทย์ : การเคลื่อนที่กรณีมีความเร่งเป็นค่าคงตัว

( ใส่รูป 3 )


การเคลื่อนที่แนวดิ่ง สรุปสูตรทั้งหมด

สูตรฟิสิกส์ การเคลื่อนที่แนวดิ่ง 

( ใส่รูป 4 )

ตัวอย่างโจทย์ : การเคลื่อนที่แนวดิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วง

( ใส่รูป 5 )


การเคลื่อนที่แบบวงกลม สรุปสูตรทั้งหมด

สูตรการเคลื่อนที่แบบวงกลม

( ใส่รูป 6 )

ตัวอย่างโจทย์ : วงกลมระนาบระดับ

  1. วัตถุมวล m เคลื่อนที่วงกลมด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอ รัศมี R 
    ( ใส่รูป 7 )

ความชันของกราฟ การคำนวณกราฟ

  1. กราฟการกระจัดกับเวลา (กราฟระยะทางกับเวลา)

หาปริมาณต่าง ๆ ได้ดังนี้

  1. อัตราเร็วเฉลี่ย

สมการ Vav = ระยะทางต่อเวลา

  1. ความเร็วเฉลี่ย

สมการ Vav = การกระจัดต่อเวลา

หรือ     Vav = ความชันกราฟ

2. กราฟความเร็วกับเวลา (กราฟอัตราเร็วกับเวลา)
( ใส่รูป 8 )

หาปริมาณต่าง ๆ ต่อไปนี้

  1. ความเร่งเฉลี่ย

สมการ  a = ความเร็วที่เปลี่ยนต่อเวลา

หรือ     a = ความชันกราฟ

  1. การกระจัด

สมการ  s  = ความเร็วเฉลี่ยคูณเวลา

หรือ     s = พื้นที่ใต้กราฟ

  1. ความเร็วเฉลี่ย

สมการ    Vav = การกระจัดต่อเวลา

หรือ        Vav = พื้นที่ใต้กราฟต่อเวลา

  1. ระยะทาง

สมการ  s = อัตราเร็วเฉลี่ยคูณเวลา

หรือ      s = พื้นที่ใต้กราฟ

  1. อัตราเร็วเฉลี่ย

สมการ     Vav =  ระยะทางต่อเวลา

หรือ Vav = พื้นที่ใต้กราฟต่อเวลา

3. กราฟความเร่งกับเวลา
( ใส่รูป 9 )

หาปริมาณต่าง ๆ ได้ดังนี้

  1. ความเร็วที่เปลี่ยน

สมการ  v-u = ความเร่งคูณเวลา

หรือ v-u = พื้นที่ใต้กราฟ

  1. ระยะทางหรือการกระจัด

ให้เปลี่ยนกราฟ a-t เป็นกราฟ v-t แล้วคำนวณพื้นที่ใต้กราฟ

วิธีการหางานจากพื้นที่ใต้กราฟ 

วิธีหางาน จากพื้นที่ใต้กราฟ หาได้ดังนี้

  1. กรณีแรงกระทำคงตัว

เมื่อมีแรงคงตัวมากระทำวัตถุ แล้วทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ตามแนวแรงที่มากระทำ กราฟระหว่างขนาดของแรงที่กระทำต่อวัตถุกับขนาดของการกระจัดตามแนวแรงจะมีลักษณะดังนี้
( ใส่รูป 10 )

กราฟระหว่างขนาดของแรงที่กระทำต่อวัตถุกับขนาดของการกระจัดตามแนวแรงจะขนานกับแกน x เมื่อหาพื้นที่ใต้กราฟในส่วนที่แรเงา จะได้ดังนี้

พื้นที่ใต้กราฟ = กว้าง x ยาว

      = FS

จะเห็นได้ว่า พื้นที่ใต้กราฟจะมีค่าเท่ากับงานของแรงคงตัวที่กระทำต่อวัตถุในระยะกระจัด s ดังนี้

จาก w = FScos ; = 0o

w = FS

ซึ่งมีค่าเท่ากับพื้นที่ใต้กราฟนั่นเอง

  1. กรณีแรงกระทำเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อสปริงเกิดการยืดหรือหดตัวจากสภาพปกติจะทำให้เกิดแรงในตัวสปริง โดยขนาดของแรงจะแปรผันตามระยะยืดและหดของสปริง กำหนดให้สปริงมีความยาว L0 เมื่อถูกดึงหรืออัดด้วยแรงที่มีขนาด F จะทำให้สปริงยืดออกและหดตัวเป็นระยะเท่ากับ x ดังรูป
( ใส่รูป 11 )

