สวัสดีค่ะน้องๆ พี่ๆ Athome เชื่อว่า น้องๆที่ กำลังเตรียมตัวจะขึ้นม.4 ที่อยากจะเข้าเรียน สายวิทย์-คณิต คงจะกำลังเตรียมตัวกันอย่างเป็นพิเศษเลยใช่ไหมล่ะคะ เพราะว่าสายนี้นั้นต้องเน้นคะแนนของวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นถ้าใครอยากเตรียมตัวและติวเข้มในส่วนของวิชาฟิสิกส์ ก็สามารถที่จะเลือกดูคอร์สเรียนกับทาง Athome ได้เลย มาดูรายละเอียดคร่าวๆกันเลยกว่าค่ะ ว่า ฟิสิกส์ ม 4 เทอม 1 นั้นจะมีอะไรบ้าง?
เนื้อหา ฟิสิกส์ ม 4 เทอม 1 หลักสูตรใหม่ เรียนอะไร?
ในส่วนของ เนื้อหา ฟิสิกส์ ม 4 เทอม 1 หลักสูตรใหม่ นั้น น้องๆจะได้เรียน เนื้อหาและหัวข้อดังต่อไปนี้ค่ะ
บทที่ 1 เวกเตอร์
สำหรับบทที่ 1 นี้น้องๆจะได้เรียนเกี่ยวกับ ปริมาณทางฟิสิกส์, หน่วยในระบบนานาชาติ,
เวกเตอร์และการรวมเวกเตอร์, องค์ประกอบเวกเตอร์ในระบบพิกัดฉาก รวมไปถึงการคำนวณเวกเตอร์
อย่างเช่น การบวกและลบ เป็นต้น
บทที่ 2 การเคลื่อนที่แนวตรง
ในบทนี้จะได้เรียนเกี่ยวกับ คำนวณหา การเคลื่อนที่แนวตรง โดยใช้ปริมาณการเคลื่อนที่และสูตรการเคลื่อนที่มาใช้ในการหาผลลัพธ์ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเคลื่อนที่แบบเส้นตรงในแนวดิ่งหรือดิ่งเสรี และ กราฟการเคลื่อนที่เเนวเส้นตรง อีกด้วย
บทที่ 3 และ 4 แรง มวล และกฏการเคลื่อนที่ สมดุลต่อการเคลื่อนที่
ในส่วนของ บทที่ 3 และ 4 จะเป็น เรื่องที่เกี่ยวกับการหาแรงลัพธ์ ยกตัวอย่างเช่น การหาแรงลัพธ์ของ 2 แรง, การหาแรงลัพธ์ของ 3 แรง และนอกจากนี้ยังได้เรียนเกี่ยวกับ การหาทิศของแรงที่กระทำต่อวัตถุจากลักษณะของการเคลื่อนที่ รวมทั้ง กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ที่ประกอบไปด้วย แรงเสียดทาน และ สมดุลของแรง นอกจากจะได้เรียนเรื่องความสมดุลของแรงแล้ว น้องๆก็ยังจะได้เรียนเกี่ยวกับ สมดุลต่อการเคลื่อนที่ และ สมดุลต่อการหมุน อีกด้วย
ฟิสิกส์ ม 4 เทอม 1 ควรเน้นเรื่องอะไร?
ในรายวิชา ฟิสิกส์ ม 4 เทอม 1 นั้น พี่ๆ Athome อยากจะแนะนำว่าให้น้องๆ
ติวเข้มเรื่องดังต่อไปนี้เป็นพิเศษ
· ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ · การเคลื่อนที่แนวตรง · เวกเตอร์ · แรงและกฏการเคลื่อนที่ · สมดุลต่อการเคลื่อนที่ |
ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
เนื้อหาในส่วนนี้เป็นเนื้อหาที่น้องๆจะได้ศึกษาว่าฟิสิกส์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ทำไมเราจึงถึงควรศึกษาฟิสิกส์ ฟิสิกส์ เป็นการอธิบายงกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติต่างๆ เป็นการตั้งคำถามและหาคำตอบบนพื้นฐานของความเป็นจริงตามหลักทางธรรมชาติที่สามารถพิสูจน์ได้จริง
การเคลื่อนที่แนวตรง
การเคลื่อนที่ในแนวตรงนี้ จำเป็นต้องใช้ปริมาณทางฟิสิกส์ด้วยกัน 2 ปริมาณด้วยกันได้แก่
· สเกลาร์ คือปริมาณที่มีแต่ขนาดไม่ต้องจำเป็นต้องบอกทิศทางแต่ทราบถึงความหมายครบถ้วน เช่น ความหนาแน่น ความร้อน ความยาว พื้นที่ มวล เวลา เป็นต้น |
· เวกเตอร์ คือปริมาณที่บอกทั้งขนาดและทิศทางร่วมกัน เช่น แรง ความเร็ว ความเร่ง การกระจัด เป็นต้น |
เวกเตอร์
เนื้อหาส่วนนี้เป็นความเข้าใจเบื้อต้นเกี่ยวกับความหมายและสัญลักษณ์ และการคำนวณหาการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงโดยใช้สูตร เวกเตอร์ ในการคำนวณ ตัวอย่าง การบวก และ การลบ เวกเตอร์ กันค่ะ
การบวกเวกเตอร์
หลักการบวกเวกเตอร์เรียกว่าเทคนิคหางต่อหัว มาดูตัวอย่างการบวกเวกเตอร์กันค่ะ
