อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสำหรับวิชาฟิสิกส์นั้น น้องๆจำเป็นที่จะต้องจำสูตรฟิสิกส์ให้ได้ เพื่อที่จะใช้ ในการค้นหา ได้อย่างแม่นยำ ต้องบอกเลยว่าสำหรับการทำข้อสอบวิชาฟิสิกส์นั้นการจำสูตรฟิสิกส์ให้ได้นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ นี่คือสิ่งที่ ได้แบบเต็มที่ทุกข้อ ซึ่งถ้าน้องๆคนไหนอยากจะทราบข้อมูล สรุปสูตรฟิสิกส์ ที่จำเป็นได้แบบแม่นยำและครบถ้วน พร้อมทั้งมีเทคนิคแบบนี้ง่ายๆ ให้ด้วยล่ะก็ คอร์ส สรุปสูตรฟิสิกส์ ของพี่ๆ Athome สามารถตอบโจทย์น้องๆได้อย่างแน่นอนเลยค่ะ
สรุปสูตรฟิสิกส์ที่ควรรู้มีอะไรบ้าง
แน่นอนเลยว่าสูตรฟิสิกส์นั้นมีด้วยกันอยู่มากมายหลายสูตร เเละเเบ่งออกเป็นเนื้อหาของแต่ละบทเรียน
ในของแต่ละระดับชั้นอีกด้วย เรามาดูกันเลยค่ะ ว่าสูตรฟิสิกส์ที่มีในคอร์สของเรานั้นมีสูตรอะไรบ้าง
เวกเตอร์
1. เวกเตอร์ คือปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง ส่วนปริมาณที่มีแต่ขนาด
ไม่มีทิศทางจะเรียกว่า ปริมาณสเกลาร์
2. เวกเตอร์ใน 2 มิติ เมื่อ
3. ขนาดของ AB
4.เวกเตอร์ 1 หน่วย
5.ผลคูณเชิงสเกล่าร์ของเวกเตอร์(Dot product) ; ให้
6. สมบัติของผลคูณเชิงสเกล่าร์
7. Projection Vector ; โปรเจกชั่นของ
8. ผลคูณเชิงเวกเตอร์ (cross product) ; ผลลัพธ์เป็นสเกล่าร์
9. สมบัติของผลคูณเวกเตอร์
การเคลื่อนที่แนวตรง
สมการสำหรับคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ การเคลื่อนที่แนวตรง ตามแนวราบด้วยความเร่งคงตัว
เมื่อ
u เป็นความเร็วต้น เมื่อเริ่มคิดเวลา (t = 0 ) ขนาดของ u นี้อาจมีค่าเท่ากับศูนย์หรือไม่เท่ากับศูนย์ ก็ได้ หน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s) |
t เป็นช่วงเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ทั้งหมด (กำหนดเวลาเริ่มต้นที่ t = 0 ) หน่วยเป็นวินาที (s) |
s เป็นการกระจัดที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลา หน่วยเป็นเมตร (m) v เป็นความเร็วสุดท้ายของช่วงเวลา t หรือเป็นความเร็วเมื่อสิ้นช่วงเวลา t หน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s) |
a เป็นความเร่งเฉลี่ยในช่วงเวลา t หน่วยเป็นเมตรต่อวินาที2 (m/s^2) กรณีวัตถุเคลื่อนที่ด้วย ความเร่งคงตัวในแนวราบกำหนดให้ปริมาณที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นค่า a เป็นบวก และถ้าความเร็ว ลดลงค่า a เป็นลบ |
กรณีวัตถุออกจากสภาพนิ่งค่า u = 0
กรณีวัตถุเคลื่อนที่แล้วหยุดค่า u = 0
กรณีวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวค่า a = 0
ตกเสรี
ความเร่งในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกอย่างอิสระหรือตกแบบเสรีนี้ คือ ความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก (Acceleration due to gravity) ใช้ g เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งมีค่าประมาณ 9.80665 m/s^2 ซึ่งเป็นค่าที่หาได้จากค่าเฉลี่ยทุกจุดของโลก เพื่อความสะดวกมักจะใช้ค่า g = 9.8 m/s^2 หรืออาจใช้ 10 m/s^2
การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งภายใต้แรงดึงดูดของโลก หรือการตกอิสระ นี้ จะไม่คิดแรงต้านทานของอากาศ วิธีการคำนวณนั้นคิดเช่นเดียวกับการเคลื่อนที่ในแนวราบด้วยความเร่งคงที่ แต่ใช้สัญลักษณ์
เป็น g แทน a โดยมีสมการที่เกี่ยวข้องดังนี้
โดยมีหลักการพิจารณาเครื่องหมายดังนี้
1. ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ลง ค่า g เป็นบวก
2. ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ขึ้น ค่า g เป็นลบ
3. ถ้าวัตถุตกโดยอิสระ ค่า u = 0
4. วัตถุเคลื่อนที่ขึ้นไปได้สูงสุด ค่า v = 0
5. เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ขึ้นทั้งหมดกับเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ลงทั้งหมดเท่ากัน
6. ความเร็วขณะที่เคลื่อนที่ขึ้นและลงถ้าผ่านจุดเดียวกันจะมีความเร็วเท่ากัน
หาอัตราเร็วใช้สูตร
นี่เป็นเพียงสูตรเพียงส่วนหนึ่งที่พี่ๆได้นำมายกตัวอย่างให้กับน้องๆ นอกจากสูตรที่กล่าวไป ภายในคอร์ส สรุปสูตรฟิสิกส์ ของทาง Athome น้องๆยังจะได้เทคนิคจำสูตรอื่นๆ ด้วยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น
การเคลื่อนที่แนวดิ่ง, การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์,การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย,ความร้อน,ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส,แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่,โมเมนตัม,ไฟฟ้าและแม่เหล็ก,สนามของแรง.สมบัติของคลื่น.อัตราเร็วของเสียง เป็นต้น