แรงที่ดึงสปริงให้ยืดออกในทิศเดียวกับการยืดออกของสปริง โดยแรงมีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างคงตัวจาก 0 ถึง F นิวตัน และทำให้สปริงยืดออกไปโดยมีการกระจัด x เมตร กราฟความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรง
กับระยะยืด x จะมีลักษณะดังรูป

เมื่อหาพื้นที่ใต้กราฟ จะได้

พื้นที่ใต้กราฟ = ½ x ฐาน x สูง

= ½ FX

  1. กรณีแรงกระทำมีขนาดไม่สม่ำเสมอ

กรณีแรงไม่คงตัวจะหางานด้วยสมการที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้เพราะว่าสมการดังกล่าวจะใช้ได้กับแรงที่คงตัวเท่านั้น แต่สามารถหาค่างานได้จากพื้นที่ใต้กราฟ โดยแบ่งพื้นที่ใต้กราฟออกเป็นแถบสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็ก ๆ โดยให้ s มีขนาดเล็กมากพอที่จะกล่าวได้ว่า แรง F1 มีขนาดคงตัวตลอดช่วง  s1 นั้น ๆ และสมมติว่า F1 กับ  s1 อยู่ในแนวเดียวกันตลอด
( ใส่รูป 12 )

w = s0i=0i=n Fi si

w = 0s FdS

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

สูตรเยอะ ท่องยังไงก็จะไม่ได้ ทำยังไง

การจะจำสูตรได้นั้นไม่ได้เกิดจากการท่องเพียงอย่างเดียว เพราะมันจะเป็นความจำที่ไร้ความเข้าใจ วิธีที่ทำให้สูตรฝังเข้าหัวคือการทำโจทย์พื้นฐานที่ทำให้เราได้เลือกใช้สูตรต่าง ๆ ได้ครบถ้วน เมื่อทำจนชำนาญแล้วนั้นจะทำให้จำสูตรได้มากขึ้น

ทำโจทย์ไม่ได้ แก้ยังไง

การจะทำโจทย์ได้นั้นต้องเข้าใจทฤษฎีให้แม่น จากนั้นค่อยนำสูตรต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับแต่ละโจทย์ ถ้าไม่เข้าใจอีกให้อ่านเฉลยอย่างละเอียดและย้อนกลับไปดูเนื้อหาที่ยังไม่แม่น

สูตรฟิสิกส์ของการเคลื่อนที่ ในหลักสูตรม.ปลาย ค่อนข้างเป็นเนื้อหาที่ต้องอาศัยความจำและความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพราะถ้าน้อง ๆ จำได้แต่สูตรแต่ไม่เข้าใจว่าใช้งานอย่างไรแบบนี้ไม่ทำให้น้องเข้าใจบทเรียนอย่างแท้จริง น้อง ๆ ควรอ่านทฤษฎีให้เข้าใจและไม่กลัวการทำโจทย์ เมื่อทำโจทย์ที่หลากหลายแล้วจะทำให้เริ่มจำสูตรได้มากขึ้นด้วยนะคะ 

บทความที่เกี่ยวข้อง
สรุปเนื้อหาตรรกศาสตร์ ม.4 
โพสต์เมื่อ :
รู้ก่อน เก่งก่อน สังคมศึกษา ม. 1 ต้องเรียนอะไร
โพสต์เมื่อ :
ติวเข้ม ข้อสอบ ฟิสิกส์ ม 4 ออกอะไรบ้าง
โพสต์เมื่อ :
พิชิตคะแนนฟิสิกส์แบบแม่นๆด้วย สูตรฟิสิกส์ ม 4
โพสต์เมื่อ :
สรุปย่อ “จำนวนจริง” พร้อมสูตรทั้งหมด ครบถ้วน เตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบ...
โพสต์เมื่อ :
สรุปเรื่อง พหุนาม เอกนาม ม.1 พร้อมแบบฝึกหัดและเฉลย จัดเต็มพร้อมสอบ เกรดดีขึ้น...
โพสต์เมื่อ :