จัสตินเดินเป็นระยะขจัด 3 m ไปทางทิศเหนือ จากนั้นเดินติอด้วยระยะขจัด 4 mไปทางทิศตะวันออก ผลลัพท์ของการบวกเวกเตอร์จะเท่ากับเวกเตอร์ขนาด 5 เมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ทริก : เวกเตอร์ลัพธ์ก็คือเวกเตอร์ที่มีขนาดและทิศทางเท่ากัน จะได้ผลลัพธ์เท่ากันเสมอไม่ว่าจะเอาไปวางเริ่มต้นจากตำแหน่งใด เพราะฉะนั้นจึงสามารถนำหางเวกเตอร์ไปต่อกับหัวเวกเตอร์ได้นั่นเอง
การลบเวกเตอร์
การลบเวกเตอร์ก็มีเทคนิคโดยการนำหางมาต่อหัวเหมือนกับการบวกเวกเตอร์ สำหรับการลบเวกเตอร์นั้นแตกต่างจากการบวกตรงที่ เวกเตอร์ที่มีขนาดเท่าเดิมแต่ทิศทางตรงกันข้ามกัน
ตัวอย่างการลบเวกเตอร์ กันค่ะ
ระยะทาง คือปริมาณสเกลาร์บอกระยะห่างจากจุดกำเนิดของวัตถุ
ระยะขจัด คือปริมาณเวกเตอร์ที่ใช้บอกระยะห่างจากจุดกำเนิดของวัตถุพร้อมบอกทิศทางการเคลื่อนที่ด้วย เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ระยะทางจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแต่ระยะขจัดสามารถลดลงได้เช่น โยนวัตถุชิ้นหนึ่งขึ้นฟ้า 2 เมตรแล้วรับกลับคืนมาที่เดิม ระยะทางในเหตุการณ์นี้จึงเท่ากับ 4 เมตร และระยะขจัดเท่ากับ 0 เมตร เนื่องจากจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของวัตถุที่โยนอยู่ที่เดียวกัน
ภาพ a ระยะทาง และ ระยะขจัด เป็น 0 เมตร
ภาพ c ระยะทาง 4 เมตร และ ระยะขจัด เป็น 0 เมตร
ซึ่งถ้าพิจารณาดูดีๆแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ระยะทาง และ ระยะขจัด จะมีค่าเท่ากัน เมื่อวัตถุมีการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง และเมื่อใดที่วัตถุมีการเคลื่อนที่เปลี่ยนจากเส้นตรงเป็นเส้นโค้ง ระยะขจัด
จะมีค่าน้อยกว่าระยะทาง นั่นเอง
แรงและกฎการเคลื่อนที่
เนื้อหาในส่วนนี้จะได้เรียนเกี่ยวกับ ปริมาณเวกเตอร์ ที่ประกอบไปด้วยขนาดและทิศทาง ซึ่งก็คือ
แรง นั่นเอง แรง คือสิ่งที่กระทำต่อวัตถุที่ส่งผลให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ ทั้งในรูปแบบของการพยายาม
ดึง หรือ ดัน ซึ่งแรงนั้นอาจจะส่งผลให้วัตถุเคลื่อนที่หรือไม่เคลื่อนที่ก็ได้ เพราะยังมีแรงอื่นๆที่กระทำและส่งผลต่อวัตถุนั้นๆอยู่อยู่ด้วย
สมดุลต่อการเคลื่อนที่
เนื้อหาในส่วนนี้จะได้เรียนเกี่ยวกับกับ สมดุลต่อการเคลื่อนที่ ว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ซึ่งหลักๆแล้วก็จะประกอบไปด้วย
1. การเคลื่อนที่แบบเลื่อนที่ ที่ส่งผลให้วัตถุเลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น การผลักโต๊ะเขียนหนังสือเลื่อนไปข้างหน้าแล้วโต๊ะนั้นก็เลื่อนไปในทิศเดียวกัน
2. การเคลื่อนที่แบบหมุน ที่มีส่วนเป็นแกนหมุนทำให้ชิ้นส่วนและวัตถุนั้นๆหมุนรอบแกน เช่น การเคลื่อนที่ของกังหันลม แต่ในบางครั้งก็สามารถเคลื่อนที่ไปพร้อมๆกับการหมุนด้วยเช่นกันเช่น ลูกบอลชนิดต่างๆ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ฟิสิกส์ ม 4 เทอม 1 เรียนอะไร เลือกเรียนตอนไหนได้บ้าง?
หลักๆแล้วในวิชา ฟิสิกส์ ม 4 เทอม 1 ของทาง Athome ก็จะเน้นเกี่ยวกับพื้นฐานในทางฟิสิกส์ อย่างเช่น ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์, เวกเตอร์,การเคลื่อนที่แนวตรง,แรงและกฏการเคลื่อนที่,สมดุลต่อการเคลื่อนที่ เป็นต้น ถึงแม้ว่าจะเป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานแต่ว่าเนื้อหานั้นแตกต่างจากการเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นระดับมัธยมต้นอย่างสิ้นเชิง เพราะฉะนั้นใครที่อยากเตรียมความพร้อม ก็สามารถที่จะมาเลือกเรียนคอร์สนี้กับทาง Athome ได้เลยค่ะ รู้ก่อน พร้อมกว่า พิชิตข้อสอบได้มากกว่าแน่นอน